พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค)
พระยาประชากิจกรจักร์ นามเดิม แช่ม เป็นขุนนางในสกุลบุนนาค อดีตกรรมการศาลฎีกา ผู้เรียบเรียงพงศาวดารโยนก
ประวัติ
[แก้]พระยาประชากิจกรจักร์ มีนามเดิม แช่ม เป็นบุตรพระพรหมธิบาล (จอน) กับนางเปรม โดยบิดาเป็นบุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับหม่อมก้อนทอง ได้ศึกษากฎหมายในสำนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร[1]
การรับราชการ
[แก้]นายแช่มเริ่มรับราชการในหน้าที่มหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2426 ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนประชาคดีกิจ ถึงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2432 จึงเลื่อนเป็นหลวงประชาคดีกิจ มีตำแหน่งราชการในกรมมหาดไทย ถือศักดินา 600[2] และเป็นพระประชาคดีกิจ ตามลำดับ ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2436 จึงโปรดให้กระทรวงมหาดไทยส่งสัญญาบัตรไปพระราชทานเลื่อนเป็นพระยาประชากิจกรจักร์ ตำแหน่งข้าหลวงรับราชการในหัวเมือง สังกัดกระทรวงมหาดไทย ถือศักดินา 1000[3] และเป็นกรรมการตรวจตัดสินความฎีกาตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2446[4]
นอกจากนี้พระยาประชากิจกรจักร์ยังบริจาคทรัพย์ 300 บาทช่วยสร้างระเบียงวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร[5]
อนิจกรรม
[แก้]พระยาประชากิจกรจักร์ ป่วยเป็นวัณโรค จนต้องพักจากหน้าที่กรรมการศาลฎีกาตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2450[6] และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม[7]
ครอบครัว
[แก้]พระยาประชากิจกรจักร์สมรสกับคุณหญิงปราย มีบุตร 4 ได้แก่[8]
- จมื่นเทพศิรินทร์ (ประณีต บุนนาค)
- จ่าแกว่นประกอบการ (ประสิทธิ์ บุนนาค)
- นายสดจำลอง (ประเสริฐ บุนนาค)
- นายพันตำรวจเอก พระราชญาติรักษา (ประกอบ บุนนาค)
งานประพันธ์
[แก้]- โคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ห้องที่ 87 รวมโคลง 28 บท (แต่งเมื่อเป็นนักเรียน)
- ว่าด้วยภาษาต่าง ๆ ในสยามประเทศ[9]
- โคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ โคลงที่ 27 คชกรรมสาตร
- ลูกขุนคือผู้ใด
- พงศาวดารโยนก[10]
- ประวัติพระพุทธสาสนา[11]
- ประวัติสาสนา[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2448 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[13]
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ สยาม ภัทรานุประวัติ และ หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี (2558). "ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย : นายแช่ม". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชทานสัญญาบัตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 6 (29): 245. 20 ตุลาคม 1889. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2019.
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 10 (11): 129. 11 มิถุนายน ร.ศ. 112. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "แจ้งความกรรมการฎีกา เรื่อง ให้พระยาประชากิจกรจักร์ เป็นกรรมการตรวจตัดสินความฎีกา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (16): 245. 19 กรกฎาคม ร.ศ. 122. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (28): 701, 703. 7 ตุลาคม ร.ศ. 125. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "แจ้งความศาลฎีกา [พระยาประชากิจกรจักรป่วยให้พระเมธีนฤปกรเป็นกรรมการศาลฏีกาแทนชั่วคราว]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (24): 590. 15 กันยายน ร.ศ. 126. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (29): 710. 20 ตุลาคม ร.ศ. 126. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ พงศาวดารโยนก, หน้า 15
- ↑ ประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค), พระยา. ว่าด้วยภาษาต่างๆ ในสยามประเทศ. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2462. 90 หน้า.
- ↑ ประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค), พระยา. เรื่องพงษาวดารโยนก. พระนคร : โรงพิมพ์กองลหุโทษ, 2450. 449 หน้า.
- ↑ ประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค), พระยา. ประวัติพระพุทธสาสนา. พระนคร : โรงพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์, 2469. 34 หน้า.
- ↑ ประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค), พระยา. ประวัติสาสนา. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2461. 90 หน้า.
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (35): 763. 26 พฤศจิกายน ร.ศ. 124. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
- บรรณานุกรม
- ประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค), พระยา. พงศาวดารโยนก. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2557. 496 หน้า. ISBN 978-616-7146-62-1