พรรคแรงงานดอมินีกา
พรรคแรงงานดอมินีกา | |
---|---|
หัวหน้า | รูสเวลต์ สเกอร์ริต |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1955 |
อุดมการณ์ | ประชาธิปไตยสังคมนิยม กรรมกร |
จุดยืน | ฝ่ายซ้าย |
กลุ่มระดับสากล | COPPPAL |
ที่นั่ง | 19 / 21
|
เว็บไซต์ | |
www | |
การเมืองดอมินีกา รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคแรงงานดอมินีกา (อังกฤษ: Dominica Labour Party หรือ DLP) เป็นพรรคการเมืองประชาธิปไตยสังคมนิยมกึ่งฝ่ายซ้ายในประเทศดอมินีกา พรรคแรงงานดอมินีกาก่อตั้งขึ้นในปี 1955 โดย Phyllis Shand Allfrey และ Emmanuel Christopher Loblack เป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศดอมินีกา[1] การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในปี 1961 ได้ที่นั่ง 7 จาก 11 ที่นั่ง ในปี 1966 ได้ที่นั่งเกือบทั้งหมดเหลือเพียงที่นั่งเดียว แม้ว่าในปี 1970 จะลดลงเหลือ 8 ที่นั่ง แต่ก็ได้รับชัยชนะติดต่อกันเป็นครั้งที่ 4 ในการเลือกตั้งปี 1975 ได้ 16 ที่นั่งจากทั้งหมด 21 ที่นั่ง
ในปี 1980 พรรคได้รับความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ โดยสัดส่วนคะแนนเสียงลดลงจาก 50% เหลือ 17% และเสียที่นั่งทั้งหมดเมื่อพรรคเสรีภาพดอมินีกาชนะการเลือกตั้ง โดยได้ที่นั่งอีก 5 ที่นั่งในการเลือกตั้ง ปี 1985 แพ้หนึ่งที่นั่งในปี 1990 และได้รับหนึ่งที่นั่งในปี 1995
ในการเลือกตั้งปี 2000 พรรคได้รับอำนาจเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ค.ศ. 1975 โดยได้รับ 10 ที่นั่งจากทั้งหมด 21 ที่นั่ง และจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับ DFP หลังจากนั้น รูสเวลต์ "โรซี" ดักลาส ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2000 ดักลาสเสียชีวิตกระทันหันหลังจากดำรงตำแหน่งเพียงไม่กี่เดือน เมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2004 โดยปิแอร์ ชาร์ลส์ ก็ทำการเข้ารับตำแหน่งแทน ชาร์ลส์ซึ่งป่วยเป็นโรคหัวใจมาตั้งแต่ปี 2003 ก็เสียชีวิตเช่นกัน หลังจากการเสียชีวิตของปิแอร์ ชาร์ลส์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ออสบอร์น ริวิแยร์ ก็ทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ รูสเวลต์ สเกอร์ริต ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้นำพรรคและสาบานตนเป็นนายกรัฐมนตรี
ภายใต้การนำของรูสเวลต์ สเกอร์ริต พรรคได้รับ 12 ที่นั่งในการเลือกตั้งปี 2005 และยังคงดำรงตำแหน่งต่อ หลังการเลือกตั้งทั่วไป 2009 พรรคแรงงานดอมินีกาได้รับชัยชนะเป็นครั้งที่สามติดต่อกัน โดยได้ที่นั่ง 18 จาก 21 ที่นั่ง แม้ว่าฝ่ายค้านจะอ้างว่าการหาเสียงไม่เหมาะสมก็ตาม[2]
การเลือกตั้ง
[แก้]การเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง | คะแนนเสียง สัดส่วน |
จำนวนที่นั่ง | อันดับ ผลลัพธ์ |
---|---|---|---|---|
1961 | Edward Oliver LeBlanc | 7,848 47.5% |
7 / 11
|
อันดับ 1 รัฐบาลเสียงข้างมาก |
1966 | 11,735 65.0% |
10 / 11
|
อันดับ 1 รัฐบาลเสียงข้างมาก | |
1970 | 9,877 49.9% |
8 / 11
|
อันดับ 1 รัฐบาลเสียงข้างมาก | |
1975 | Patrick John | 10,523 49.3% |
16 / 21
|
อันดับ 1 รัฐบาลเสียงข้างมาก |
1980 | Oliver Seraphin | 5,326 16.8% |
0 / 21
|
อันดับ 3 นอกรัฐสภา |
1985 | Michael Douglas | 13,014 39.1% |
5 / 21
|
อันดับ 2 ฝ่ายค้าน |
1990 | 7,860 23.5% |
4 / 21
|
อันดับ 3 ฝ่ายค้าน | |
1995 | Rosie Douglas | 11,064 29.8% |
5 / 21
|
อันดับ 2 ฝ่ายค้าน |
2000 | 15,362 42.9% |
10 / 21
|
อันดับ 1 รัฐบาลผสม (พรรคเสรีภาพดอมินีกา) | |
2005 | รูสเวลต์ สเกอร์ริต | 19,741 52.07% |
12 / 21
|
อันดับ 1 รัฐบาลเสียงข้างมาก |
2009 | 22,262 61.34% |
18 / 21
|
อันดับ 1 รัฐบาลเสียงข้างมาก | |
2014 | 23,208 56.99% |
15 / 21
|
อันดับ 1 รัฐบาลเสียงข้างมาก | |
2019 | 23,643 59.01% |
18 / 21
|
อันดับ 1 รัฐบาลเสียงข้างมาก | |
2022 | 15,214 82.38% |
19 / 21
|
อันดับ 1 รัฐบาลเสียงข้างมาก |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nohlen, D (2005) Elections in the Americas: A data handbook, Volume I, p225 ISBN 978-0-19-928357-6
- ↑ "Dominica from U.S. State Department". www.state.gov. สืบค้นเมื่อ 10 September 2016.