ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:TPCheenmanee/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ห้ามคัดลอกข้อความใดๆจากกระบะทรายส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต


ตัวอักษรหัวเรื่อง

[แก้]
TPCheenmanee/กระบะทราย
ประเภทสาระเชิงข่าวสำหรับเยาวชน
สร้างโดยจีทีเอชออนแอร์ (25 ตุลาคม - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
ภาพดีทวีสุข (9 มกราคม พ.ศ. 2559 -ปัจจุบัน)
พิธีกรณภัทร โชคจินดาชัย
ชานน สันตินธรกุล
สาริษฐ์ ตรัยเลิศวิเชียร
ศนันธฉัตร ธนพัฒน์พิศาล
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดThree Day Blenders ของ Freeplay Music (25 ตุลาคม - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
The Edge ของ Freeplay Music (9 มกราคม พ.ศ. 2559 -ปัจจุบัน)
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
การผลิต
ความยาวตอน60 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายช่องวัน (25 ตุลาคม - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
จีเอ็มเอ็ม 25 (9 มกราคม พ.ศ. 2559 -ปัจจุบัน)
จีทีเอชออนแอร์ (25 ตุลาคม - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
ออกอากาศ25 ตุลาคม ค.ศ. 2015 (2015-10-25)


สำนักข่าวเยาวชน S.U.N Reports (School and University Network) เป็นรายการสาระเชิงข่าวสำหรับเยาวชนที่มีจุดเด่นหลัก คือ เปิดโอกาสให้นักเรียนและนักศึกษาส่งข่าวสารกิจกรรมของโรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ เข้ามานำเสนอผ่านรายการในลักษณะของสื่อพลเมือง (citizen journalism) ร่วมกับการนำเสนอข่าวสารที่เป็นที่สนใจและกระทบต่อชีวิตประจำวันของวัยรุ่น


เดิมนั้นรายการดังกล่าวผลิตโดยจีทีเอชออนแอร์ และออกอากาศในรูปแบบรายการสด ทุกวันอาทิตย์ เวลา 10:00-11:00 น. ทาง ช่องวัน และออกอากาศหลังจากรายการออกอากาศสด 2 ชั่วโมง ในเวลา 12:00-13:00 น. ทางจีทีเอชออนแอร์ โดยออกอากาศครั้งแรก ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2558 โดยผู้ประกาศข่าวคู่แรกของรายการ คือ ณภัทร โชคจินดาชัย และ ชานน สันตินธรกุล พร้อมกับมีการเปิดตัวรายการดังกล่าวในวันเดียวกัน ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร[1] โดยมีชื่อตั้งต้นของรายการนั้นว่า รอบรั้วสถาบัน by สำนักข่าว S.U.N.


ก่อนหน้านั้น จีทีเอชออนแอร์ได้จัดตั้งโครงการ สำนักข่าว S.U.N. (School and University Network) เปิดโอกาสให้นักเรียนและนักศึกษาส่งข่าวสารกิจกรรมของโรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ เข้ามานำเสนอผ่านรายการในลักษณะของสื่อพลเมือง (citizen journalism) โดยระยะแรกเสนอเป็นส่วนหนึ่งของรายการ แก๊งเม้นท์ ในวันพฤหัสบดี [2] ก่อนที่จะแยกไปเสนอเป็นรายการเอกเทศในปัจจุบัน


