วันเด็กแห่งชาติ (ประเทศไทย)
วันเด็กแห่งชาติ | |
---|---|
วันเด็กแห่งชาติที่ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 11 มกราคม 2563 | |
จัดขึ้นโดย | รัฐบาลไทย |
ประเภท | วันเฉลิมฉลอง |
ความสำคัญ | ส่งเสริมให้ประชาชนคนเห็นความสำคัญของเด็ก ซึ่งจะเติบโตไปเป็นอนาคตของชาติ |
การเฉลิมฉลอง | ครอบครัวพาเด็กมาร่วมกิจกรรมที่หน่วยงานต่าง ๆ จัด |
การถือปฏิบัติ | การให้คำขวัญ |
วันที่ | วันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม |
วันที่ในปี พ.ศ. 2566 | 14 มกราคม |
วันที่ในปี พ.ศ. 2567 | 13 มกราคม |
วันที่ในปี พ.ศ. 2568 | 11 มกราคม |
วันที่ในปี พ.ศ. 2569 | 10 มกราคม |
ความถี่ | ทุกปี |
ครั้งแรก | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 |
ริเริ่มโดย | วี เอ็ม กุลกานี |
ส่วนเกี่ยวข้อง | วันเยาวชนแห่งชาติ วันครอบครัว วันแม่แห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ วันผู้สูงอายุแห่งชาติ |
วันเด็กแห่งชาติ ของประเทศไทย ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่ไม่ได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดย เริ่มต้นจัดงานวันเด็กครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 โดยได้กำหนดให้เป็นวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม เป็นวันเด็กแห่งชาติ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2507 ได้มีมติเปลี่ยนแปลงเป็นวันเด็กแห่งชาติมาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม โดยเริ่มจัดงานวันเด็กในปี พ.ศ. 2508
การจัดงานวันเด็ก
[แก้]ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ปี พ.ศ. 2498 อันเป็นปีที่ทั่วโลกเริ่มจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติกันขึ้น ซึ่งจะเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ตามความเห็นคล้อยตามกับองค์การสหประชาชาติที่นำปัญหาเรื่องเด็กมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของเด็ก
ประเทศไทยได้รับข้อเสนอของ วี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ว่า ประเทศไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่
ขณะนั้น สภาวัฒนธรรมแห่งชาติยังมิได้ถูกยุบเลิกไป คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณา ในที่สุดที่ประชุมได้เห็นชอบนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีรับหลักการ ให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการรับไปดำเนินการ ส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดงานนั้น ได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ
ดังนั้น ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ประเทศไทยจึงมีงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมา ทางราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ และจัดติดต่อกันมาจนถึงปี พ.ศ. 2507 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่เพื่อความเหมาะสม ด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคม ประเทศไทยยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็กไม่สะดวกในการมาร่วมงาน ประการต่อมาก็คือ วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ตลอดจนการจราจรก็ติดขัด อีกทั้งการที่กำหนดให้วันเด็กต้องจัดในช่วงต้นปี มีความหมายว่า ทุกภาคส่วนของประเทศจะต้องให้ความสำคัญกับเด็กเป็นอันดับแรก ๆ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสนอ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ. 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว
งานวันเด็กแห่งชาติจึงได้เริ่มจัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2508 โดยมีคำขวัญวันเด็กในปีนั้นว่า "เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี"และจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
คำขวัญวันเด็ก
[แก้]คำขวัญวันเด็ก เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มอบคำขวัญวันเด็กให้ จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
วันที่ | นายกรัฐมนตรี | คำขวัญ | อ้างอิง |
---|---|---|---|
1 ต.ค. 2499 | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม | จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม | [1] |
5 ต.ค. 2502 | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า | |
3 ต.ค. 2503 | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด | ||
2 ต.ค. 2504 | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย | ||
1 ต.ค. 2505 | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด | ||
7 ต.ค. 2506 | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด | ||
9 ม.ค. 2508 | จอมพล ถนอม กิตติขจร | เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี | |
8 ม.ค. 2509 | เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น สมานสามัคคี | ||
14 ม.ค. 2510 | อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรง เรียนดี มีความประพฤติเรียบร้อย | ||
13 ม.ค. 2511 | ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย มีความเฉลียวฉลาด รักชาติยิ่ง | ||
11 ม.ค. 2512 | รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ | ||
10 ม.ค. 2513 | เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส | ||
9 ม.ค. 2514 | ยามเด็กจงหมั่นเรียนเพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ | ||
