ผู้ใช้:Stirz117/รายชื่อยิงเป้านอกราชทัณฑ์
นี่คือรายชื่อของบุคคลที่ถูกประหารชีวิตในประเทศไทยโดยมิใช่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ซึ่งการประหารชีวิตรูปแบบดังกล่าวจะเกิดขึ้นเฉพาะช่วงการบังคับใช้มาตรา 17 ในรัฐบาลของจอมพลสลิด(เดี๋ยวแก้) กับถนอม การประหารชีวิตจะเกิดในที่สาธารณะ และใช้เพชฌฆาตเป็นทหารหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งจะดำเนินการในท้องที่เกิดเหตุ โดยการประหารชีวิตในที่สาธารณะรูปแบบดังกล่าวต่างจากการยิงเป้า เช่นการเพชฌฆาตมากกว่า 1 คน, นำผู้ต้องหาหันเข้าหาหลักประหารหรือหันออกจากหลักประหาร, อนุญาตให้ประชาชนทั่วไปร่วมสังเกตการณ์และรับฟังคำสั่งให้ประหารชีวิตก่อนยิง และใช้พื้นที่โล่งแจ้งในการประหารชีวิต ซึ่ง
ในยุคของจอมพลสฤษดิ์มีผู้ถูกประหารชีวิตในที่สาธารณะจำนวนทั้งหมด 8 คน โดยแบ่งเป็นคดีวางเพลิง 5 คน, กบฎผีบุญ 1 คน และคอมมิวนิสต์อีก 2 คน ซึ่งการประหารชีวิตโดยอำนาจมาตรา 17 ในยุคของจอมพลสฤษดิ์ตำรวจใช้เวลาสอบสวนไม่นานหรือในบางคดีจอมพลสฤษดิ์เดินทางมาสอบสวนด้วยตัวเอง
บุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตในที่สาธารณะโดยมิใช่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์คือนายซ้ง แซ่ลิ้ม ผู้จ้างวานนายพิมพ์ ทองขาว วางเพลิงในย่านตลาดพลู หลังจากที่จอมพลสลิดถึงแก่อสัญกรรม จอมพลถนอมได้ใช้อำนาจมาตรา 17 ต่อจากจอมพลสฤษดิ์ โดยจอมพลถนอมได้ใช้อำนาจมาตรา 17 สั่งประหารชีวิตโจรปล้นตลาดท่าเรือจำนวน 6 คน ในที่สาธารณะ การประหารชีวิตตามอำนาจมาตรา 17 ซึ่งเป็นการประหารชีวิตในที่สาธารณะครั้งเดียวในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีของจอมพลถนอมระหว่างปีพ.ศ. 2506 - 2512 ต่อมาในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จอมพลถนอมกิติขจรได้ทำรัฐประหารตนเองและมีการประกาศใช้กฏอัยการศึกทั้งราชอาณาจักร และนำอำนาจมาตรา 17 กลับมาบังคับใช้อีกครั้ง โดยบุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตหลังจากการนำมาตรา 17 กลับมาบังคับใช้คือ นายสมศักดิ์ ขวัญแก้ว อายุ 28 ปี ผู้ก่อเหตุฆาตกรรมนายทหารอากาศชาวสหรัฐ โดยถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2514 สำหรับคดีที่ถูกประหารชีวิตในที่สาธารณะหลังจากการรัฐประหารตนเองของจอมพลถนอมส่วนใหญ่จะเป็นคดีปล้นฆ่าหรือฆ่าข่มขืน ซึ่งบุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตในที่สาธารณะคือนายดัด ภูมิภาค อายุ 22 ปี ผู้ก่อเหตุสังหารหมู่ด้วยระเบิดมือที่งานวัดสระบัว โดยเขาถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ซึ่งหลังจากการประหารชีวิตดัดไม่ได้มีการประหารชีวิตที่เกิดขึ้นโดยมิใช่เพชฌฆาตเรือนจำอีก
รายชือ
[แก้]ซ้ง แซ่ลิ้ม ไม่ทราบอายุ ข้อหาวางเพลิง จ้างวานนายพิมพ์ ทองขาว วางเพลิงร้านรองเท้าของตนเองที่ตลาดบางยี่เรือ เพื่อหวังเงินประกัน โดยมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 2,694,310 บาท สถานที่ประหารริมกำแพงหอสมุดแห่งชาติ สนามหลวง บริเวณกำแพงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 7 พ.ย. 01 จ้างวานวางเพลิงที่ตำบลบางยี่เรือ
ซิ่วหยิ่น แซ่ฉิ่น และจำนงค์ แซ่ฉิ่น ไม่ทราบอายุ วางเพลิงที่ตำบลบางยี่เรือ ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าที่อินทาราม9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501
ฮ่อนฉิ่น แซ่ฉิ่น วางเพลิงโรงเลื่อยจักรบ้วนเฮงหลง โดยมีมูลค่าควาทเสียหายประมาณ 14 ล้านบาท ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่วัดดอน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501
อึ้ง ศิลปงาม วางเพลิงที่ตลาดท่าช้าง ประหารที่เดิมนางบวช วันที่ 20 ธันวาคม 2501
ศิลา วงศ์สิน หรือ ลาด ละคร ผู้นำการสังหารเจ้าหน้าที่รัฐ 5 นาย ที่บ้านใหม่ไทยเจริญ อำเภอโชคชัย เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2502
ครอง จันดาวงศ์ (54) ทองพันธ์ สุธิมาศ ประหารที่สนามบินลับเสรีไทย จังหวัดสกลนคร
ใบ กุลแพ,สมบุญ มากฤทธิ์, ทวี เฉลิมสมัย, บุญเลิศ ปรอดเกิด, มะลิ คาลามานนท์และน้อย เจริญสุข ร่วมกับพวกรวม 17 คนก่อเหตุปล้นตลาดท่าเรือเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2508 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน ประหารที่สนามหน้าโรงเรียนท่าเรือนิตยานุกุล บริเวณรั้วโรงเรียนส่วนที่ติดกับทางรถไฟ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2509
สมศักดิ์ ขวัญแก้ว ฆ่าชิงทรัพย์นาวาอากาศโท แฮร์รี เอ็ม. ฟังก์ อายุ 40 ปี ที่ริมถนนสุขุมวิท อำเภอสัตหีบ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ประหารที่เขาตะแบก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2514
แขก พรมสา อายุ 21 และ เดช สุธี อายุ22 ปี ปล้นฆ่า 17 เมษายน
บุญช่วย ไซยปะ ประเสริฐ ขันทะยา สมศักดิ์ แซ่ฉั่ว ค้าอาวุธ 6 มิถุนายน
อำนวย ศรีชม 18 ข่มขืนและฆ่าเด็กที่เพชรบูรณ์ ประหาร 16 มิถุนายน
สมชาย ธรรมวัฒนะ 20 ปี ข่มขืนฆ่าเด็กที่ลพบุนี ประหาร4 กรกฎาคม
ประเสริฐ ฉายประสาท และอุทัย มะละมาท ปล้นฆ่ายัดตุ่ม ที่สมเด็จประหาร13 กรกฎาคม
นิคม ชัยนนที ข่มขืนเด็กแล้วฆ่าที่แพร่ 8 สิงหา
เล็ก ตุ้มบัวทอง ข่มขืนหลานแล้วฆ่าที่บ้าวแพ้ว 8 สิงหา
สมใจ กลิ่นบุหงา ข่มขืนเด็กแล้วฆ่าที่นางรอง 8 สิงหา
ร่าเหม หมาดชาย ข่มขืนแม่เด็กแล้วฆ่า กับฆ่าลูกชายวัย 1 ปี ที่คลองท่อมกระบี่ 23 สิงหาคม
ตี๋ วันดี และ สัน ห้วยใหญ่ ข่มขืนและฆ่าเด็กที่นาจอมเทียน ประหารที่เชิฃเขาบรรพตคีรี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม
