พระยาพุทธวงศ์
พระยาพุทธวงศ์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระยานครเชียงใหม่ | |||||
ครองราชย์ | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 - พ.ศ. 2389[1] | ||||
รัชสมัย | 20 ปี | ||||
ก่อนหน้า | พระยาคำฟั่น | ||||
ถัดไป | พระเจ้ามโหตรประเทศ | ||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||
อุปราช | พระยามหาวงส์ | ||||
พระยาอุปราชนครเชียงใหม่ | |||||
ดำรงพระยศ | พ.ศ. 2367 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 | ||||
ก่อนหน้า | พระยาคำฟั่น | ||||
ถัดไป | พระยามหาวงส์ | ||||
เจ้าหลวง | พระยาคำฟั่น | ||||
พิราลัย | มิถุนายน พ.ศ. 2389 | ||||
ราชเทวี | แม่เจ้าปินตอง | ||||
| |||||
พระบุตร | เจ้าราชบุตร (ธนัญไชย) เจ้าหนานปัญญา เจ้าน้อยขี้วัว เจ้าน้อยขี้ควาย เจ้าน้อยขี้ช้าง เจ้าหญิงเฮือนคำ เจ้าหน่อแก้ว เจ้าหญิงศิริวรรณา เจ้าหญิงสุนันทา | ||||
ราชสกุล | ณ เชียงใหม่ | ||||
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร | ||||
พระราชบิดา | เจ้าพ่อเรือน | ||||
พระราชมารดา | แม่เจ้าจันทาราชเทวี |
พระยากากวรรณาทิปะราชวชิรปราการ[2] หรือ พระยาพุทธวงศ์ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 4 ระหว่างปี พ.ศ. 2369 - พ.ศ. 2389 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการรวบรวมผู้คนมาเป็นประชากรของเมืองเชียงใหม่ในรัชสมัยพระเจ้ากาวิละ
พระราชประวัติ
[แก้]พระยาพุทธวงศ์ หรือ เจ้าหลวงแผ่นดินเย็น[3] มีนามเดิมว่านายพุทธวงศ์ เป็นเจ้าโอรสองค์ใหญ่ของนายพ่อเรือน พระราชอนุชาในเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว ผู้ครองนครลำปางกับแม่เจ้าจันทาราชเทวี และเป็นเจ้าราชนัดดา (หลานปู่) ในพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) (พระญาสุละวะฤๅไชยสงคราม) กับแม่เจ้าพิมพาราชเทวี ซึ่งเป็นองค์ต้นราชวงศ์ทิพย์จักร (เชื้อเจ้าเจ็ดตน)
พระยาพุทธวงศ์ มีพระอนุชาและพระขนิษฐา รวม 5 พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
- พระยาพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 4
- เจ้าราชวงศ์ (คำมูล), เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่ - เจ้าปู่ในเจ้าราชสัมพันธ์วงศ์ หนานธรรมลังกา ณ เชียงใหม่ และเป็นเจ้าปู่ทวดในแม่เจ้าส่วนบุญ ในพลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์
- เจ้าบุรีรัตน์ (กาวิละ), เจ้าบุรีรัตน์นครเชียงใหม่ - เจ้าบิดาในเจ้าหญิงศรีแก้ว (ณ ลำปาง) ณ เชียงตุง ชายาในเจ้ามหาพรหม ณ เชียงตุง ราชโอรสองค์ที่ 6 ในเจ้าฟ้าชายสามจุฬามณีสิริเมฆภูมินทร์ เจ้าผู้ครองนครเชียงตุง องค์ที่ 1
- เจ้าคำลือ
- เจ้าสนธนา - ชายาในพระยาอุปราชหมูล่า พระราชมหาอุปราชานราธิบดีศรีสุวรรณฝ่ายหน้าหอคำนครลำปาง