8 ม.ค. 2515 | เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ | ||
13 ม.ค. 2516 | เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ | ||
12 ม.ค. 2517 | สัญญา ธรรมศักดิ์ | สามัคคีคือพลัง | |
11 ม.ค. 2518 | เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี | ||
10 ม.ค. 2519 | ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช | เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดีมีวินัยเสียแต่บัดนี้ | |
8 ม.ค. 2520 | ธานินทร์ กรัยวิเชียร | รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย | |
14 ม.ค. 2521 | พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง | |
13 ม.ค. 2522 | เด็กไทยคือหัวใจของชาติ | ||
12 ม.ค. 2523 | อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย | ||
10 ม.ค. 2524 | พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ | เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม | |
9 ม.ค. 2525 | ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย | ||
8 ม.ค. 2526 | รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัย คุณธรรม | ||
14 ม.ค. 2527 | รักวัฒนธรรมไทย | ||
12 ม.ค. 2528 | สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม | ||
11 ม.ค. 2529 | นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม | ||
10 ม.ค. 2530 | |||
9 ม.ค. 2531 | |||
14 ม.ค. 2532 | พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ | รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม | |
13 ม.ค. 2533 | |||
12 ม.ค. 2534 | รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา | ||
11 ม.ค. 2535 | อานันท์ ปันยารชุน | สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม | |
9 ม.ค. 2536 | ชวน หลีกภัย | ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม | |
8 ม.ค. 2537 | |||
14 ม.ค. 2538 | สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม | ||
13 ม.ค. 2539 | บรรหาร ศิลปอาชา | มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด | |
11 ม.ค. 2540 | พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ | รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด | |
10 ม.ค. 2541 | ชวน หลีกภัย | ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย | |
9 ม.ค. 2542 | |||
8 ม.ค. 2543 | มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย | ||
13 ม.ค. 2544 | |||
12 ม.ค. 2545 | ทักษิณ ชินวัตร | เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส | [2] |
11 ม.ค. 2546 | เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี | ||
10 ม.ค. 2547 | รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดี ๆ อนาคตดีแน่นอน | ||
8 ม.ค. 2548 | เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด | ||
14 ม.ค. 2549 | อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด | ||
13 ม.ค. 2550 | พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ | มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข | [1] |
12 ม.ค. 2551 | สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม | ||
10 ม.ค. 2552 | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี | |
9 ม.ค. 2553 | คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม | ||
8 ม.ค. 2554 | รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ | ||
14 ม.ค. 2555 | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร | สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี | [2] |
12 ม.ค. 2556 | รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน | [3] | |
11 ม.ค. 2557 | กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทยให้มั่นคง | [4] | |
10 ม.ค. 2558 | พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา | ความรู้ คู่คุณธรรม นำสู่อนาคต | [1] |
9 ม.ค. 2559 | เด็กดี หมั่นเพียร เรียนรู้ สู่อนาคต | ||
14 ม.ค. 2560 | เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง | ||
13 ม.ค. 2561 | รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี | ||
12 ม.ค. 2562 | เด็ก เยาวชน จิตอาสา ร่วมพัฒนาชาติ | ||
11 ม.ค. 2563 | เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย | [5] | |
9 ม.ค. 2564 | เด็กไทยวิถีใหม่ รวมไทยสร้างชาติ ด้วยภักดีมีคุณธรรม | [6] | |
8 ม.ค. 2565 | รู้คิด รอบคอบ รับผิดชอบต่อสังคม | [7] | |
14 ม.ค. 2566 | รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่ความดี | [1] | |
13 ม.ค. 2567 | เศรษฐา ทวีสิน | มองโลกกว้าง คิดสร้างสรรค์ เคารพความแตกต่าง ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย | [8] |
11 ม.ค. 2568 | แพทองธาร ชินวัตร | ทุกโอกาส คือ การเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง | [9] |
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]วันเด็กแห่งชาติ ปี 2567 กรมอนามัยแนะนำให้มีมาตรการป้องกันฝุ่น PM 2.5 ที่อาจกระทบต่อสุขภาพของเด็ก[10] เนื่องจากหลายพื้นที่รวมถึง กทม. ยังมีฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "คำขวัญวันเด็กปี 2566 และคำขวัญวันเด็กแห่งชาติปีต่างๆ". สนุก. กรุงเทพฯ: เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย). 2022-12-27. สืบค้นเมื่อ 2023-01-02.