ทอง อ้อจันทึก และจีระ ยาจันทึก ปล้นฆ่า ยิงเป้า 1 ตุลาคม ที่ด่านขุนทด
พิชาญ กำแหง และสุธน ทองศิริ ข่มขืนครูเทคนิค ฆ่าแฟนหนุ่ม ที่หาดสมิทลา ยิงเป้า 19 ตุลาคม
ฉลอง คำดี ก่อเหตุแทงพลเมืองดีจนเสียขีวิตเพื่อหลบหนีการจับกุมจากพลเมืองดีระหว่างที่พลเมืองดีนำตัวส่งสถานีตำรวจ ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2515
ประมวล ฤาษี แหกคุกกบินทร์บุรีและปล้นฆ่า ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่อำเภออรัญประเทศ เมื่อวันที 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515
ขุนศึก ภูจิตร อายุ 22 ปี ปล้นฆ่า ยิงเป้ามหาสารคาม 7 ธันวาคม (ยังไม่ได้ค้น)
ประพันธ์ จันทร์เชย ฆ่าข่มขืนเมีย ยิงเป้าที่พิษณุโลก(ยังไม่ค้น) วันเดียวกับขุนศึก
ดัด ภูมิลา 22 ขว้างระเบิดสังหารหมู่ 9 ศพ ยิงเป้า 1 ธันวาคม (รายสุดท้าย)
เรือน หอยบาง 34 ยิงจรัล กาลลา นักข่าวประจำจังหวัดตรัง
รายที่ยังไม่ยืนยัน
[แก้]ขุนศึก ภูจิตร ปล้นฆ่า ยิงเป้ามหาสารคาม 7 ธันวาคม (ยังไม่ได้ค้น)
ประพันธ์ จันทร์เชย ฆ่าข่มขืนเมีย ยิงเป้าที่พิษณุโลก(ยังไม่ค้น) ไม่ทราบวัน ขุนศึกถูกยิงเป้า แต่ประพันธ์ไ
สองรายนี้เจอในหนังสือพลิกแฟ้มคดีดัง ตัวขุนศึกมีรายงานจริง เดาว่าน่าไทยเดลี่หรือไม่ก็เดลินิวส์ แต่ประพันธ์ยังไม่ได้ค้น ซึ่งน่าจะค้นได้ในเดือนธันวาคม ซึ่งตอนนี้รายชื่อจากการนับในExcell ก็ครบ 37 รายแล้ว และปี 16 ไม่มีใครถูกประหารเพราะตำรวจ 2 นาย ซึ่งเป็นคำสั่งเดียวถูกลโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต
ปัญหามีแค่ว่านช.ประพันธ์จะถูกประหารชีวิตหรือไม่ หรือแค่ถูกตัดสิน
ยิงเป้าตาม ม. 17
[แก้]การประหารชีวิตในยุคของจอมพล สฤษดิ์ และถนอม ในยุคสษดิ์หากเป็นคดีวางเพลิงจะมีการประหารชีวิตในที่เกิดเหตุส่วนคดีการเมืองมักประหารที่บางขวาง
ซ้ง แซ่ลิ้ม ไม่ทราบอายุ ข้อหาวางเพลิง จ้างวานนายพิมพ์ ทองขาว วางเพลิงร้านรองเท้าของตนเองที่ตลาดบางยี่เรือ เพื่อหวังเงินประกัน สถานที่ประหารกำแพงหอสมุดแห่งชาติ วันที่ 7 พ.ย. 2501
ซิ่วหยิ่น แซ่ฉิ่น และจำนงค์ แซ่ฉิ่น ไม่ทราบอายุ ถูกประหารชีวิตที่วัดอินทราราม เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2501
ฮ่อนฉิ่น แซ่ฉิ่น วางเพลิงโรงเลื่อยจักรบ้วนเฮงหลง ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่วัดดอน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501
อึ้ง ศิลปงาม วาวเพลิงตลาดท่าช้าง ประหารที่อำเภอเดิมนางบวช วันที่ 20 ธันวาคม 2501
ศิลา วงศ์สิน หรือ ลาด ละคร ผู้นำการสังหารเจ้าหน้าที่รัฐ 5 นาย ที่บ้านใหม่ไทยเจริญ อำเภอโชคชัย เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2502
ศุภชัย ศรีสติ ความผิดฐานคอมมิวนิสต์ ประหารที่เรือนจำกลางบางขวาง ประหาร วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2502
ครอง จันดาวงศ์ (54) ทองพันธ์ สุธิมาศ ประหารที่สนามบินลับเสรีไทย อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ประหารวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2504
เลี้ยงฮ้อ แซ่เล้า ประหารที่เรือนจำกลางบางขวาง ความผิดฐานค้าเฮโรอีน ประหารวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2504
ราม หริอ รวม วงศ์พันธ์ ความผิดฐานคอมมิวนิวต์ ประหารที่เรือนจำกลางบางขวาง วันที่24 เมษายน พ.ศ.2505
ใบ กุลแพ,สมบุญ มากฤทธิ์, ทวี เฉลิมสมัย, บุญเลิศ ปรอดเกิด, มะลิ คาลามานนท์และน้อย เจริญสุข ร่วมกับพวกรวม 17 คนก่อเหตุปล้นตลาดท่าเรือเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2508 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน ประหารที่สนามหน้าโรงเรียนท่าเรือนิตยานุกุล บริเวณรั้วโรงเรียนส่วนที่ติดกับทางรถไฟ,อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนคนศรีอยุธยา ประหารวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2509
บุญมี เชี่ยวบางยาง ความผิดฐานปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์ ประหารที่เรือนจำกลางบางขวาง วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2509
เสี่ยงเอี้ยว แซ่เซียว และจิ้วซิว แซ่ฉั่ว ความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย ประหารที่เรือนจำกลางบางขวาง วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2510
วิชิต เกตุคำศรี ร่วมกับพวกรวม 17 คนก่อเหตุปล้นตลาดท่าเรือเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2508 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน ประหารที่เรือนจำกลางบางขวาง วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2510
ก๊กง้วน แซ่ฉั่ว ความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย ประหารที่เรือนจำกลางบางขวาง วันที่28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510
สมศักดิ์ ขวัญแก้ว ฆ่าชิงทรัพย์นาวาอากาศโท แฮร์รี เอ็ม. ฟังก์ อายุ 40 ปี ที่ริมถนนสุขุมวิท อำเภอสัตหีบ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ประหารที่เขาตะแบก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2514
วินัย โพธิ์ภิรมย์ ประหารที่เรือนจำกลางบางขวาง วันที่ 17 ธันวาคม 2514
เสน่ห์ อ่อนแก้ว ประหารที่เรือนจำกลางบางขวาง เมือวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2515
ปิยะ อำพันปอง และ ซ่งหลี แซ่ตั้ง ประหารที่เรือนจำกลางบางขวาง วันที่ 9 เมษายน
แขก พรมสา อายุ 21 และ เดช สุธี อายุ22 ปี ปล้นฆ่า 17 เมษายน
