ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Sunday2544ss/พันธมิตรชานม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พันธมิตรชานม (Milk Tea Alliance)
ชื่อย่อพันธมิตรชานม MTA
ก่อตั้งเมษายน 10 เมษายน พ.ศ. 2563 (4 ปี)[1]
วัตถุประสงค์
หัวหน้าไทย ชาวไทย [5]
สังกัดสาธารณรัฐจีน ชาวไต้หวัน [5]

ฮ่องกง ชาวฮ่องกง [5]

อินเดีย ชาวอินเดีย [6]

พันธมิตรชานม หรือที่เรียกในต่างประเทศว่า Milk Tea Alliance เป็นขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยผ่านทางออนไลน์ร่วมกัน ประกอบด้วยผู้ใช้อิเทอร์เน็ตจากฮ่องกง ไต้หวัน และไทย[7][8] เดิมเริ่มต้นจากการทำมีมทางอินเทอร์เน็ตล้อเลียนเกิดขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการปรากฏตัวของบัญชีผู้ใช้ผ่านเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) ของกลุ่มเกรียนในประเทศจีนและนักวิจารณ์ชาตินิยมบนโซเชียลมีเดียที่เพิ่มขึ้น[9][10] และได้พัฒนาไปสู่การเคลื่อนไหวประท้วงข้ามชาติที่มีพลวัตเพื่อผลักดันประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เบื้องหลัง

[แก้]
ภาพจากแหล่งข้อมูลภายนอก
image icon พันธมิตรชานม Milk Tea Alliance memes published จากเพจเฟสบุ๊ค "奶茶通俗學 Milktealogy"[11]

ระหว่างปี 2562-2563 การประท้วงในฮ่องกงซึ่งต่อต้านการกดขี่ของจีน พร้อมกับไต้หวัน ซึ่งอยู่ภายใต้การบีบบังคับทางทหารและเศรษฐกิจ ได้ร่วมมือกับกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยของไทย ผู้ใช้แพลตฟอร์ม Twitter จากฮ่องกงและไต้หวันเข้าร่วมกับผู้ใช้ชาวไทยและการวิพากษ์วิจารณ์จีนกลายเป็นการต่อต้านเผด็จการ [12][13][14]

ในเดือนเมษายนปี 2563 วชิรวิชญ์ ชีวอารี โพสต์ภาพบนทวิตเตอร์อย่างผิดพลาดโดยบรรยายว่าฮ่องกงเป็น "ประเทศ" หลังจากที่นักวิจารณ์ทางอินเทอร์เน็ตชาวจีนโจมตีเขา ไบรท์ขอโทษและเอารูปไปลง แต่ชาวเน็ตจีนค้นพบโพสต์ของแฟนสาวของเขาบนไอจี New Weeraya Sukaram เมื่อปี 2560 ที่ระบุว่าไต้หวันเป็นประเทศเอกราช จึงทำให้การโจมตีทวีคูณขึ้น [15] เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2563 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ GMMTV ซึ่งเขามีพรสวรรค์ได้ส่งทนายความไปยังหน่วยงานอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเพื่อยื่นฟ้องผู้ใช้โซเชียลมีเดียที่ถูกกล่าวหาว่าเผยแพร่ข้อความที่เป็นอันตรายเกี่ยวกับเขา [16]

Pallabi Munsi เขียนในสื่อต่างประเทศ OZY อธิบายว่าพันธมิตรชานมได้พูดถึง 50 Cent Party”(วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ) หรือเปรียบเป็นพรรค 50 เซ็นต์ (สกุลเงิน) ที่อ้างว่ามาจากการจ้างจากทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อพยายามบิดเบือนความคิดเห็นของประชาชนเพื่อประโยชน์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และ Little Pink (วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ) ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายกลุ่มวัยรุ่นจีนที่คลั่งไคล้อินเทอร์เน็ตว่าในฐานะ "กองทัพอาสาสมัครของเอเชียที่ลุกขึ้นต่อสู้กับกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในจีน"[17]

เพจเฟสบุ๊กของสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย โพสต์ข้อความประณามกระแสวิพากษ์วิจารณ์บนโลกออนไลน์และการต่อสู้ทางดิจิทัลที่ดุเดือดระหว่างชาวเน็ตไทยและสถานทูตจีน  ชาวเน็ตไทยใช้โซเชียลมีเดียตอบโต้และปกป้องไบรท์ วชิรวิชญ์ โดยคำวิจารณ์ของพวกเขากลายเป็นการวิจารณ์ที่แพร่หลายมากขึ้น และเปิดประเด็นปัญหาทางการเมืองจีนเปิดกลายเป็นสงครามข้อความบนทวิตเตอร์ด้วยแฮชแท็ก ผู้สนับสนุนแนวคิดนี้ในประเทศไทยเห็นด้วยกับการรณรงค์เรียกร้องสำหรับการต่อสู้ของฮ่องกงและไต้หวันต่อการรุกรานของจีน ทำให้กลุ่มผู้ประท้วงประชาธิปไตยที่ออกมาต่อต้านในประเด็นข้างต้นมีความรู้สึกต่อต้านปักกิ่งร่วมด้วย กลายเป็นส่วนหนึ่งของเวทีต่อต้านเผด็จการของขบวนการพันธมิตรชานม[18]