เมื่อพระยาอุปราชคำฟั่นได้รับการสถาปนาเป็นพระยาเชียงใหม่ เจ้าพุทธวงศ์ได้รับสถาปนาเป็นพระยาอุปราชเชียงใหม่แทนเมื่อวันที่ 31 มกราคม[4] จ.ศ. 1185 ปีมะแม[2] (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2367) เมื่อพระยาเชียงใหม่คำฟั่นถึงแก่อนิจกรรม เจ้านายและขุนนางเชียงใหม่จึงทูลเชิญพระยาอุปราชพุทธวงศ์ขึ้นสืบราชสมบัติในวันที่ 20 พฤษภาคม[5] จ.ศ. 1188 ปีจอ[2] (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2369) แต่พระยาพุทธวงศ์ยังคงประทับที่คุ้มเดิมหน้าวัดพระสิงห์ แม้จะได้รับทูลเชิญให้ประทับที่หอคำ ก็เกรงบารมีพระประยูรญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จึงให้สร้างหอเทียมขึ้นทางทิศใต้ของหอคำ ประทับที่หอคำได้ 7 วันรับราชาภิเษกแล้วย้ายไปประทับที่หอเทียม เฉลิมพระนามว่าภูมิปาลรัฏฐาธิปติ[6]
พระยาพุทธวงศ์ ป่วยถึงแก่อสัญกรรมในเดือน 7 ปีมะเมีย จ.ศ. 1208[7] (ราวเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2389)
ราชโอรส ราชธิดา
[แก้]พระยาพุทธวงศ์ มีเจ้าราชโอรสและราชธิดา รวม 9 พระองค์ อยู่ในณ เชียงใหม่ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
- เจ้าราชบุตรหนานธนัญไชย, เจ้าราชบุตรนครเชียงใหม่ - เจ้าบิดาในเจ้าหญิงทิพโสม ณ เชียงใหม่ พระชายาในเจ้าหนานมหาเทพ ณ เชียงใหม่ เจ้าราชโอรสในพระเจ้ามโหตรประเทศ
- เจ้าหนานปัญญา
- เจ้าน้อยขี้วัว
- เจ้าน้อยขี้ควาย - เจ้าบิดาในเจ้าหญิงศรีกุย ณ เชียงใหม่ พระชายาในเจ้าหนานสมมนุษย์ ณ เชียงใหม่ เจ้าราชนัดดาในพระเจ้ากาวิละ
- เจ้าน้อยขี้ช้าง
- เจ้าหญิงเฮือนคำ
- เจ้าหน่อแก้ว สมรสด้วย เจ้าคำมูล ธิดาเจ้าหลวงอินทวิไชย (อินต๊ะวิไชย)เจ้าผู้ครองนครแพร่ ลำดับที่ ๓ แห่งราชวงศ์แสนซ้ายปลูกคุ้มอยู่ริมลำน้ำปิงที่เมืองตาก(ปัจจุบันคือที่ตั้งโรงแรมเวียงตาก) ดูแลธุรกิจสัมปทานค้าไม้สักทองที่ล่องมาตามลำน้ำปิง (แต่เดิมธุรกิจสัมปทานค้าไม้สักทองในมณฑลพายัพ ทางการสยามจะอนุญาตให้เฉพาะเชื้อพระวงศ์และเจ้านายฝ่ายเหนือเป็นผู้ดูแลเท่านั้น)ทั้งสองมีบุตรและธิดารวม ๓ คน คือ ๑ ร้อยโทเข่ง(ยศในขณะนั้น) ๒ นายขุนทอง(นายสรรพสามิตใหญ่แห่งกาญจนบุรี) และ ๓ นางทองอยู่
ภายหลังล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ได้โปรดเกล้าพระราชทานนามสกุลให้ร้อยโทเข่งผู้รับราชการทหารตำแหน่งผู้รั้งผู้บังคับกองร้อยที่ ๒ กรมทหารพรานในกองพลทหารบกที่ ๖ ณ เวลานั้น คือ “บุณยปรรณานนท์” ร้อยโทเข่งจึงได้ให้น้องทั้งสองใช้นามสกุลนี้ และเป็นต้นตระกูลและสืบต่อจนกาลปัจจุบัน
- เจ้าหญิงศิริวรรณา
- เจ้าหญิงสุนันทา สุริโยดร - เจ้ามารดาในเจ้านิเวศน์อุดร (น้อยบุญปั๋น สุริโยดร) แห่งนครเชียงใหม่ นับเป็นต้นราชตระกูล "สุริโยดร" เนื่องจากขุนบรรณสารโลหะกรรม (เจ้าน้อยอินทร์ทอง สุริโยดร) เจ้านัดดา (หลานยาย) ของเจ้าหญิงฯ ขอพระราชทานนามสกุล จาก ร.6
การครองเมืองเชียงใหม่
[แก้]เจ้าหลวงเชียงใหม่แห่ง ราชวงศ์ทิพย์จักร | |
---|---|
พระเจ้ากาวิละ | |
พระยาธรรมลังกา | |
พระยาคำฟั่น | |
พระยาพุทธวงศ์ | |
พระเจ้ามโหตรประเทศ | |
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ | |
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ | |
เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ | |
เจ้าแก้วนวรัฐ | |