บุญช่วย ไซยปะ ประเสริฐ ขันทะยา สมศักดิ์ แซ่ฉั่ว ค้าอาวุธ 6 มิถุนายน
อำนวย ศรีชม 18 ข่มขืนและฆ่าเด็กที่เพชรบูรณ์ ประหาร 16 มิถุนายน
หงี ลิ้มประเสริฐ ประหารวันที่ 16 มิถุนายน
จำเนียร จันทรา,สนอง โพธิ์บาง และ ธนูชัย มนตรีวัต ประหาร 19 มิถุนายน
สมชาย ธรรมวัฒนะ 20 ปี ข่มขืนฆ่าเด็กที่ลพบุนี ประหาร4 กรกฎาคม
ประเสริฐ ฉายประสาท และอุทัย มะละมาท ปล้นฆ่ายัดตุ่ม ที่สมเด็จประหาร13 กรกฎาคม
ชู ภักดี และไส้ออก ชื่นบุญ ประหาร วันที่ 20 กรกฏาคม
นิคม ชัยนนที ข่มขืนเด็กแล้วฆ่าที่แพร่ 8 สิงหา
เล็ก ตุ้มบัวทอง ข่มขืนหลานแล้วฆ่าที่บ้าวแพ้ว 8 สิงหา
สมใจ กลิ่นบุหงา ข่มขืนเด็กแล้วฆ่าที่นางรอง 8 สิงหา
ร่าเหม หมาดชาย ข่มขืนแม่เด็กแล้วฆ่า กับฆ่าลูกชายวัย 1 ปี ที่คลองท่อมกระบี่ 23 สิงหาคม
ตี๋ วันดี และ สัน ห้วยใหญ่ ข่มขืนและฆ่าเด็กที่นาจอมเทียน ประหารที่เชิฃเขาบรรพตคีรี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม
ทอง อ้อจันทึก และจีระ ยาจันทึก ปล้นฆ่า ยิงเป้า 1 ตุลาคม ที่ด่านขุนทด
พิชาญ กำแหง และสุธน ทองศิริ ข่มขืนครูเทคนิค ฆ่าแฟนหนุ่ม ที่หาดสมิทลา ยิงเป้า 19 ตุลาคม
ฉลอง คำดี ก่อเหตุแทงพลเมืองดีจนเสียขีวิตเพื่อหลบหนีการจับกุมจากพลเมืองดีระหว่างที่พลเมืองดีนำตัวส่งสถานีตำรวจ ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2515
ประมวล ฤาษี แหกคุกกบินทร์บุรีและปล้นฆ่า ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่อำเภออรัญประเทศ เมื่อวันที 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515
ชัยยศ สมบูรณ์ ประหารวันที่24 พฤศจิกายน
ขุนศึก ภูจิตร อายุ 22 ปี ปล้นฆ่า ยิงเป้ามหาสารคาม 7 ธันวาคม (ยังไม่ได้ค้น)
ซ้ง แซ่เอี่ยว และจุ่งเพ้ง แซ่ตียว ประหารวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515
ประพันธ์ จันทร์เชย ฆ่าข่มขืนเมีย ยิงเป้าที่พิษณุโลก(ยังไม่ค้น) วันเดียวกับขุนศึก
ดัด ภูมิลา 22 ขว้างระเบิดสังหารหมู่ 9 ศพ ยิงเป้า 1 ธันวาคม
เรือน หอยบาง อายุ 34 ยิงนายจรัล กาลลา ผู้สื่อขาวจังหวัดตรังเสียชีวิต
รายชื่อ ม.17 ปี 14,15
[แก้]นี่คือลำดับชื่อผู้ที่ถูกประหารชีวิตทั้ง 34 ราย:
1. สมศักดิ์ ขวัญแก้ว
2. วินัย โพธิ์ภิรมย์
3. เสน่ห์ อ่อนแก้ว
4. ปิยะ อำพันปอง
5. ซ่งหลี แซ่ตั้ง
6. แขก พรมสา
7. เดช สุธี
8. บุญช่วย ไซยปะ
9. ประเสริฐ ขันทะยา
10. สมศักดิ์ แซ่ฉั่ว
11. อำนวย ศรีชม
12. หงี ลิ้มประเสริฐ
13. จำเนียร จันทรา
14. สนอง โพธิ์บาง
15. ธนูชัย มนตรีวัต
16. สมชาย ธรรมวัฒนะ
17. ประเสริฐ ฉายประสาท อายุ 25 ปี สมเด็จกาฬสินธุ์
18. อุทัย มะละมาท อายุ 18 ปี สมเด็จ กาฬสินธุ์
19. ชู ภักดี
20. ไส้ออก ชื่นบุญ
21. นิคม ชัยนนที แพร่
22. เล็ก ตุ้มบัวทอง สมุทรสาคร
23. สมใจ กลิ่นบุหงา บุรีรัมย์
24. ร่าเหม หมาดชาย กระบี่
25. ตี๋ วันดี ฆ่าข่มขืนเด็กที่บางเสร่ ประหารที่เชิงเขาบรรพตคีรี
26. สัน ห้วยใหญ่ ฆ่าข่มขืนเด็กที่บางเสร่ ประหารที่เชิงเขาบรรพตคีรี
27. ทอง อ้อจันทึก โจรปล้นฆ่าในอำเภอด่านขุนทด ก่อคดีปล้นฆ่าข่มขืนรุมโทรมมามากมาย ถูกประหารที่อำเภอด่านขุนทด
28. จีระ ยาจันทึก โจรปล้นฆ่าในอำเภอด่านขุนทด ก่อคดีปล้นฆ่าข่มขืนรุมโทรมมามากมาย ถูกประหารที่อำเภอด่านขุนทด
29. พิชาญ กำแหง รุมโทรมครูสาว ฆ่าครูชายที่แหลมสมิทลา ถูกประหารชีวิตที่ชายหาดเก้าเส็ง
30. สุธน ทองศิริ รุมโทรมครูสาว ฆ่าครูชายที่แหลมสมิทลา ถูกประหารชีวิตที่ชายหาดเก้าเส็ง
31. เฉลิม คำดี ฆ่าพลเมืองดีขณะนำตัวส่งตำรวจ ที่บ้านโป่ง ราชบุรี ถูกประหารที่สุสานจีนในบ้านโป่ง เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน
32. ประมวล ฤาษี เสือร้ายภาคตะวันออก กลุ่มโจรของเขาฆ่าคนมาไม่ต่ำกว่า 15 ศพ เขาได้แหกคุกกบินทร์บุรี และแทงผู้คุมพิการ จากนั้นได้ปล้นและพยายามฆ่าเจ้าทรัพย์หลายคดี ถูกประหารชีวิตที่สนามยิงปืน อรัญประเทศ เมื่อวันที7 พฤศจิกายน
33. ชัยยศ สมบูรณ์ ก่อเหตุฆ่าสุรพล คำแถลง พลเมืองดี ระหว่างการวิ่งราวสร้อย
34. ขุนศึก ภูจิตร อายุ 22 ปี จับคนไปเรียกค่าไถ่ และปล้นทรัพย์ ถูกประหารชีวิตที่เดียวกับเดช สุธี และ แขกพรมสา ในจังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน หรือ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2515
35. ซ้ง แซ่เอี่ยว ทั้งสองเป็นพ่อค้าเฮโรอีนและเคยขายให้ชัยยศ สมบูรณ์ด้วย เป็น 2 รายสุดท้ายที่ถูกประหารด้วย ม.17
36. จุ่งเพ้ง แซ่ตียว ทั้งสองเป็นพ่อค้าเฮโรอีนและเคยขายให้ชัยยศ สมบูรณ์ด้วย เป็น 2 รายสุดท้ายที่ถูกประหารด้วย ม.17
37. ประพันธ์ จันทร์เชย ก่อเหตุปล้นฆ่าผัว ข่มขืนเมีย ที่จังหวัดพิษณุโลก พวก 4 คน รับโทษจำคุกตลอดชีวิต ประพันธ์ถูกประหารน่าจะวันที่ 22 หรือ 23 พฤศจิกายน 2515 สถานที่ยังไม่เคยค้น
38. ดัด ภูมิลา อายุ 22 ปี ก่อเหตุขว้างระเบิดมือใส่ผู้คนในงานวัดสระบัวเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย. และบาดเจ็บ 13 ราย. ประหารชีวิตเมื่อวันที่1 ธันวาคม 2515 ที่สนามบินพาณิชย์ นครพนม
รวมทั้งหมด 38 ราย สาเหตุที่รายงานว่า 37 รายเพราะว่า ไม่มีการรายงานอุทัย มะลมาศ และ ประเสริฐ ฉายประสาท ในอ้างอิงที่นำมา ในหนังสือมาตรา 17 ในยุคมืด ได้มีชื่อของนายหอย มือยิงจรัล กาลลา นักข่าวประจำจังหวัดตรังเสียชีวิต และคดีที่ถูกประหารจากศาลจังหวัด/ทหารตรัง มีแค่ สำรอง,ลอง นิรโส นิระโสะ คดีปล้นฆ่าซึ่งถูกประหารเมื่อปี 17 เท่านั้น ส่วนรายอื่นไม่มี จนกระทั่ง สมพร หรือ จรวด เชยชื่นจิตร (ปี 2542) และ ธีรศักดิ์ หลงจิ (มิก) ปี 2561
โปรโคคอล ยุค สฤษดิ์ VS ถนอม