หลังจากที่จีทีเอชปิดตัวลงในช่วงปลายปี พ.ศ. 2558 รายการก็ยังคงออกอากาศมาจนถึงปัจจุบัน โดยถ่ายโอนการผลิตรายการให้บริษัท ภาพดีทวีสุข จำกัด เป็นผู้ผลิต และได้ย้ายการออกอากาศไปยังสถานี จีเอ็มเอ็ม 25 และเปลี่ยนวันออกอากาศเป็นวันเสาร์ เวลา 9:00-10:00 น. โดยยังคงออกอากาศสดตามเดิม (จนกระทั่งในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2559 ปรับเป็นการบันทึกเทปล่วงหน้า) พร้อมกับเปลี่ยนชื่อรายการใหม่เป็น สำนักข่าวเยาวชน S.U.N. REPORTS โดยกำหนดออกอากาศวันแรกวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559 ซึ่งตรงกับ วันเด็กแห่งชาติในปีนั้น [3] โดยยังคงใช้พิธีกรชุดเดิม โดยผู้ประกาศข่าวคู่แรกในชื่อรายการดังกล่าว คือ สาริษฐ์ ตรัยเลิศวิเชียร และ ศนันธฉัตร ธนพัฒน์พิศาล


รูปแบบรายการ

[แก้]
  • จะเป็นการนำเสนอข่าวสารกิจกรรมจากโรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ ซึ่งส่งมาจากนักเรียนและนักศึกษาทั่วประเทศ ในรูปแบบของ สื่อพลเมือง (citizen journalism) นอกจากนี้ยังมีรายงานข่าวภาคสนามโดยนักแสดงจาก ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น และดารานักแสดงที่ทำหน้าที่รายงานข่าวภาคสนามให้กับสถานศึกษานั้นๆ และมีการนำเสนอรายงานข่าวพิเศษที่นำเสนอข่าวสารที่เป็นที่สนใจและกระทบต่อชีวิตประจำวันของวัยรุ่น โดยบางครั้งในรายงานข่าวพิเศษมีการนำภาพบางช่วงบางตอนจากละครชุด ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น มาประกอบอีกด้วยในบางครั้ง รวมถึงมีรายงานพิเศษจากบริษัทต่างๆ มานำเสนอในรายการในรูปแบบของ Advertorial อีกด้วย
  • เมื่อปรับรูปแบบรายการใหม่ในวันที่ 9 มกราคม 2559 มีการปรับรูปแบบรายการเล็กน้อย เช่น แบ่งรายการออกเป็นแต่ละช่วง รวมถึงมีการเปิดโอกาสให้นักเรียนนักศึกษาเข้ามาแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ โดยผ่านการส่งคลิปวีดีโอผ่านหน้าเพจเฟซบุ๊กของรายการ และผ่านเว็บไซต์รายการอีกด้วย และมีการปรับรูปแบบอีกครั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ช่วงต่างๆของรายการ

[แก้]
  1. Students Topic (เปิดรายการ,นำเสนอประเด็นข่าวสำคัญที่เป็นที่สนใจและกระทบต่อชีวิตประจำวันของวัยรุ่น และรายงานพิเศษ (บางสัปดาห์)
  2. Students Clip (ข่าวสารจากสถานศึกษาต่างๆ ที่นักเรียน/นักศึกษา ส่งเข้ามานำเสนอในรายการ รวมถึงรายงานข่าวจากพิธีกรภาคสนาม)
  3. Students Comment (นำเสนอความคิดเห็นจากนักเรียน/นักศึกษาทั่วประเทศในประเด็นต่างๆที่รายการตั้งไว้ในแต่ละสัปดาห์ ในรูปคลิปวีดีโอที่ส่งเข้ามาผ่านหน้าเพจเฟซบุ๊กของรายการ และผ่านเว็บไซต์รายการ)
  4. Students Recommended (แนะนำนักเรียน/นักศึกษา ที่มีความสามารถโดดเด่นจากสถานศึกษาต่างๆ บางสัปดาห์เสนอโดยใช้ชื่อว่า "มีความเป็นช้างเผือก")
  5. Help Claudine Please (ละครสั้นสอดแทรกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ)
  6. Inter News,Students Highlights (ข่าวต่างประเทศภาคภาษาอังกฤษ และข่าวประชาสัมพันธ์ก่อนปิดรายการ)

ผู้ดำเนินรายการ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. [1], คำอธิบายเพิ่มเติม.
  2. [2], .
  3. โฆษณาประชาสัมพันธ์รายการ,