- ↑ 2.0 2.1 isranews (2011-12-22). "คำขวัญวันเด็ก'สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี'". สำนักข่าวอิศรา. กรุงเทพฯ: สำนักข่าวอิศรา. สืบค้นเมื่อ 2021-12-22.
- ↑ ""รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน" คำขวัญวันเด็กปี 56 จากนายกฯ ปู". ผู้จัดการออนไลน์. กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ. 2012-12-13. สืบค้นเมื่อ 2021-12-22.
- ↑ "คำขวัญวันเด็กปี 57 "กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทยให้มั่นคง"". ประชาไท. กรุงเทพฯ: ประชาไท. 2013-12-17. สืบค้นเมื่อ 2021-12-22.
- ↑ "นายกฯมอบคำขวัญวันเด็กปี'63 'เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย'". มติชน. กรุงเทพฯ: มติชน. 2019-12-13. สืบค้นเมื่อ 2021-12-22.
- ↑ "'เด็กไทยวิถีใหม่ รวมไทยสร้างชาติ ด้วยภักดีมีคุณธรรม' คำขวัญวันเด็กประจำปี 2564 ปีที่ 7 ของนายกฯ ประยุทธ์". The Matter. กรุงเทพฯ: The Matter. 2020-12-09. สืบค้นเมื่อ 2021-12-22.
- ↑ ""บิ๊กตู่" มอบคำขวัญวันเด็ก ปี 2565 "รู้คิด รอบคอบ รับผิดชอบต่อสังคม"". ไทยรัฐ. กรุงเทพฯ: วัชรพล. 2021-12-21. สืบค้นเมื่อ 2021-12-22.
- ↑ "นายกฯ มอบคำขวัญวันเด็ก 'มองโลกกว้าง คิดสร้างสรรค์ เคารพความแตกต่าง ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย'". มติชน. 28 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'แพทองธาร' มอบคำขวัญวันเด็ก68 ทุกโอกาสเรียนรู้ ปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง". กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "กรมอนามัย หวั่น ค่าฝุ่นวันเด็กสูงกระทบสุขภาพ แนะ ผู้ปกครอง ให้เด็กสวมหน้ากากป้องกัน". กรมอนามัย. 12 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "PM 2.5 กทม.แนวโน้มพุ่ง". thansettakij. 13 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Karoonp Chetpayark (2018-01-12). "ผู้ใหญ่อยากปลูกฝังอะไรเด็กไทย? วิเคราะห์คำขวัญวันเด็กผ่านการเมืองไทยแต่ละยุคสมัย". The Matter. กรุงเทพฯ: The Matter. สืบค้นเมื่อ 2021-12-22.
- Tomorn Sookprecha (2020-12-11). "เด็กวิถีใหม่ = ภักดี + มีคุณธรรม : วิถีใหม่นั้น ใหม่ของใคร?". The Matter. กรุงเทพฯ: The Matter. สืบค้นเมื่อ 2021-12-22.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ วันเด็กแห่งชาติ (ประเทศไทย)