[แก้]สฤษดิ์ หลักประหาร:ไม้กางเขน หัน:หันหลังเช้าหลังประหาร แผงผ้าม่าน:ไม่มี เพชฌฆาต:ตำรวจ,ทหารเรือ,ทหารอากาศ จังหวัด:พระนคร,ธนบุรี,สุพรรณบุรี,สกลนคร,นครราชสีมา ประเภทคดี:วางเพลิง,ผีบุญ,คอมมิวนิสต์ ประเภทสถานที่ประหาร:วัด,สนามบิน,ป่าช้า จำนวน:7 ถนอม หลักประหาร:ไม้กางเขน หัน:ออกจากหลักประหาร(แขก ขวัญแก้ว) ,เข้าหลักประหาร เพชฌฆาต:ทหารเรือและตำรวจ จังหวัด:ท้องที่เกิดเหตุยกเว้นกรุงเทพ,ปทุมธานี และสมุทรปราการ ประเภทคดี:ปล้นทรัพย์,ฆ่าข่มขืน,ค้าอาวุธสงคราม, ฆาตกรรม ประเภทสถานที่ประหาร:สนาม,รอบๆอาคารรัฐบาล(เช่นสน.,ที่ว่าการอำเภอ),สนามบิน,วัด(เล็ก ตุ้มบัวทอง),ทุ่งนา,ที่ราบที่มีเนินดิน,สนามยิงปืน(เดช,แขก,ขุนศึก และประมวล) จำนวน:33
เกริ่นนำ
[แก้]การประหารชีวิตในที่สาธารณะตามคำสั่งหัวหน้าคณะรัฐประหารหรือนายกรัฐมนตรีโดยทหารและตำรวจ ถูกใช้ในช่วงหลังจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2501 จนกระทั่งการหมดอำนาจของคณะปฎิวัติของจอมพลถนอม กิตติขจรในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวมีการใช้อำนาจมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร โดยนายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจในการสั่งการ หรือกระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย[1][2] เช่นการประหารชีวิต หรือจำคุก โดยการประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเกิดภายในเรือนจำกลางบางขวาง หากคดีเกิดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร,ปทุมธานี และสมุทรปราการ ส่วนการประหารชีวิตในท้องที่เกิดเหตุจะเป็นคดีที่เกิดในจังหวัดอื่นๆนอกจากสามจังหวัดข้างต้น [3][4] ซึ่งการประหารชีวิตในท้องที่เกิดเหตุที่ดำเนินการโดยตำรวจหรือทหารหลายนายจะเรียกว่า การประหารชีวิตด้วยการยิงเป็นชุด[5]
ต่อมาหลังจากเหตุการณ์สังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ได้รัฐประหารหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช แล้วแต่งตั้งธานินทร์ กรัยวิเชียรขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และได้นำอำนาจมาตรา 17 กลับมาใช้ ผ่านมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519[6][7]
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2520 มีการคาดการณ์ว่าสมปอง พุมวงศ์ ฆาตกรฆ่าข่มขืนเด็กหญิงอายุ 11 ขวบ ที่จังหวัดนครนายก จะเป็นบุคคลแรกที่จะถูกประหารชีวิตในท้องที่เกิดเหตุ หลังจากมีข่าวว่าธานินทร์จะใช้อำนาจมาตรา 21 ลงโทษสมปอง โดยมีการคาดการณ์สถานที่ประหารชีวิตว่าจะเป็นเชิงเขากระเหรี่ยง บ้านหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุ อย่างไรก็ตามสมปองถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่เรือนจำจังหวัดนครนายกเนื่องจากเห็นว่าการประหารชีวิตในสถานที่เกิดเหตุไม่เหมาะสมจึงประหารชีวิตภายในเรือนจำ[8][9]
ตาราง การประหารในที่สาธารณ
[แก้]ระหว่างปี พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2515 มีบุคคลถูกประหารชีวิตที่สาธารณะจำนวน 40 โดยทั้งหมดเป็นเพศชาย แบ่งเป็นยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ 7 คน และจอมพลถนอม กิตติขจร 33 คน โดยการประหารชีวิตในที่สาธารณะตามคำสั่งหัวหน้าคณะรัฐประหารหรือนายกรัฐมนตรีโดยทหารและตำรวจครั้งที่มากที่สุดในวันเดียวคือการประหารชีวิต 6 โจรปล้นตลาดท่าเรือ ที่สนามหน้าโรงท่าเรือนิตยากุล เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509
ลำดับ | ชื่อ | อายุ | ข้อหา | วันที่ประหารชีวิต | สถานที่ประหารชีวิต | รายละเอียดความผิด | นายกรัฐมนตรี | note |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ซ้ง แซ่ลิ้ม | ไม่ทราบ | จ้างวานวางเพลิง | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 | กำแพงหอสมุดแห่งชาติ(ตึกถาวรวัตถุ)ข้างสนามหลวง ตำบลพระบรมมหาราชวัง อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร | จ้างวานนายพิมพ์ ทองขาววางเพลิงที่ตำบลบางยี่เรือ จังหวัดธนบุรี เพื่อต้องการเงินประกันภัยไฟไหม้ | สฤษดิ์ ธนะรัตน์ | บุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี[10][11][12] |
2 | จำนงค์ แซ่ฉิ่น | ไม่ทราบ | วางเพลิง | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 | วัดอินทาราม ตำบลบางยี่เรือ อำเภอธนบุรี จังหวัดธนบุรี | วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2501 เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ตลาดพลู ร้านค้าถูกไฟไหม้ประมาณ 30 ห้อง ระหว่างดับเพลิงเพดานชั้นบนในร้านขายยาซื่อเม้งเภสัชซึ่งเป็นต้นเพลิงได้ยุบตัวและปีบน้ำมันได้หล่นจากเพดานทำให้ไฟไหม้เสื้อผ้าอย่างรวดเร็ว และทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บ 4 นาย เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สอบสวนผู้ต้องสงสัยจำนวน 5 คน และนำทั้งห้าเข้าเครื่องจับเท็จ ผลเครื่องจับเท็จของซิวหยิ่น และจำนงค์ชี้บอกว่าทั้งสองโกหก โดยเจ้าหน้าที่ได้นำทั้งสองเข้าเครื่องจับเท็จซ้ำอีกหลายครั้งแต่ระดับของเครื่องชี้ว่าโกหก ส่วนอีกสามคนผลชี้ว่าปกติ[13] ก่อนการประหารทั้งสองปฎิเสธว่าไม่ได้วางเพลิงและยืนยันว่าผู้วางเพลิงคือร้านคู่แข่ง | [14] | |
3 | ซิวหยิ่น แซ่ฉิ่น | ไม่ทราบ | ||||||
4 | ฮ่อนซิน แซ่ฉิ่น | ไม่ทราบ | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 | วัดดอน ตำบลยานนาวา อำเภอสาทร จังหวัดพระนคร | วางเพลิงโรงเลื่อยหวั่นฝ่าหลง เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ 2501 เนื่องจากแค้นที่ถูกไล่ออกจากงาน | [15] | ||
