ข้ามไปเนื้อหา

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530
ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530
วันที่4–6 ธันวาคม พ.ศ. 2530
ประเทศประเทศไทย
เหตุการณ์ก่อนหน้าพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 50 พรรษา
เหตุการณ์ถัดไปพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542
จัดโดยรัฐบาลไทย

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530 เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีและความปีติยินดี ที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีหมายกำหนดการจัดงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ในระหว่าง วันที่ 4-7 ธันวาคม พุทธศักราช 2530 รวมทั้งสิ้น 4 วัน

รัฐบาลสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และประชาชนชาวไทยร่วมกันจัดพระราชพิธีนี้ขึ้น ดังปรากฏเป็นเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

พระราชพิธี

[แก้]

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พุทธศักราช 2530

[แก้]
พระราชพิธีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารควัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารไปในการพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารควัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พุทธศักราช 2530

[แก้]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนิน ไปยัง พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในการ พระราชพิธีฉลองสมโภช พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร พระพุทธรูปมหามงคล พระชนมพรรษา 5 รอบ และ พระไตรปิฎกฉบับสังคายนา ในโอกาส มหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530

[แก้]

เวลา 08.00 น. มีขบวนแห่เชิญน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์จากวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารไปยัง พระที่นั่งชัยมังคลาภิเษก มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

เวลา 10.30 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนิน จากพระบรมมหาราชวัง ไปยัง พระที่นั่งชัยมังคลาภิเษก มณฑลพิธี ท้องสนามหลวง ในการ เสด็จออกมหาสมาคม รับการถวายพระพร เนื่องในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ

เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนิน ไปยัง พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงรับการถวายพระพร จาก บรรพชิตจีนนิกาย และอนัมนิกาย ที่มุขหน้า พระอุโบสถ จากนั้น พระสงฆ์ 5 รูป สวด "นวัคคหายุสมธัมม์" ทรงบูชาเทวดานพเคราะห์ และพระราชทานสังคหวัตถุ แก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทสูงอายุ จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยัง พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงสถาปนาสมณศักดิ์ พระสงฆ์ 61 รูป เจริญพระพุทธมนต์ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก่ข้าราชการ

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พุทธศักราช 2530

[แก้]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไป ถวายภัตตาหาร แก่พระสงฆ์ ที่เจริญพระพุทธมนต์ และ สวด "นวัคคหายุสมธัมม์" เสร็จแล้ว ทรงสดับพระธรรมเทศนา ที่ สมเด็จพระญาณสังวร ถวาย ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย

เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จออก ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ คณะทูตานุทูตต่างประเทศ และ ผู้แทนกงสุล เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล

รัฐพิธี

[แก้]

รัฐบาลไทยได้เตรียมการจัดรัฐพิธี เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

การประชาสัมพันธ์

[แก้]

โดยสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีโทรทัศน์ และสื่อมวลชนทุกสำนัก จะถ่ายทอดสดงานพระราชพิธีและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ โดยให้ทุกสถานีเชื่อมโยงสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

ตราสัญลักษณ์

[แก้]
พัดรองที่ระลึก ปักตราสัญลักษณ์พระราชพิธีฯ สำหรับพระสงฆ์

ตราสัญลักษณ์ งานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530 ออกแบบโดย พินิจ สุวรรณบุณย์ นายช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ในขณะนั้น) ประกอบด้วยรูปครุฑพ่าห์ ซึ่งหมายถึงรัฐบาลและปวงชนชาวไทย เทิดพระแสงจักร และตรี อันเป็นพระราชสัญลักษณ์ประจำพระบรมราชจักรีวงศ์ กลางวงจักร มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. และเลข 9 ประจำรัชกาลปัจจุบัน อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี สองข้างซ้ายและขวา มีรูปคชสีห์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแทนข้าราชการฝ่ายทหาร กับราชสีห์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแทนข้าราชการฝ่ายพลเรือน ประคองฉัตรเครื่องสูง 7 ชั้น สำหรับประกอบพระบรมราชอิสริยยศ สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า เบื้องล่างมีแพรแถบ จารึกอักษรข้อความว่า “พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐” เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๐ ถึง ๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๐

ของที่ระลึก

[แก้]
สวนหลวง ร.9

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ

[แก้]

โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนาม "นวมินทราชูทิศ" แก่โรงเรียน 5 แห่งทั่วประเทศ:

อุทยานแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลพระชนมพรรษา 5 รอบ

[แก้]

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2529 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2529 เห็นชอบในหลักการให้จัดพื้นที่บริเวณป่า 5 แห่งทั่วประเทศ เป็นอุทยานแห่งชาติ และเป็นโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 ได้แก่

ดูเพิ่ม

[แก้]

แม่แบบ:เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