ด้านเศรษฐกิจ ในรัชสมัยของพระยาพุทธวงศ์ หรือเจ้าหลวงแผ่นดินเย็น นับได้ว่าเป็นช่วงที่ไม่มีศึกสงคราม มีความเจริญทางเศรษฐกิจ กำลังการผลิตของประชากรมากขึ้น แหล่งเพาะปลูกกว้างขวาง ข้าวของเครื่องใช้เริ่มจะละเมียดละไมขึ้น ข้าวปลาอาหารที่เคยผลิตหรือจัดหาเพื่อความอยู่รอดในช่วงก่อนหน้านั้น เริ่มมีมากขึ้นจนเหลือเฟือในบางครั้ง ซึ่งตลาดก็เริ่มมีบทบาทเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า จากตลาดนัดกลายเป็นตลาดที่มีสินค้านานาชนิด โดยเฉพาะตลาดกลางการค้าขายบริเวณหน้าวัดพระสิงห์ และขยายไปยังตลาดที่ถนนท่าแพในปัจจุบัน
มีเส้นทางการค้าขายหลัก 2 เส้นทาง คือ เส้นทางบก (มะละแหม่ง-ล้านนา-รัฐฉาน-ยูนนาน) และเส้นทางเรือ (ลำน้ำปิง กรุงเทพฯ-ล้านนา)
ด้านการศึกษา ในช่วงแรกยังเป็นการศึกษาในรูปแบบเดิมคือการฝึกอาชีพหรือการดำรงชีวิตตามความชำนาญในครอบครัว หรือเรียนตามสนใจของแต่ละคน ส่วนการศึกษาที่เป็นระบบนั้น จะเป็นรูปแบบของการเรียนในวัด ซึ่งไม่แตกต่างไปจากรัชสมัยของพระเจ้ากาวิละ แต่ที่แตกต่างอย่างชัดเจนคือ จำนวนวัด และจำนวนพระสงฆ์เพิ่มมากขึ้น และมีการคัดลอกคัมภีร์ใบลานต่างๆ มากขึ้นตามไปด้วย
โดยรวมแล้วในรัชสมัยของพระยาพุทธวงศ์ เป็นช่วงที่นครเชียงใหม่มีความเจริญและรับรู้ถึงชนชาติอื่นและการเปลี่ยนแปลงของโลกมากขึ้น มีการสัมพันธ์กับอังกฤษ และรู้จักการบริหารที่ไม่ใช้กำลังในการทำศึกสงคราม นับเป็นจุดเปลี่ยนของนครเชียงใหม่ เข้าสู่กระแสการบริหารและการเศรษฐกิจของโลก[3]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระยาพุทธวงศ์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, หน้า 16
- ↑ 2.0 2.1 2.2 พงศาวดารโยนก, หน้า 450
- ↑ 3.0 3.1 เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539.
- ↑ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 215
- ↑ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 222
- ↑ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี, หน้า 168
- ↑ พงศาวดารโยนก, หน้า 454
- บรรณานุกรม
- ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, 2538. 320 หน้า. ISBN 974-8150-62-3
- ประชากิจกรจักร, พระยา. พงศาวดารโยนก. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2557. 496 หน้า. ISBN 978-616-7146-62-1
- มหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ), พระยา. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2505. 35 หน้า. [พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์)]
- วรชาติ มีชูบท. เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2556. 428 หน้า. ISBN 978-616-220-054-0
- อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค วัยอาจ (ปริวรรต). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : ตรัสวิน, 2543. 220 หน้า. ISBN 9747047683
ก่อนหน้า | พระยาพุทธวงศ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยาคำฟั่น | เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (20 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 - มิถุนายน พ.ศ. 2389) |
พระเจ้ามโหตรประเทศ |