5 | อึ้ง ศิลปงาม | ไม่ทราบ | 20 ธันวาคม พ.ศ. 2501 | ตลาดท่าช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี | วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2501 เกิดเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ที่ตลาดท่าช้าง ร้านค้าและอาคารถูกไฟไหม้ไปทั้งสิ้น 400 หลังคาเรือน ต่อมาตำรวจได้จับกุมอึ้ง ศิลปงาม เจ้าของร้านถ่ายรูปในตลาดซึ่งเป็นต้นเพลิง จากการสอบสวนไม่พบเหตุสงสัยเช่นเงินประกันเพลิงไหม้ หรือความขัดแย้งด้านการค้า อย่างไรก็ตามคณะปฎิวัติสรุปว่าการวางเพลิงเป็นส่วนหนึ่งของคอมมิวนิสต์ ที่ต้องการก่อความวุ่นวาย[16] | [17] | ||
6 | ศิลา วงศ์สิน หรือ ลาดละคร | 50 ปีเศษ | บ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรและราชบัลลังก์ คุกคามความสงบภายในประเทศ | 26 มิถุนายน พ.ศ. 2502 | สุสานมูลนิธิหลักเสียงเซี่ยงตึ๊ง ตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา | ผู้นำการสังหารหมู่เจ้าหน้าที่รัฐ 5 นาย ที่บ้านใหม่ไทยเจริญ อำเภอโชคชัย เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 เพื่อขัดขวางการจับกุมของตนเอง | บุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตด้วยอำนาจมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งการปกครองราชอาณาจักร[18][19][20] | |
7 | ครอง จันดาวงศ์ | 53 | กบฏต่อความมั่นคงและมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 | สนามบินลับเสรีไทย ตำบลสว่างเเดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร | นักโทษทางการเมืองซึ่งถูกจับกุมในข้อหากบฏต่อความมั่นคงและมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พร้อมกับผู้ถูกจับกุมคนอื่นๆ รวม 146 คน | [21][22][23][24] | |
8 | ทองพันธุ์ สุธิมาศ | ไม่ทราบ | ||||||
9 | ใบ กุลแพ หรือ เสือใบ หรือเจ้าพ่อกำแพงเขย่ง | ปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์ | 24 มีนาคม พ.ศ. 2509 | สนามโรงเรียนท่าเรือนิตยานุกุล ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | ร่วมกับพวก 12 คน ตลาดเทศบาลตำบลท่าเรือ อำเภอท่าเรือ ด้วยอาวุธสงคราม เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2508 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน และบาดเจ็บสาหัสถึงพิการ 2 คน และมีตำรวจกับทหารบาดเจ็บ 2 นาย ในการยิงปะทะระหว่างตามล่าคนร้าย | ถนอม กิตติขจร | วิชิต เกตุคำศรี หรือเปี๊ยก กีวี หนึ่งในผู้ร่วมปล้นที่ถูกจับกุมภายหลังถูกประหารชีวิตตามมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ที่เรือนจำกลางบางขวางเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2510[25][26][27][28] | |
10 | สมบุญ มากฤทธิ์ | - | ||||||
11 | ทวี เฉลิมสมัย | - | ||||||
12 | บุญเลิศ ปรอดเกิด | - | ||||||
13 | มะลิ คาลามานนท์ | - | ||||||
14 | น้อย เจริญสุข | - | ||||||
15 | สมศักดิ์ ขวัญแก้ว | 28 | ฆ่าชิงทรัพย์ | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2514 | เชิงเขาตะแบก ตำบลเขาตะแบก อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี | ฆ่าชิงทรัพย์นาวาอากาศโทแฮรี่ เอ็ม. ฟังก์ อายุ 40 ปี นายทหารชาวอเมริกัน ที่ริมถนนสุขุมวิท หมู่ 4 ตำบลสัตหีบ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ 2514 | [29][30][31][32] | |
16 | เดช สุธี | 22 | ปล้นทรัพย์,จับคนมาเรียกค่าไถ่ และฆ่าเจ้าทรัพย์ | 16 เมษายน พ.ศ. 2515 | สนามยิงปืนตำรวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม | 1.วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ปล้นทรัพย์และยิงกิจ ลาสาจนได้รับบาดเจ็บ ที่ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอเมืองอุดรธานี จากนั้นจับลูกและภรรยาของสะอาด ลาสาเรียกไถ่ 2.ปล้นทรัพย์ของนางบัวผัน สุธะธรรม และสุขสันต์ น้องชายของบัวผัน ที่ตำบลสีแก้ว อำเภอเมืองร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2514 3.วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ปล้นทรัพย์พิมพ์ ภูศรีฤทธิ์ด้วยมีดและปื ที่ตำบลหนองตะโก อำเภอกระนวน จากนั้นจับตัวภรรยาและลูกสาวของพิมพ์ไปเรียกค่าไถ่ แล้วปล่อยลูกสาวของพิมพ์มาเอาเงินค่าไถ่ แต่เดช,แขก และพวกได้ฆ่าจอม ภูศรีฤทธิ์ ภรรยาของพิมพ์ก่อนที่ลูกสาวของพิมพ์จะนำเงินมาไถ่ 4.ร่วมกับขุนศึก ภูจิตร และพวกอีกคนปล้นทรัพย์ทองพูน กันปัญญา แล้วจับนายทองพูน กันปัญญา,นางคำปิว คำปัญญา,เด็กหญิงขันทอง คำปัญญา,นายสี พะวังคาม และนายอ่าง มาเลิศ ไปเรียกค่าไถ่ ที่ตำบลเกิ้ง อำเภอเมืองมหาสารคาม เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 5.ร่วมกับขุนศึก ภูจิตร และพวก 2 คน ปล้นทรัพย์นายพา จันทรเรือง,นายบุญเลี้ยง มูญสมบัติ,นายบุญมา นนมูลศรี และนายจี ภูศรีฤทธิ์ และฆาตกรรมพากับยิงบุญเลี้ยง และบุญมาจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ที่ตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคาม เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2514 |
[33][34] | |
17 | แขก พรมสา | 21 | ||||||
18 | สมศักดิ์ แซ่ฉั่ว | 26 | ค้าอาวุธสงคราม | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2515 | สนามกอล์ฟทางทิศตะวันตกของสนามบินจังหวัดหนองคาย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย | วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจค้นบ้านหลังหนึ่งในตำบลมีชัย จังหวัดหนองคาย โดยพบสมศักดิ์กับบุญช่วยกำลังตรวจนับชิ้นส่วนอาวุธปืน และพบประเสริฐกำลังซุกซ่อนอาวุธปืนในถังรถยนต์ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงจับกุมทั้งสาม พร้อมปืนคาร์บินเอ็ม 1 จำนวน 22 กระบอก,ปืนคาร์บิน เอ็ม2 จำนวน 12 กระบอก,ปืนเอ็ม 16 จำนวน 12 กระบอก,แมกกาซีนเอ็ม16 12 อัน,แมกกาซีนอาวุธปืนคาร์บินขนาดบรรจุ 15 นัด จำนวน 7 อัน,แมกกาซีนอาวุธปืนคาร์บินขนาดบรรจุ 30 นัด จำนวน 26 อัน,กระสุนปืนคาร์บินจำนวน 118 นัด และกระสุนปืนเอ็ม16 จำนวน 27 นัด | [35][36] | |
