ข้ามไปเนื้อหา

พระนางชอริน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระนางชอริน
철인왕후
哲仁王后
สมเด็จพระราชินีแห่งโชซ็อน (วังบี)
ดำรงตำแหน่ง17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1851 – 16 มกราคม ค.ศ. 1864
ก่อนหน้าพระนางฮโยจ็อง
ถัดไปสมเด็จพระราชินีมย็องซ็อง
แทบี
พระพันปีหลวงแห่งโชซ็อน
ดำรงตำแหน่ง16 มกราคม ค.ศ. 1864 – 12 มิถุนายน ค.ศ. 1878
ก่อนหน้าพระพันปีหลวงมย็องฮ็อน
ถัดไปไม่มี
พระราชสมภพ27 เมษายน ค.ศ. 1837(1837-04-27)
อำเภอ Sunhwa-bang,[1][2] ฮันซ็อง อาณาจักรโชซ็อน
สวรรคต12 มิถุนายน ค.ศ. 1878(1878-06-12) (41 ปี)
พระตำหนักยังฮวาดัง,[3] พระราชวังชังกย็อง อาณาจักรโชซ็อน
ฝังพระศพพระราชสุสานเยลึง, หมู่พระราชสุสานซอซัมลึง, โกยาง, จังหวัดคย็องกี
พระราชสวามีพระเจ้าช็อลจง (สมรส ค.ศ. 1851–1864)
พระราชบุตรYi Yung-jun[4]
พระสมัญญานาม
(ดูข้างล่าง)
ราชวงศ์คิมแห่งอันดง
พระราชบิดาคิม มุน-กึน
พระราชมารดาท่านผู้หญิงฮึงยัง จากตระกูลมินแห่งยอฮึง
พระนางชอริน
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Cheorin wanghu
เอ็มอาร์Ch'ŏrin wanghu
Pseudonym
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Hyohwijeon
เอ็มอาร์Hyohwichŏn
บทความนี้อักษรเกาหลีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถามหรือสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลอักษรฮันกึลและอักษรฮันจาได้อย่างถูกต้อง

พระนางชอริน (27 เมษายน ค.ศ. 1837 - 12 มิถุนายน ค.ศ. 1878[5]) รู้จักกันในพระนาม พระพันปีมย็องซุน (명순대비) สมเด็จพระราชินีแห่งอาณาจักรโชซ็อน พระมเหสีของพระเจ้าช็อลจง กษัตริย์ลำดับที่ 25 ของโชซ็อน

พระราชประวัติ

[แก้]

พระราชสมภพ

[แก้]

พระนางชอริน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ.1837 เป็นธิดาคนโตสุดของ คิม มุน-กึน (ฮันกึล: 김문근, ฮันจา: 金汶根) และท่านผู้หญิงฮึงยัง จากตระกูลมินแห่งยอฮึง ภริยาคนที่สองของ คิม มุน-กึน

อภิเษกสมรส

[แก้]

พระนางชอรินได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าช็อลจง ในวันที่ 17 พฤษจิกายน ค.ศ. 1851 เมื่อพระชนมายุ 24 พรรษา ในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1858 พระนางชอรินได้ให้ประสูติพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวของพระเจ้าช็อลจงนามว่า ลี ยุง-จุน ที่พระราชวังชังด็อก พระราชโอรสเกิดมาดูแข็งแรงไม่เจ็บปวด แต่พระราชโอรสกลับสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหันไปในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ด้วยพระชันษาเพียง 6 เดือนเท่านั้น วันต่อมา พระราชาได้ประกาศว่าพระราชโอรสสิ้นพระชนม์แล้ว และได้สั่งเหล่าทหารให้ไปร่วมงานพระศพพระราชโอรส

จุดเริ่มต้นพระเจ้าโกจง

[แก้]

ในวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1864 พระเจ้าช็อลจงเสด็จสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาท ซึ่งในขณะดังกล่าวกลุ่มอันดง คิม เป็นกลุ่มที่ทรงอำนาจทางการเมืองมากที่สุด ซึ่งได้มาจากการสมรสกับราชวงศ์ลี การเลือกกษัตริย์พระองค์ต่อไปอยู้ในอำนาจของพระมเหสีหม้ายสามพระองค์ คือ พระนางซินจ็อง พระพันปีหลวง พระราชมารดาของพระเจ้าฮ็อนจง, พระนางฮโยจ็อง พระพันปีหลวง พระมเหสีของพระเจ้าฮ็อนจง และพระราชินีซอริน พระมเหสีของพระเจ้าช็อลจง แต่ผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตามธรรมเนียมที่แท้จริงคือ พระนางซินจ็อง พระพันปีหลวง เนื่องจากเป็นพระพันปีหลวงที่มีอาวุโสสูงสุด ซึ่งมาจากกลุ่มพุงยัง โจ และเป็นกลุ่มที่เป็นศัตรูทางการเมืองของพระนางชอริน ที่อยู่ในกลุ่มอันดง คิม

ในขณะที่พระราชินีชอริน เป็นพระมเหสีของพระเจ้าช็อลจง และเป็นสมาชิกของกลุ่มอันดง คิม ก็ได้กล่าวอ้างสิทธิที่จะเลือกกษัตริย์พระองค์ต่อไป ถึงแม้ธรรมเนียม พระพันปีหลวงที่มีอาวุโสสูงสุดเพียงหนึ่งเดียวที่จะมีสิทธิเลือกกษัตริย์พระองค์ต่อไป ซึ่งพระนางซินจ็อง พระพันปีหลวง ถือสิทธิดังกล่าวอยู่