ผู้ใช้ทวิตเตอร์ในไต้หวันและฮ่องกงได้เข้าร่วมกับผู้ใช้ชาวไทยและสื่อสารกันในข้อความลักษณะ “ช่วงเวลาแห่งความเป็นปึกแผ่นในระดับภูมิภาคที่หาได้ยาก.[19]

ลำดับเหตุการณ์

[แก้]
แผนที่ของ "พันธมิตรชานม หรือ Milk Tea Alliance" (สีแดงอ่อนแสดงพลเมืองชาวอินเดียที่เข้าร่วมพันธมิตรในบางสถานการณ์)

ในเดือนต่อมากลุ่ม Milk Tea Alliance ได้พัฒนาจากการต่อต้านชาวปักกิ่งเป็น "ขบวนการประท้วงที่ไม่มีผู้นำที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”[20]

  • หลังการเกิดเหตุการณ์การต่อสู้อย่างประปรายจีน–อินเดีย พ.ศ. 2563 อินเดียยังถูกรวมอยู่ในกลุ่มพันธมิตรนี้ โดยมีมสาลาจาย ชาใส่เครื่องเทศที่มีชาและนมเป็นส่วนประกอบ เป็นสัญลักษณ์เข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรชานมที่หลากหลาย[21] [22]
  • หลังจากที่ออสเตรเลียเรียกร้องให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับการจัดการไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ที่ไม่เรียบร้อยขององค์การอนามัยโลก จีนขู่ว่าจะคว่ำบาตรผู้บริโภคหากออสเตรเลียไม่ยอมถอยจากข้อเรียกร้องในการไต่สวน[23] จากนั้นชาวอินเทร์เน็ตได้รวมออสเตรเลียเป็นสมาชิกของ Milk Tea Alliance แต่ความสัมพันธ์กับชานมนั้นมีความสำคัญเพียงเล็กน้อยกับผลิตภัณฑ์นม Aptamil ที่ยืนอยู่ในชานมที่อยู่ในภาพแห่งความหลายหลาย[24]
  • ในเดือนสิงหาคม 2563 ได้มีการประท้วงต่อต้านประชาธิปไตยในประเทศไทยอีกครั้งซึ่งเป็นการประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่มี รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 โดยได้รับการสนับสนุนและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจากชาวไต้หวันและฮ่องกงเช่นโจชัวหว่อง  แฮชแท็ก #MilkTeaAlliance ถูกใช้อย่างหนักโดยผู้ประท้วง .[25] ด้านชาวไทยโพสต์ข้อความพร้อมติดแฮชแท็ก #MilkTeaAlliance และ #save12hkyouths ในเวลาเวลา 16.00 น. เพื่อกดดันรัฐบาลจีนและฮ่องกงปล่อยตัวเยาวชน 12 คนที่จีนจับตัวอยู่ให้กลับฮ่องกงโดยสวัสดิภาพ[26]
  • การประท้วงในประเทศเบลารุส พ.ศ. 2563 เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคมหลังจากฝ่ายค้านและหน่วยตรวจสอบระหว่างประเทศกล่าวว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีในประเทศนี้ไม่ใช่การเลือกตั้งที่ยุติธรรม นักเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ตบางคนจากเอเชียเริ่มรวม “Ryazhenka”(วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ) ซึ่งเป็นเครื่องดื่มนมหมักแบบดั้งเดิมของเบลารุส,รัสเซียและยูเครน เป็นสัญลักษณ์อยู่ในกลุ่มพันธมิตรชานม เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งสำหรับชาวเบลารุสในการต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโค ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสหภาพระหว่างรัสเซียและเบลารุส [27]

ที่มาของชื่อ

[แก้]

ชานมถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านความเป็นปึกแผ่นของจีนตามนโยบายจีนเดียวจากชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากในหลายประเทศในแถบนี้ ในอดีตมีการบริโภคชากับนม ขณะที่ประเทศจีนไม่มีการบริโภคชากับนมในรูปแบบคล้ายคลึงกัน[28] โดยเครื่องดื่มชานมนี้มี ชานมไข่มุกจากประเทศไต้หวัน ชานมฮ่องกง (ไหนฉ่า)จากฮ่องกง และชาเย็นจากประเทศไทยล้วนแล้วแต่เป็นชานมในท้องถิ่นที่มีความคล้ายคลึงกัน