19 | ประเสริฐ ขันทะยา | 30 | ||||||
20 | บุญช่วย ไซยปะ | 42 | ||||||
21 | อำนวย ศรีชม | 18 | ฆ่าข่มขืน | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 | ลานกว้างซึ่งเป็นที่ขุดดินลูกรังของแขวงทางหลวงเพชรบูรณ์ ตำบลนาเฉลียง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ | ข่มขืนและฆาตกรรมเด็กหญิงสายทอง จำปาดี อายุ 6 ปี ที่ตำบลบ่อไทย อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 | ในวันเดียวกันมีการประหารชีวิต หงี หรือ บุญยิ่ง ลิ้มประเสริฐ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่เรือนจำกลางบางขวาง[37][38][39] | |
22 | สมชาย ธรรมวัฒนะ | 20 | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 | หลังสถานีรถไฟมะนาวหวาน อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี | ข่มขืนและฆาตกรรมเด็กหญิงฝอยทอง หรือ ตุ่ม วงศ์นุช อายุ 11 ปี ที่ริมห้วยน้ำสุด ตำบลมะนาวหวาน อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2515 | [40][41] | ||
23 | อุทัย มะละมาศ หรืออ๊อดใหญ่ | 25 | สมคบกันพยายามปล้นทรัพย์ และฆ่าเจ้าทรัพย์ด้วยความทารุณโหดร้ายเพื่อปกปิดการกระทำความผิด | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 | ทุ่งนาป่าโคกรัง ตำบลหมูม่น อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ | ร่วมกับพวกสองคนทุบตีนายเซ่งเฮง แซ่ตั้ง อายุ 65 ปี และนางอาน แซ่ตั้ง อายุ 72 ปี จนเสียชีวิต แล้วนำศพใส่ตุ่มเพื่อมั่นใจว่าทั้งสองเสียชีวิต จากนั้นจึงไปค้นทรัพย์สินในบ้านแต่ไฟดับทำให้ไม่สามารถค้นทรัพย์สินในบ้านได้ เหตุเกิดเมื่อในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ที่ตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ | [42] | |
24 | ประเสริฐ ฉายประสาท หรือ อ๊อดเล็ก | 18 | ||||||
25 | นิคม ชัยนนถี | 20 ปีเศษ | ฆ่าข่มขืน | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2515 | สนามด้านทิศตะวันตกของสถานีตำรวจภูธรอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ | ข่มขืนและฆาตกรรมเด็กหญิงเด็กหญิงรัชนี ทองคำกุล อายุ 9 ขวบ ที่ตำบลแม่พุง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2515 | [43][44][45] | |
26 | สมใจ กลิ่นบุหงา | 30 | สนามหน้าที่ว่าการอำเภอนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ | ข่มขืนและฆาตกรรมเด็กหญิงเด็กหญิงพิน ทองคำ อายุ 12 ขวบ ที่ป่าโนนกราดตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2515 | ||||
27 | เล็ก ตุ้มบัวทอง | 45 | วัดธรรมจริยาภิรมย์ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร | ข่มขืนและฆาตกรรมเด็กหญิงเด็กหญิงเฉลียว จันทร์อยู่บูชา อายุ 9 ขวบ แล้วนำศพไปหมกไว้ในท้องร่องสวนกล้วย ที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2515 ซึ่งเล็กเป็นน้าของเธอ | ||||
28 | ร่าเหม หมาดชาย หรือ สมศักดิ์ ดอกจิกน้อย | 21 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2515 | สถามบินมณฑลทหารบกที่ 5 อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ | ข่มขืนและฆาตกรรมนางสำเนียง หลานโป๊ะ อายุ 21 ปี และฆาตกรรมสุภา หลานโป๊ะ ลูกสาววัย 2 ขวบของสำเนียง ที่ร้านขายของเบ็ดเตล็ดของสำเนียง ในตำบลคลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ระหว่างวันที่ 16 และ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2515 | [46] | ||
29 | ตี๋ วันดี | 35 | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2515 | เชิงเขาบรรพตคีรี ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี | ข่มขืนและฆาตกรรมเด็กหญิงสมปอง กลิ่นกุหลาบ ที่จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2515 โดยทั้งสองอุ้มร่างสมปองจากตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง ไปข่มขืนและฆาตกรรมในเขตตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ[47] | [48] | ||
30 | สั้น ห้วยใหญ่ | 21 | ||||||
31 | ทอง อ้อจันทึก | 24 | ฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้าย,กักขังหน่วงเหนี่ยวให้ปราศจากเสรีภาพ,ปล้นทรัพย์,ต่อสู้ขัดขวางการจับกุม, พยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่,พยามยามฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน,ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำตามหน้าที่ และฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2515 | หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา | 1.ร่วมกับส่าย หรือ สนั่น เซียมขุนทด ฆาตกรรมไสว กัณหา หมอดู แล้วตัดหูขวามาย่างกิน เมื่อช่วงเช้าของวันที่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2515 2.ช่วงเที่ยงของวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2515 ทองและจีระร่วมกับส่ายจับนายแก้ว,นางสาวกาไว,นางสาวน้อย,นางสาววงเดือน และเด็กหญิงลำดวน และกระชากสร้อยคอทองคำน้ำหนัก 1 บาทของน้อยไปด้วย ต่อมาได้ปล่อยแก้วกับลำดวนในช่วงเย็น ส่วนอีกสามคนถูกคุมตัวในป่าจนกระทั่งช่วงเช้าวันรุ่งขึ้น จากนั้นจึงปล่อยทั้งสามกลับบ้าน 3.ร่วมกับส่ายใช้มีดจี้และกระชากสร้อยคอของประนอม มากบุญธรรม เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2515 ที่ตำบลหนองบัวตะเกียด 4.วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2515 ทอง,จีระ และส่าย ยิงนายไสวได้รับบาดเจ็บสาหัส ขว้างระเบิดมือไปทางสารวัตรกำนัน ที่ทุ่งห้วยสามบาท ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน และชาวบ้านบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก เพื่อหลบการจับกุมจากกำนันและชาวบ้าน |