ในขณะที่พระเจ้าช็อลจงประชวรหนัก ลี ฮา-อึง ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก พระเจ้าอินโจ ซึ่งพระบิดาของเขาเป็นบุตรบุญธรรมขององค์ชายอึนซิน พระราชนัดดาของพระเจ้าย็องโจแห่งโชซ็อน ได้เข้าหาทางพระนางซินจ็อง ซึ่งสาขาสกุลของ ลี ฮา-ฮึง ก็ได้อยู่ในสายที่จะสืบราชสมบัติได้ และเป็นสายที่อยู่รอดจากวิกฤติทางการเมืองในขณะนั้น และไม่ได้สร้างความขัดแย้งกับผู้ใด แต่ตัว ลี ฮา-อึง ก็ไม่มีสิทธิขึ้นครองราชสมบัติตามกฎมณเฑียรบาล ซึ่งกำหนดไว้ว่า ผู้ที่จะเป็นรัชทายาทสืบต่อราชสมบัติจากกษัตริย์พระองค์ก่อนต้องเป็นบุคคลรุ่นหลังจากกษัตริย์พระองค์ก่อน ทำให้ ลี อย็อง-บ๊ก โอรสของ ลี ฮา-อึง ซึ่งเป็นบุคคลรุ่นหลังพระเจ้าช็อลจง มีสิทธิที่จะสืบราชสมบัติ

พระนางซินจ็อง แห่งกลุ่มพุงยัง โจ มองเห็นว่าอี มย็อง-บก ซึ่งขณะนั้นอายุ 12 พรรษา ไม่สามารถที่จะบริหารราชการด้วยพระองค์เองจนกระทั่งถึงอายุที่เหมาะสม และกลุ่มพุงยัง โจ หวังว่าจะใช้อิทธิพลของตนผ่าน ลี ฮา-อึง ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อ ลี ม็อง-บก ขึ้นครองราชย์ ในไม่ช้าข่าวการสวรรคตของพระเจ้าช็อลจง ก็มาถึงหู ลี ฮา-อึง จากสายลับของตนอยู่ในวัง จากนั้น ลี ฮา-อึง และกลุ่มพุงยัง โจ ก็ได้เข้าครอบครองตราประทับของราชวงศ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ตามกฎหมายโดยชอบธรรม ถ้าผู้มีไว้ในครอบครองจะได้รับความชอบธรรมและการยอมรับจากกลุ่มชนชั้นสูง ซึ่งมีอำนาจอย่างเด็กขาดที่จะเลือกกษัตริย์พระองค์ต่อไป ในเวลาที่พระเจ้าช็อลจงสวรรคต ตราประทับอยู่กับพระนางซินจ็อง ทำให้อำนาจโดยชอบธรรมที่จะเลือกกษัตริย์องค์ต่อไปของพระนางซอริน และกลุ่มอันดง คิม หมดลง

ในวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1864 ลี มย็อง-บก ได้รับการสถาปนาเป็นองค์ชายอิ๊กซ็อง โดยพระนางซินจ็อง วันต่อมา ลี ฮา-อึง ได้รับการสถาปนาเป็น แทว็อนกุนฮึงซ็อน ต่อมาในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1864 องค์ชายอิ๊กซ็อง ได้ขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าโกจง และพระนางซินจ็อง ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดย ลี มย็อง-บก ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์ด้วยเหตุผลว่า "เป็นทายาทสืบหลายโลหิตของสกุลลี ที่ยังมีชีวิตอยู่และเหมาะสม ประกอบกับมีสายโลหิตใกล้ชิดกับราชวงศ์"

ในขณะที่พระเจ้าโกจงยังทรงพระเยาว์ พระนางซินจ็องได้เชิญให้แดว็อนกุนมาเป็นผู้ช่วยเหลือพระเจ้าโกจงบริหารราชการแผ่นดิน ต่อมาพระนางซินจ็องได้สละสิทธิที่จะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คงเหลือไว้แต่เพียงตำแหน่งเท่านั้น

สวรรคต

[แก้]

พระนางชอริน สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1878 ที่พระราชวังคย็องบก อาณาจักรโชซ็อน ทรงมีพระชนมายุเพียง 41 พรรษา พระศพถูกนำไปฝังที่สุสานหลวงราชวงศ์โชซ็อน สุสานซอซัมนัง พระราชสุสานเยลึง เคียงคู่กับพระเจ้าช็อลจง

วัฒนธรรมร่วมสมัย

[แก้]

2001; Empress Myeongseong (เมียงซอง จักรพรรดินีที่โลกลืม) แสดงโดย ยู ฮเย-ย็อง

2020; Mr.Queen (รักวุ่นวาย นายมเหสีหลงยุค) แสดงโดย ชิน ฮเย-ซ็อน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 조선왕조실록 고종실록 15권, 1878년 음력 9월 18일 6번째기사 (Annals of the Joseon Dynasty, Annals of King Gojong, vol. 15, 13 October 1878, entry 6)
  2. ปัจจุบันตั้งอยู่ที่แขวงฮโยจา เขตชงโน
  3. 조선왕조실록 고종실록 15권, 1878년 음력 5월 12일 3번째기사 (Annals of the Joseon Dynasty, Annals of King Gojong, vol. 15, 12 May 1878, entry 3)
  4. A childhood name, according to the Journal of the Royal Secretariat, book 2611, 01 March 1859, entry 13
  5. ในปฏิทินจันทรคติ พระนางเสด็จพระราชสมภพในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1837 และสวรรคตในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1878


ก่อนหน้า พระนางชอริน ถัดไป
พระนางฮโยจ็อง สมเด็จพระราชินีแห่งโชซอน
(ค.ศ. 1851 - 1863)
จักรพรรดินีมย็องซ็อง