ดูเพิ่ม

[แก้]
  1. [1]
  2. ชานมข้นกว่าเลือด : ประจักษ์ ก้องกีรติ มอง พันธมิตรชานม ปะทะ “สลิ่มจีน” ใน “ศึกทวิตภพข้ามพรมแดน”
  3. ‘พันธมิตรชานม’ สงครามตัวแทนการเมืองไทยบนทวิตภพ
  4. ‘พันธมิตรชานม’ฮ่องกงแรงบันดาลใจผู้ชุมนุมไทย
  5. 5.0 5.1 5.2 ชานมข้นกว่าเลือด : ประจักษ์ ก้องกีรติ มอง พันธมิตรชานม ปะทะ “สลิ่มจีน” ใน “ศึกทวิตภพข้ามพรมแดน”
  6. เพื่อประชาธิปไตย! อินเดียเข้าร่วมพันธมิตรชานมไทย-ไต้หวัน”
  7. Tanakasempipat, Patpicha. "Young Thais join 'Milk Tea Alliance' in online backlash that angers Beijing". mobile.reuters.com. Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 April 2020.
  8. Bunyavejchewin, Poowin. "Will the 'Milk Tea War' Have a Lasting Impact on China-Thailand Relations?". thediplomat.com. The Diplomat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2020. สืบค้นเมื่อ 4 May 2020.
  9. McDevitt, Dan. "'In Milk Tea We Trust': How a Thai-Chinese Meme War Led to a New (Online) Pan-Asia Alliance". thediplomat.com. The Diplomat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2020. สืบค้นเมื่อ 18 April 2020.
  10. Lau, Jessie. "Why the Taiwanese are thinking more about their identity". www.newstatesman.com. New Statesman. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2020. สืบค้นเมื่อ 15 May 2020.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ standnews-2020-04-16
  12. "Young Thais join 'Milk Tea Alliance' in online backlash that angers Beijing | Reuters". web.archive.org. 2020-10-26.
  13. "How the Milk Tea Alliance Is Uniting Pro-Democracy Activists". Time (ภาษาอังกฤษ). 2020-10-29. สืบค้นเมื่อ 2023-07-28.
  14. Chen, Heather (2020-08-18). "Milk Tea Alliance: How A Meme Brought Activists From Taiwan, Hong Kong, and Thailand Together". Vice (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-28.
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Vice 2020
  16. GMM files reports vs fans spreading malicious comments against their artists
  17. Munsi, Pallabi (2020-07-15). "The Asian Volunteer Army Rising Against China's Internet Trolls". OZY. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-29. สืบค้นเมื่อ 2020-07-30.
  18. #nnevvy จากดราม่าแฟนคลับสู่กระแสต่อต้านจีน ทำไมสงครามโซเชียลครั้งนี้จึงลุกลามระดับโลก the standard. 15 เมษายน 2563.สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563
  19. Smith, Nicola (3 May 2020). "#MilkTeaAlliance: New Asian youth movement battles Chinese trolls". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  20. Chen, Heather. "Milk Tea Alliance: How A Meme Brought Activists From Taiwan, Hong Kong, and Thailand Together". www.vice.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  21. Deol, Taran. "'We conquer, we kill': Taiwan cartoon showing Lord Rama slay Chinese dragon goes viral". theprint.in. The Print. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2020. สืบค้นเมื่อ 18 June 2020.
  22. เพื่อประชาธิปไตย! อินเดียเข้าร่วมพันธมิตรชานมไทย-ไต้หวัน 14 ตุลาคม 2563.ค้นหาเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563
  23. เปิดสาเหตุ ออสเตรเลียงัดข้อจีน กับความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไป ไทยรัฐ. 11 กันยายน 2563.สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563
  24. Everington, Keoni. "Photo of the Day: Australia joins Milk Tea Alliance with Taiwan". www.taiwannews.com.tw. Taiwan News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2020. สืบค้นเมื่อ 30 April 2020.
  25. Patpicha, Tanakasempipat; Chow, Yanni. "Pro-Democracy Milk Tea Alliance Brews in Asia". www.usnews.com. US News and World Report. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  26. พันธมิตรชานม ติดแท็ก #save12hkyouths กดดัน จีน ปล่อยเยาวชนฮ่องกง. 19 ตุลาคม 2563.สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563
  27. From Thailand to Belarus, Hong Kong’s spirit of resistance is nurturing grassroots protests elsewhere 22 ตุลาคม 2563.สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563
  28. Deol, Taran. "'We conquer, we kill': Taiwan cartoon showing Lord Rama slay Chinese dragon goes viral". theprint.in. The Print. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2020. สืบค้นเมื่อ 18 June 2020.