พระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน)
พระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน) เกิดที่ตำบลผักไห่ แขวงเมืองกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2430 เป็นบุตรของนายจัน และนางพัน บัวเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ จนสอบได้ชั้นสี่ประโยคที่วัดชนะสงครามเมื่ออายุได้ 16 ปี แล้วจึงถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เมื่อทรงขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้มหาดเล็กบัวเป็นขุนสรรเพลงสรวง ถือศักดินา 300 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 จากนั้นจึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น หลวงสรรเพลงสรวง ถือศักดินา 400 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2460 และได้เลื่อนขึ้นเป็นพระสรรเพลงสรวง ถือศักดินา 600 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2467 และได้รับราชการต่อมาจนถึงแก่กรรมในสมัยรัชกาลที่ 7
พระสรรเพลงสรวง เรียนดนตรีตั้งแต่เด็กจนสามารถร่วมวงกับผู้ใหญ่ได้ เมื่อมาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ ได้เรียนด้านดนตรีต่อจากพระยาประสานดุริยศัพท์ มีความสามารถในการเป่าปี่และสีซออู้ ได้ร่วมงานอัดแผ่นเสียงกับพระยาประสานดุริยศัพท์และเดี่ยวปี่เพลงลาวแพน ไว้กับบริษัทแผ่นเสียง His Master Voice และได้ควบคุมวงดนตรีของพระสุจริตสุดา พระสนมเอกในรัชกาลที่ 6 ส่วนในรัชกาลที่ 7 ท่านยังเป็นคนปี่ของวงปี่พาทย์หลวง ต่อมาป่วยด้วยโรคริดสีดวงทวารแล้วมีโรคบาดทะยักแทรก ถึงแก่กรรมเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2469 รวมอายุได้ 39 ปี[1]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พระสรรเพลงสรวง สมรสครั้งแรกกับ นางสาวทับทิม เมื่อ พ.ศ. 2449 มีบุตร 5 คน ชาย 3 คน ชื่อ
- โกมล กมลวาทิน
- กุมุท กมลวาทิน
- น้อย กมลวาทิน ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังและสามีของ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อดีตดาราอาวุโส
และหญิง 2 คน ชื่อ
- พัน กมลวาทิน
- บุษรา กมลวาทิน
และได้หย่าขาดจากคุณทับทิม เมื่อ พ.ศ. 2464 มาแต่งงานกับ หม่อมหลวงชลินทร์ ทินกร มีบุตรชาย 3 คน ชื่อ
- บรรเลง กมลวาทิน
- ดำรงค์ กมลวาทิน
- สมพงษ์ กมลวาทิน
พระสรรเพลงสรวง ได้รับพระราชทานนามสกุล "กมลวาทิน" เพราะมีชื่อเดิมว่า "บัว" ตามประกาศ ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2456
บรรดาศักดิ์
[แก้]- 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 ขุนสรรเพลงสรวง ถือศักดินา 300[2]
- 19 ตุลาคม พ.ศ. 2460 หลวงสรรเพลงสรวง ถือศักดินา 400[3]
- 23 มิถุนายน 2462 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม[4]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2467 พระสรรเพลงสรวง ถือศักดินา 600[5]
ยศ
[แก้]- มหาดเล็กวิเศษ
- 12 ธันวาคม พ.ศ. 2457 นายรอง[6]
- 24 มีนาคม พ.ศ. 2457 - นายหมู่เอก[7]
- 8 พฤศจิกายน 2458 – นายหมู่ใหญ่[8]
- 28 ตุลาคม 2459 – นายหมวดตรี[9]
- รองหุ้มแพร
- 31 ธันวาคม พ.ศ. 2461 - หุ้มแพร[10]
- – นายกองตรี
- 2 มีนาคม 2467 – นายกองโท[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2465 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[12]
- พ.ศ. 2465 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[13]
- พ.ศ. 2455 –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[14]
- พ.ศ. 2469 –
เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[15]
- พ.ศ. 2464 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)[16]
- พ.ศ. 2454 –
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
อ้างอิง
[แก้]- http://sirindhornmusiclibrary.mahidol.ac.th/musiclibrary/index.php?ac=hall_of_fame/hall_of_fame_dataperson&id=65&languages=th#001[ลิงก์เสีย]
- ↑ ข่าวตาย (หน้า ๒๕๙๖)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ (หน้า ๙๙๒)
- ↑ เลื่อนบรรดาศักดิ์
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๓๓๙๘)
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๒๑๘๑)
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า (หน้า ๒๙๒๙)
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก (หน้า ๒๗๐๖)
- ↑ พระราชทานยศนายเสือป่า (แผนกเกียกกายกองเสนา)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๐๔, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๗, ๗ พฤษภาคม ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๓๙, ๑๙ มกราคม ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๓, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๐, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