ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ
หน้าตา
ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ | |
---|---|
รายละเอียด | |
ผู้ใช้ตรา | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
เริ่มใช้ | พ.ศ. 2530 |
เครื่องยอด | พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี |
โล่ | อักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ล้อมรอบด้วยตราจักรี |
ประคองข้าง | คชสีห์และราชสีห์ |
คำขวัญ | พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ |
ส่วนประกอบอื่น | ครุฑ, ฉัตรเจ็ดชั้น 2 ข้าง |
การใช้ | พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 |
ตราสัญลักษณ์ งานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530 ออกแบบโดย นายพินิจ สุวรรณบุณย์ นายช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ในขณะนั้น) ประกอบด้วยรูปครุฑพ่าห์ ซึ่งหมายถึงรัฐบาลและปวงชนชาวไทย เทิดพระแสงจักร และตรี อันเป็นพระราชสัญลักษณ์ประจำพระบรมราชจักรีวงศ์ กลางวงจักร มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภปร และเลข 9 ประจำรัชกาลปัจจุบัน อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี สองข้างซ้ายและขวา มีรูปคชสีห์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแทนข้าราชการฝ่ายทหาร กับราชสีห์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแทนข้าราชการฝ่ายพลเรือน ประคองฉัตรเครื่องสูง 7 ชั้น สำหรับประกอบพระบรมราชอิสริยยศ สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า เบื้องล่างมีแพรแถบ จารึกอักษรข้อความว่า “พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐”
ดูเพิ่ม
[แก้]- พระราชพิธีรัชดาภิเษก พุทธศักราช 2514
- พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530
- พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก 2 กรกฎาคม พุทธศักราช 2531
- พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช 2539
- พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542
- งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549
- พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550