[49] [50] | |
32 | จีระ ยาจันทึก | 25 | ||||||
33 | พิชาญ กำแหง | 18 | สมคบกันปล้นทรัพย์ และฆ่าคนตายด้วยความทารุณโหดร้ายเพื่อปกปิดการกระทำความผิด และฉุดคร่าไปข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะโทรมหญิง โดยใช้กำลังประทุษร้ายจนได้รับบาดเจ็บ | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2515 | ชายหาดหน้าศาลากลางจังหวัดสงขลา(สนามติสูลานนท์ในปัจจุบัน) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา | ร่วมกับนิพนธ์ หรือ บ่าว เรืองสงฆ์ ทุบตีและแทงสมนึก เพ็งสถาน และข่มขืนกระทำชำเรากับทำร้ายร่างกายศิริพร สุวรรณรัศมี เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2515 ที่ชายหาดหน้าศาลากลางจังหวัดสงขลา หลังจากนั้นนำศิริพรไปส่งบ้านเนื่องจากศิริพรเป็นญาติของพิชาญ แล้วนำสมนึกไปส่งโรงพยาบาลซึ่งสมนึกเสียชีวิตที่โรงพยาบาล | นิพนธ์ เรืองสงฆ์ซึ่งมีอายุ 15 ปี ถูกลงโทษจำคุก 20 ปี[51][52] | |
34 | สุธน เจริญสุข | 18 | ||||||
35 | เฉลิม คำดี | 29 | ลักทรัพย์ และฆ่าพลเมืองดี | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 | สุสานบ้วนฮกจั้ว อำเภอบ้านโป่ง | ใช้มีดแทงนายช่อ พงษ์พิพัฒน์เวช เสียชีวิตที่เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2514 ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เพื่อหลบหนีการจับกุมหลังจากที่เขาถูกนันทชัย และช่อ พงษ์พิพัฒน์เวช จับตัวขณะกำลังขโมยรถจักรยายนต์ที่สนาทมวยไทยเจริญ | [53][54] | |
36 | ประมวล ฤาษี หรือเสือมวล | 35 | สมคบกับพวกหลบหนีที่คุมขัง และใช้กำลังประทุษร้ายเจ้าพนักงานและผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานจนได้รับบาดเจ็บสาหัส,สมคบกันชิงทรัพย์ และใช้ผู้อื่นชิงทรัพย์,สมคบกันปล้นทรัพย์,ต่อสู้ขัดขวาง และพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที | สนามยิงปืนกองพันทหารราบที่ 3 กรมประสงค์ที่ 2 อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว | ประมวลร่วมกับพวกที่คุมถูกคุมขังอีก 10 คนในเรือนจำจังหวัดกบิทร์บุรี เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2515 โดยใช้เหล็กแหลมแทงนายมณเทียร โพธิ์ ภักดี ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนขาซ้ายพิการ และแทงนายเชาวน์ โพธิ์ภักดี นักโทษชั้น ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ต่อมาในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2515 ประมวลร่วมกับพวกชิงทรัพย์ และฆาตกรรมนายท้าว แววนำ ที่ตำบลท่าเกษม อำเภอสระแก้ว และในวันเดียวกันได้ก่อเหตุชิงทรัพย์นายคำภา ปัทมี และท้าว ปัทมา ที่ตำบลท่าเกษม ต่อมาในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2515 ประมวลร่วมกับพวกก่อเหตุปล้นฆ่านายพัน คุณจันทร์ ที่ ที่ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร ต่อมาในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2515 ตำรวจได้ล้อมจับประมวลกับพวกที่อำเภออรัญประเทศ แต่กลุ่มของประมวลได้ยิงต่อสู้และขว้างระเบิดใส่ตำรวจ จนทำให้มีตำรวจได้รับบาดเจ็บสาหัส จากนั้นประมวลได้หนีสมัครเป็นทหารกัมพูชาที่ค่ายศรีโสภณ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงส่งหนังสือขอจับตัวประมวลแล้วนำมาส่งที่ตลาดปอยเปตให้ผู้บัญชาการค่ายศรีโสภณ ต่อมาในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 ผู้บัญชาการค่ายศรีโสภณจึงนำตัวประมวลมามอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยที่ตลาดปอยเปต | ก่อนแหกคุกประมวลรับโทษจำคุก 20 ปี ในข้อหาปล้นทรัพย์[55][56] | ||
37 | ประพันธ์ จันทร์เชย | - | สมคบกันปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์ และข่มขืนกระทำชำเราในลักษณะโทรมหญิง | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 | หน้าโรงเรียนศึกษาวิทยา อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก | วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2515 ประพันธ์ใช้ปืนยิงแดง ฮ่วดอ้น อายุ 26 ปี แล้วประพันธ์,โมบินควร แสงลา,วิชัย แซ่เหลี่ยม,หาญณรงค์ สุขวัฒนะ และอำนาจ นนคาน ร่วมกันข่มขืนละเอียด จันทร์เกษม ภรรยาของแดง เหตุเกิดที่หน้าโรงเรียนศึกษาวิทยา | โมบินควร,วิชัย,หาญณรงค์ และอำนาจ มีคำสั่งให้จำคุกตลอดชีวิต[57][58][59] | |
38 | ขุนศึก ภูจิตร | 22 | ปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์ และจับคนไปเรียกค่าไถ่ | สนามยิงปืนตำรวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม | 1. ร่วมกับเดช สุธี และแขก พรมสา และพวกอีกคนปล้นทรัพย์ทองพูน กันปัญญา แล้วจับนายทองพูน กันปัญญา,นางคำปิว คำปัญญา,เด็กหญิงขันทอง คำปัญญา,นายสี พะวังคาม และนายอ่าง มาเลิศ ไปเรียกค่าไถ่ ที่ตำบลเกิ้ง อำเภอเมืองมหาสารคาม เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 2. ร่วมกับเดช สุธี และแขก พรมสา และพวก 2 คน ปล้นทรัพย์นายพา จันทรเรือง,นายบุญเลี้ยง มูญสมบัติ,นายบุญมา นนมูลศรี และนายจี ภูศรีฤทธิ์ และฆาตกรรมพากับยิงบุญเลี้ยง และบุญมาจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ที่ตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคาม เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2514 |
