ข้ามไปเนื้อหา

พระราชพิธีตรียัมปวาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร สถานที่ประกอบพิธีตรียัมปวายในปัจจุบัน

พระราชพิธีตรียัมปวาย (อังกฤษ: Triyampawai ceremony) เป็นพิธีกรรมทางศาสนาฮินดู หนึ่งในพระราชพิธีสิบสองเดือน ปัจจุบันประกอบพิธีภายในเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร พิธีนี้มีที่มาจากธรรมเนียมติรุเวมปาไวที่มีที่มาจากชาวทมิฬ[1]

ตรียัมปวาย เป็นรูปแบบชื่อที่ใช้ในพจนานุกรมไทยของสำนักราชบัณฑิตยสภา ส่วนการสะกดแบบอื่น ๆ ของชื่อพระราชพิธี ได้แก่ ตรียำปวาย ในมนเทียรบาล, ตรียำพวาย ในกฎหมายตราสามดวง, ตรียัมพวาย ในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน, ตรียัมภวาย ในหนังสือประกาศพระราชพิธี[2]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เป็นที่เข้าใจกันว่าติรุเวมปาไว (Thiruvembavai) เข้ามาสู่ประเทศไทยผ่านชาวทมิฬที่อพยพมายังสยามในศตววรษที่ 14[3][4] หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏยืนยันว่าพิธีติรุเวมปาไวมีการปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยอยุธยา, สุโขทัย และสวรรคโลก[5] โดยเริ่มแรกเป็นพิธีไถ่บาปและอดอาหารจำพรตที่มีปฏิบัติในสวรรคโลกกับพิษณุโลก ก่อนที่ต่อมาจะได้รับสถานะเป็นพระราชพิธีและรวมกับพิธีโล้ชิงช้า

พิธี

[แก้]
ภาพเขียนแสดงพิธีโล้ชิงช้า จากจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดเสนาสนารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระราชพิธีตรียัมปวายมีขึ้นเพื่อบูชาสรรเสริญพระศิวะซึ่งตามธรรมเนียมเชื่อว่าเสด็จมาเยือนประเทศไทยทุกสิ้นปีตามระบบการนับเดือนแบบไทยเดิม[6] โดยจะมีการถวายบูชาข้าว ผลไม้ และผักแก่พระศิวะ ส่วนพิธีการโล้ชิงช้าที่เสาชิงช้ามีขึ้นเพื่อเป็นสร้างความบันเทิงแก่พระศิวะ ตำนานพื้นถิ่นในไทยจำนวนมากตีความความสัมพันธ์ระหส่างพระศิวะกับการโล้ชิงช้าผ่านคำอธิบายมากมาย พิธีมีชึ้นนานสิบวัน หลังจากนั้น เชื่อว่าพระนารายณ์หรือพระวิษณุจะเสด็จมาประทานพรแก่ประเทศไทยนานห้าวัน[7]

บทสวดบูชาของพระราชพิธีตรียัมปวายถอดมาจากติรุเวมปาไวของมาณิกกวาจกร์ โดย 11 บทแรกจะสวดต่อหน้าพระศิวะ และอีก 9 บทจะสวดต่อหน้าพระนารายณ์[8]

พิธีโล้ชิงช้า

[แก้]

พิธีโล้ชิงช้าเป็นที่จัดฉลองอย่างยิ่งใหญ่ในประเทศไทยเรื่อยมาจนกระทั่งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นมา รัฐบาลได้สั่งยกเลิกพิธีโล้ชิงช้าเนื่องด้วยสาเหตุคือตัวชิงช้ามีความเสื่อมสภาพ การบาดเจ็บของผู้โล้ชิงช้า และค่าใช้จ่ายสำหรับพิธีซึ่งสูงสำหรับรัฐบาลในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Rāma Karaṇa Śarmā, Radhavallabh Tripathi (2008). Glory of Sanskrit tradition. Pratibha Prakashan.
  2. "ตรียัมปวาย". ราชบัณฑิตยสภา. 2013-02-26.
  3. Rajanupab Prince Damrong (1982) "Praraja Kranya Nusorn and Nung Nobpamass" p.316
  4. Muang Boran journal, Vol 05, (1977) p.95
  5. Tanistha Dansilp, Michael Freeman (2002) "Things Thai" p.17
  6. Pranee Liamputtong (2014) "Contemporary Socio-Cultural and Political Perspectives in Thailand" P.43
  7. Suwit, Thongsrigeat (1981) "Kansuksa Vikraw Itiphon Khong Sasanaphram Time to Pruttikam Tang Sasanaput Naichangvat Nakornrajasrima" pp.58-64
  8. Pannipa Kaveetanathum, (1995) "A comparative study of Tiruvempavai: Tradition in Thailand and Tamil Nadu in Historical and musical contexts" pp. 66
  9. M. E. Manickavasagom Pillai (1986). Dravidian Influence in Thai Culture. Tamil University. p. 69.