ข้ามไปเนื้อหา

พระยาวาระศิริศุภเสวี (เอ.วัน วาระศิริ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาวาระศิริศุภเสวี
เกิด4 เมษายน พ.ศ. 2425
ถึงแก่กรรม17 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 (46 ปี)
สาเหตุเสียชีวิตหลอดลมอักเสบ
ภรรยาเอกคุณหญิงจิตรลดา วาระศิริ
บิดามารดา
  • ตือ (บิดา)

เสวกเอก พระยาวาระศิริศุภเสวี (เอ.วัน วาระศิริ) (4 เมษายน 2425 – 17 กรกฎาคม 2471) เป็นขุนนางชาวไทย อดีตเจ้ากรมดนตรีฝรั่งหลวง, อดีตปลัดโรงเรียนมหาดเล็กหลวง มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรีสากลในโรงเรียนพรานหลวง ซึ่งได้สร้างครูดนตรีและครูเพลงที่มีชื่อเสียงและฝีมือไว้หลายคนเช่น ครูโฉลก เนตรสูตร อดีตหัวหน้าวงดนตรีกรมศิลปากร, ครูเอื้อ สุนทรสนาน นักร้อง นักแต่งเพลง และอดีตหัวหน้าวงสุนทราภรณ์, ครูนารถ ถาวรบุตร เป็นต้น[1]

ประวัติ

[แก้]

พระยาวาระศิริศุภเสวี เกิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2425 บิดาชื่อนายตือ สมรสกับคุณหญิงจิตรลดา วาระศิริ มีบุตรสาวคือ คุณหญิงจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา อดีตครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ[2] โรงเรียนอนุบาลของรัฐแห่งแรกในประเทศไทย[3] และเป็นภรรยาของหม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ทองแถม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อดีตอธิบดีกรมศุลกากร และอดีตผู้อำนวยการธนาคารออมสิน

พระยาวาระศิริศุภเสวีถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหลอดลมอักเสบเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 สิริอายุเพียง 46 ปี[1][4]

รับราชการ

[แก้]

นายเอ.วัน เริ่มต้นรับราชการเป็นล่ามประจำกรมสุขาภิบาล เมื่อปี พ.ศ. 2444 ก่อนจะย้ายมาเป็นล่ามประจำกรมคลอง กระทรวงเกษตราธิการ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน) ก่อนจะโอนย้ายมารับราชการที่กระทรวงมหาดไทยในตำแหน่งผู้ช่วยการต่างประเทศ มณฑลภูเก็ต เมื่อปี พ.ศ. 2451

ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 ได้โอนย้ายมารับราชการเป็นอาจารย์โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน) ในวันที่ 27 ธันวาคม ปีเดียวกันได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น ขุนสนธิวิชากร ถือศักดินา 300[5] จากนั้นในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2457 ได้เลื่อนยศจากนายรองหุ้มแพรเป็นหุ้มแพร[6]

วันที่ 31 ธันวาคม ปีเดียวกัน ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงในราชทินนามเดิม ถือศักดินา 400[7] จากนั้นในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2458 ได้รับพระราชทานยศเป็นนายหมู่ตรีในกองเสือป่าประจำกรมเสนาธิการเสือป่า แผนกตำราและแผนที่[8] ในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ได้เลื่อนยศเป็นชั้นจ่า[9] จากนั้นในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ได้ย้ายจากตำแหน่งปลัดบัญชาการโรงเรียนมหาดเล็กไปเป็นผู้ช่วยราชการโรงเรียนพรานหลวง กรมมหรสพ[10] ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม ปีเดียวกัน เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา หลวงสนธิวิชากรได้เปลี่ยนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงนนทพิทย์พิลาศ[11] วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2459 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศทางเสือป่าเป็นนายหมู่โท[12]

ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2460 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระในราชทินนามเดิม ถือศักดินา 600[13] กระทั่งวันที่ 18 ตุลาคม ปีเดียวกัน จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกรมกองเครื่องสายฝรั่ง[14] ต่อมาในวันที่ 11 ธันวาคม ได้เปลี่ยนบรรดาศักดิ์เป็นพระประดิษฐไพเราะ คงถือศักดินา 600[15] จากนั้นในวันที่ 1 มกราคม 2460 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศทางเสือป่าเป็นว่าที่นายหมวดตรี[16] ต่อมาในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2461 จึงได้เลื่อนเป็นนายหมวดตรีอย่างเป็นทางการ[17]

วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2462 ได้เลื่อนยศเป็นรองหัวหมื่น[18] ปีถัดมาคือในวันที่ 9 เมษายน 2463 ได้เป็นเจ้ากรมดนตรีฝรั่งหลวง[19] และได้เลื่อนยศเป็นหัวหมื่นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2463[20] จากนั้นในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2465 ได้ย้ายเข้ามาประจำกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก[21] เนื่องจากกรมดนตรีฝรั่งหลวงถูกลดฐานะลงเป็นกองหนึ่งในกรมมหรสพ จากนั้นในวันที่ 30 ธันวาคม ปีเดียวกัน ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาวาระศิริศุภเสวี ถือศักดินา 1000[22]

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2466 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก[23] ก่อนจะออกจากราชการในปี พ.ศ. 2469 โดยก่อนออกจากราชการได้เปลี่ยนยศจากหัวหมื่นเป็นเสวกเอก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)". นิตยสารเรือนไทย. 8 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  2. "ประวัติโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ". โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  3. "กำเนิด โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ อนุบาลของรัฐแห่งแรก ใครให้ทุน-ใช้ครูจากไหนสอน?". ศิลปวัฒนธรรม. 2 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  4. "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  5. "พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  6. "พระราชทานเลื่อนยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 ตุลาคม 1914. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  7. "พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 10 มกราคม 1914. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  8. "พระราชทานยศเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 1980. 28 พฤศจิกายน 1915. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2024.
  9. "พระราชทานยศและเลื่อนยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 พฤศจิกายน 1915. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  10. "ประกาศกรมมหาดเล็ก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 18 มิถุนายน 1916. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  11. "พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 7 มกราคม 1916. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  12. "พระราชทานยศเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 340. 18 มีนาคม 1916. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2024.
  13. "พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 12 สิงหาคม 1917. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  14. "ประกาศกรมมหาดเล็ก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 ตุลาคม 1917. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  15. "พระราชทานบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 ธันวาคม 1917. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  16. "พระราชทานยศเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 3084. 20 มกราคม 1917. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2024.
  17. "พระราชทานยศเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 3327. 2 มีนาคม 1918. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2024.
  18. "ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 3022. 4 มกราคม 1919.
  19. "ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 11 เมษายน 1920. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2024.
  20. "พระราชทานยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 3287. 2 มกราคม 1920.
  21. "ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 เมษายน 1922. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  22. "พระราชทานบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 10 มกราคม 1922. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  23. "ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 เมษายน 1923. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  24. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 พฤศจิกายน 1925. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  25. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 7 มกราคม 1923. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  26. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 พฤศจิกายน 1921. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.
  27. "พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 มกราคม 1918. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2024.