ข้ามไปเนื้อหา

พระพุทธไสยาสน์ (วัดสะตือ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพุทธไสยาสน์
ชื่อเต็มพระพุทธไสยาสน์
ชื่อสามัญหลวงพ่อโต
ประเภทพระพุทธรูป
ความกว้าง9 เมตร
ความสูง16 เมตร
วัสดุก่ออิฐถือปูน
สถานที่ประดิษฐานวัดสะตือ
ความสำคัญเป็นพระพุทธรูปที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)​สร้าง
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

พระพุทธไสยาสน์ในวัดสะตือ หรือชาวบ้านเรีกกันว่า หลวงพ่อโต ประดิษฐาน ณ วัดสะตือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2413 องค์พระมีขนาดยาว 52 เมตร กว้าง 9 เมตร และสูง 16 เมตร[1]

ประวัติ

[แก้]

พระพุทธไสยาสน์ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2413 โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้มาทำการก่อสร้างพระพุทธรูป ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง (ในปัจจุบันคือวัดสะตือ) โดยสถานที่ก่อสร้างองพระประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ณ ริมคูวัดสะตือ ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก

การบูรณะซ่อมแซม

[แก้]

หลังจากสร้างพระพุทธไสยาสน์เป็นต้นมา ตัวพระพุทธรูปได้มีการทรุดโทรมในแต่ละปีผ่านมา จึงมีการบูรณะซ่อมแซมทั้งหมด 4 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1

[แก้]

การบูรณะซ่อมแซมพระพุทธไสยาสน์ครั้งแรกเกิดขึ้นนปีจอ พ.ศ. 2465 ตามคำกล่วของ พระอุปัชฌาย์บัตร จนฺทโชติ อดีตเจ้าอาวาสวัดสะตือ ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้จ้างนายเรือง ไวยฉาย, นางบาง ไวยฉาย และนายเปล่ง แหวนเพชร์ และชาวบ้านผู้มีจิตศรัทรา ได้จัดหาปูนและบูรณะ โดยทำการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่ 4 ปี จึงแล้วเสร็จ ในปีฉลู พ.ศ. 2468 เนื่องจากการบุรณะได้ผู้มีจิตศรัทราบริจาคเงิน ท่านจึงได้จัดมีการประชุมนมัสการและปิดทองพระนอน จนเป็นงานเทศกาลประจำปีต่อมาจนถึงปัจจุบัน

การบูรณะครั้งที่ ๒ เกิดขึ้นเมื่อ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม กับคณะ เดินทางมาปิดทองพระนอนวัดสะตือ เมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีวอก พ.ศ. ๒๔๙๙ ตรงกับวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ เวลานั้นพระนอนอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก ท่านนายกรัฐมนตรี มีจิตใจประกอบด้วยความศรัทธาอันแรงกล้า ได้จัดการปฏิสังขรณ์พระนอนใหม่ ทั้งองค์ โดยบัญชาการให้กรมโยธาเทศบาลอำนวยการปฏิสังขรณ์ในครั้งนี้ ปฏิสังขรณ์อยู่ ๓ เดือนจึงแล้วเสร็จ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ขนาดขององค์พระได้ลดไปจากขนาดเดิมไปมาก พระเกศของเก่าชำรุดและปัจจุบันนำมาเก็บรักษาไว้ในวิหารหน้าองค์หลวงพ่อโต

การบูรณะครั้งที่ ๓ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ โดย พระครูพุทธไสยาภิบาล (หมึก อินฺทสโร) น.ธ. เอก เจ้าอาวาส ร่วมกับชาวบ้านบูรณะ ในระยะเวลาประมาณ ๓ เดือน ๒๕ วัน จึงแล้วเสร็จ จากคำบอกเล่าของพระครูพุทธไสยาภิบาลเมื่อเดิมเคยเห็นเสาศาลาครอบองค์พระนอนที่หลวงพ่อโตสร้างไว้ ยังปรากฏให้เห็นอยู่ ๒-๓ ต้น เมื่อคราวบูรณะปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ โดยท่านจอมพล ป. พิพูลสงคราม พวกช่างกรมโยธาเทศบาลเห็นเสาตั้งอยู่ไม่ใช้ประโยชน์อะไร จึงพากันรื้อถอนทุบทิ้งเสีย ส่วนเตาเผาอิฐของหลวงพ่อโต อยู่ใต้ต้นมะขามใหญ่ท่านได้สั่งให้รื้อทิ้ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๔

การบูรณะครั้งที่ ๔ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยพระอธิการทองคำ คัมภีร์ปัญโญ (ทองคำ อินทโชติ) น.ธ. เอก อดีตเจ้าอาวาส ไดร่วมกับชาวบ้านทำการบูรณและทาสีน้ำองค์พระ

การบูรณะครั้งที่ ๕ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยพระมหาจำรัส คุตตสีโล อดีตเจ้าอาวาส ร่วมกับชาวบ้านทำการบูรณะและพ่นองค์หลวงต่อโตเป็นสีทอง และได้เปลี่ยนเม็ดพระสกจากแก้วใส เป็นนิลอัดก้อน ใช้งบในการบูรณะ ๒,๘๔๕,๐๐๐ บาทโดย หจก.ประเสริฐอรชร

การบูรณะครั้งที่ ๖ ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ พระครูปริยัตยาธิคุณเจ้าอาวาสวัดสะตือองค์ปัจจุบัน ร่วมกับนายณรงค์ อ่อนสอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และผู้อำนวยการศิลปากรที่ ๓ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำลังดำเนินการประชุมและวางแผนชี้แจงแนวทางการบูรณะเพื่อซ่อมแซมรอยร้าวครั้งใหญ่ โดยลอกสี และจะทำการกระเทาะปูนเก่าที่หมดคุณภาพออกโดยฉาบปูนตำแบบโบราณ

อ้างอิง

[แก้]
  • หนังสือ ประวัติวัดสะตือ ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี). วัดสะตือ