ข้ามไปเนื้อหา

พระราชกฤษฎีกาอ็องบวซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชกฤษฎีกาอ็องบวซ ค.ศ. 1563

พระราชกฤษฎีกาอ็องบวซ (อังกฤษ: Edict of Amboise) ที่ลงนามกันที่พระราชวังอ็องบวซเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1563 โดยแคทเธอรีน เดอ เมดิชิผู้ขณะนั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระราชโอรสพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 เป็นพระราชกฤษฎีกาเพื่อการยุติช่วงแรกของสงครามศาสนาของฝรั่งเศส และนำราชอาณาจักรกลับมาสู่สันติสุขโดยการรับรองเสรีภาพและอภิสิทธิ์ในการนับถือศาสนาแก่ประชากรผู้เป็นโปรเตสแตนต์หรือที่เรียกว่าอูเกอโนต์

แม้ว่าจะเป็นพระราชกฤษฎีกาที่มีเนื้อหาที่จำกัดกว่าพระราชกฤษฎีกาแซ็ง-แฌร์แม็งที่ลงนามกันในปีก่อนหน้านั้น แต่ก็ยังอนุญาตให้มีการทำพิธีศาสนาแบบโปรเตสแตนต์ภายในที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลของขุนนาง[1] และในปริมณฑลของเมืองที่ระบุภายใน "baillage" หรือ "sénéchaussée"[2]

ราชสภาแห่งปารีสผู้ขับสมาชิกผู้เป็นอูเกอโนต์ออกจากสภาต่อต้านการลงทะเบียนของพระราชกฤษฎีกาเช่นเดียวกับสภาการปกครองท้องถิ่น แต่ก็ได้ยินยอมหลังจากที่มีการประท้วง แต่เพิ่มข้อแม้ในพระราชกฤษฎีกามิให้มีผลบังคับตามเนื้อหาอย่างเต็มที่จนกว่าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 จะทรงบรรลุนิติภาวะ เมื่อสภาแห่งชาติมีโอกาสที่จะตัดสินกรณีที่เกี่ยวกับข้อขัดแย้งทางศาสนา เมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ทรงประกาศการบรรลุนิติภาวะของพระองค์เมื่อมีพระชนมายุได้ 14 พรรษาเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1563 พระองค์ก็ทรงเลือกรัฐบาลท้องถิ่นแห่งรูอ็องให้เป็นสถานที่สำหรับ "lit de justice" หรือ "การออกพระราชกฤษฎีกา" แทนปารีสที่ทำกันตามปกติ ในขณะเดียวกันก็ทรงออกพระราชกฤษฎีกาฉบับสมบูรณ์แทนฉบับย่อที่บังคับใช้กันก่อนหน้านั้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Part of the Catholic establishment's fear of Calvinism was as an agent of radical grass-roots reforms (see Jonathan Powis, "Order, religion, and the magistrates of a provincial parlement in sixteenth-century France", Archiv für Reformationsgeschichte 81 [1980:180-96]). A noble household could be assumed to have a moderating influence.
  2. Terms of the Edict of Amboise are discussed in N.M. Sutherland, The Huguenot Struggle for Recognition (New Haven: Yale University Press) 1980:356f.

ดูเพิ่ม

[แก้]