พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน ไกรฤกษ์)
พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน ไกรฤกษ์) | |
---|---|
เจ้ากรมท่าซ้าย | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ทองจีน อาณาจักรธนบุรี |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2395 ประเทศสยาม |
เชื้อชาติ | สยาม |
คู่สมรส | คุณหญิงนก |
บุตร | 9 คน; รวมถึง เจ้าจอมอิ่มย่าหรัน |
บุพการี |
|
พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน ไกรฤกษ์) เป็นขุนนางซึ่งได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็นพระยาโชฎึกราชเศรษฐีในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประวัติ
[แก้]พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน ไกรฤกษ์) เป็นบุตรคนโตของพระยาไกรโกษา (เริก) มีบุตรกับคุณหญิงจุ้ย เอกภรรยา ซึ่งได้ ให้กำเนิดบุตรธิดา 3 คน คือ นายทองจีน คือพระยาโชฎึกราชเศรษฐี คนที่สองเป็นหญิงชื่อยี่สุ่น เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 2 และนายสุด ภายหลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเดชนายเวร หรือหลวงนายเดช
ทองจีนน่าจะเกิดในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เริ่มรับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่าน ได้เลื่อนยศบรรดาศักดิ์หลายครั้ง จนได้เป็นพระยาโชฎึกราชเศรษฐีในรัชกาลที่ 3 ตำแหน่งนี้เป็นเจ้ากรมท่าซ้ายฝ่ายจีน ประสานงานระหว่างระหว่างรัฐบาลไทยกับชาวจีน ปรากฏหลักฐานว่าพระยาโชฎึกราชเศรษฐี ในรัชกาลที่ 3 ถูกกริ้วต้องออกจากราชการอยู่คราวหนึ่ง ครั้นมาถึงรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงเห็นว่าที่ต้องออกจากราชการนั้น ไม่มีความผิดจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพานทอง และให้เข้ารับราชการตำแหน่งหน้าที่ตามเดิม[1]
พระยาโชฎึกฯ ได้แต่งโคลงบทหนึ่งเรื่อง การบริหารกายของนักพรตจีน โคลงนี้รวมอยู่ในชุมนุมโคลงฤาษีดัดตน ซึ่งจารึกไว้ที่วัดพระเชตุพน ท่านเป็นแม่กองสร้างป้อมวิเชียรโชฎก จังหวัดสมุทรสาคร[2] ท่านเป็นผู้บูรณะวัดทองนพคุณในสมัยรัชกาลที่ 3[3]
พระยาโชฎึกฯ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2395 (จุลศักราช 1214)
บุตรธิดา
[แก้]พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน) มีบุตรจำนวน 1 คน กับคุณหญิงนก คือ เจ้าจอมอิ่ม ย่าหรัน
พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน) มีบุตรจำนวน 8 คน กับภรรยาอื่น คือ
- คุณหญิงพลอย ภรรยาพระยากระสาปน์กิจโกศล (โหมด อมาตยกุล)
- ช ชื่อ นวม
- พระมงคลรัตนราชมนตรี (ช่วง)
- ช ชื่อ จอน
- ช ชื่อ แสง
- ญ ชื่อ พยอม ภรรยาจมื่นสิทธิ์แสนยารักษ์ (อ่ำ อมาตยกุล)
- ญ ชื่อ เกษร ภรรยานายจ่ารง (กลิ่น บุณยรัตพันธุ์)
- ญ ชื่อ ต่วน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "บัญชีทะเบียนคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร" (PDF). กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. p. 222.
- ↑ "จดหมายหลวงอุดมสมบัติ ฉบับที่ ๑". วัชรญาณ.
- ↑ "ทองเนื้อแท้วัดทองนพคุณ". อนุรักษ์.