ข้ามไปเนื้อหา

พระราชวัชรญาณดิลก (ปัญญา สทฺธายุตฺโต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชวัชรญาณดิลก

(ปัญญา สทฺธายุตฺโต)
Buddhism
ส่วนบุคคล
เกิด๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ (64 ปี)
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นตรี,ศน.ม.(กิตติมศักดิ์)
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดมกุฎคีรีวัน นครราชสีมา
อุปสมบท๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔
พรรษา33
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมกุฎคีรีวัน

พระราชวัชรญาณดิลก (ปัญญา สทฺธายุตฺโต) นามเดิมว่า ปัญญา ยาหอม เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมกุฎคีรีวัน (ธรรมยุต) ตำบลโป่งตาลอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และเจ้าคณะอำเภอปากช่อง ฝ่ายธรรมยุต จังหวัดนครราชสีมา

ประวัติ

[แก้]

ชาติกำเนิด

[แก้]

พระราชวัชรญาณดิลก (ปัญญา สทฺธายุตฺโต) นามเดิมว่า วินัย ยาหอม (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ปัญญา ยาหอม เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗) เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ ตรงกับวันศุกร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีชวด ที่แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ ร.ต.ต.จันทร์ ยาหอม และนางฟู ยาหอม ศึกษาที่โรงเรียนราชดำริ กรุงเทพมหานคร จนสำเร็จการศึกษาในระดับชั้น ม.ศ. ๓ ในวัยเยาว์ได้เคยเป็นศิษย์วัดใกล้บ้านที่บางนา ศึกษาหาความรู้จากครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในขณะนั้น ต่อมาหลังจากเข้ารับการเกณฑ์ทหารเพื่อไปรับใช้ชาติแล้ว ก็ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของพระญาณสิทธาจารย์ (สิงห์ สุนฺทโร) หรือหลวงปู่เมตตาหลวง ที่วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ได้ติดตามปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่เมตตาหลวงอยู่หลายปี เมื่อหลวงปู่เมตตาหลวงมรณภาพ

อุปสมบท

[แก้]

เมื่ออายุ ๓๑ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยมีสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมธัชมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระธรรมปาโมกข์ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชวราลังการ เป็นพระกรรมวาจารย์ ได้รับฉายาว่า สทฺธายุตฺโต และมาจำพรรษา ณ สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวัน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔

วิทยฐานะ

[แก้]

วิทยฐานะสายสามัญ

[แก้]

พ.ศ. 2516 - สำเร็จการศึกษาศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2518 - สำเร็จการศึกษาปริญญามหาบัณฑิต สาขาวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยพนารัสฮินดู ประเทศอินเดีย

วิทยฐานะพระปริยัติธรรม

[แก้]

ตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์

[แก้]

ลำดับสมณศักดิ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, ตอนที่ 15 ข, เล่ม 123, วันที่ 6 กรกฎาคม 2549, หน้า 11
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, ตอนที่ 38 ข, เล่ม 141, วันที่ 3 กรกฎาคม 2567, หน้า 8