[60][61] | ||
39 | ดัด ภูมลา | 22 | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและกระทำทารุณโหดร้าย | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2515 | สนามบินพาณิชย์ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม | สังหารหมู่ด้วยระเบิดมือที่วัดสระบัว ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดนครพนม เมื่อวันที 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 9 คน และบาดเจ็บ 13 คน | [62][63] | |
40 | เรือน หอยบาง | 34 | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยกระทำหวาดเสียวทารุณโหดร้าย | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2515 | ท่าอากาศยานตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง | ร่วมกับมือปืนอีกคนยิงนายจรัล กาลลา อายุ 34 นักข่าวหนังสือพิมพ์เมืองใต้เสียชีวิต ที่ร้านขายผ้าใจงาม ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2515 เวลา 19.55 น. | บุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตในที่สาธารณะในประเทศไทย[64] |
note (เอาไว้เขียนเล่น
[แก้]3/1/68 เริ่มเขียนอย่างเป็นทางการ
ลำดับ | ชื่อ | อายุ | ความผิดฐาน | วันที่ประหารชีวิต | สถานที่ประหารชีวิต | รายละเอียดความผิด | นายกรัฐมนตรี | note |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ตัวอย่าง | ดอน เกิดเป็ง | 22 | ฆาตกรรม-ข่มขืน | 21 มกราคม พ.ศ. 2514 | เรือนจำกลางเชียงใหม่ ตำบลศรีพูน อำเภอเมืองเชียงใหม่ | ข่มขืนและฆาตกรรมเด็กหญิงก่องแก้ว จันทิมา อายุ 11 ปี ที่ตำบลบ้านตาล อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2520 | ธานินทร์ กรัยวิเชียร | |
ตัวอย่าง 1 | น้อย วิลากลาง | 26 | ฆาตกรรม | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 | เรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี | ร่วมกับเพื่อนนักโทษอีก 3 คน ฆ่ารัดคอพิณ พีระพงษ์ที่เรือนจำกลางเชียงใหม่ | จอมพลถนอม กิตติขจร | น้อยก่อเหตุพยายามแหกุกที่ลำพูนเมื่อ 3 เดือนก่อน |
ตัวอย่าง 2 | มนัส อุนจะนำ | 29 |
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2521
[แก้]ในการปล้นทรัพย์จำเลยกับพวกได้คุมตัวผู้เสียหายและบุคคลอื่นที่พบระหว่างทางให้ไปกับจำเลยด้วย พอมืดแล้วก็ปล่อยตัวกลับหมด เช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยเจตนาเพียงคุมตัวผู้เสียหายกับพวกไปเป็นประกัน เพื่อสะดวกแก่การพาทรัพย์ไป และเพื่อให้พ้นจากการจับกุมเท่านั้น อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานปล้นทรัพย์นั่นเอง การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ตามมาตรา 309,310 อีกกรรมหนึ่งต่างหาก
จทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2518 เวลากลางวัน จำเลยทั้ง 5 คนมีอาวุธปืนติดตัวร่วมกันปล้นทรัพย์ต่าง ๆ ของนายวรรณาและของนายเจือผู้เสียหายไปรวม 17,600 บาท ในการปล้นจำเลยกับพวกได้ใช้อาวุธปืนจี้ขู่เข็ญนางม่วยภรรยานายวรรณาผู้เสียหายและนางแก้วนาว่าจะทำอันตรายแก่กายและถึงแก่ชีวิต หลังจากได้ทรัพย์สินแล้วจำเลยกับพวกได้ร่วมกันข่มขืนใจนางม่วยกับผู้มีชื่ออีกหลายคนให้ไปกับจำเลยกับพวก โดยใช้อาวุธปืนขู่เข็ญบุคคลดังกล่าวกลัวจะเกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายจึงจำต้องไปกับจำเลย ตามวันเวลาดังกล่าวจำเลยกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังนางม่วยกับนางสาวสายทองเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินสดจำนวน 40,000 บาท เป็นค่าไถ่ตัวจำเลยทั้งสอง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309, 310, 313, 340, 340 ตรี ฯลฯ
จำเลยทั้งห้าให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 5 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรีกระทงหนึ่ง จำคุก 20 ปี และผิดตามมาตรา 309 วรรคสอง มาตรา 310 วรรคแรกและมาตรา 313 วรรคแรก อีกกระทงหนึ่งลงโทษบทหนักตามมาตรา 313 วรรคแรกจำคุก 15 ปี นอกนั้นยก
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ตามฟ้อง จำเลยที่ 1และที่ 5 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องข้อหาฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อเรียกค่าไถ่ ทำให้ปราศจากเสรีภาพ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 5 ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อเรียกค่าไถ่และทำให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 และที่ 5 ฎีกาขอให้ยกฟ้อง
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 5ได้กระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์จริง
ส่วนข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อเรียกค่าไถ่นั้นพยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกับพวกได้เรียกเงินค่าไถ่ตัวบุคคลที่จำเลยกับพวกได้พาตัวไป จำเลยที่ 1และที่ 5 จึงไม่มีความผิดฐานนี้ สำหรับข้อหาฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั้นข้อเท็จจริงได้ความแต่เพียงว่าในการปล้นทรัพย์รายนี้จำเลยกับพวกได้คุมตัวผู้เสียหายกับพวกและพวกที่พบระหว่างทางไปด้วยพอมืดแล้วก็ปล่อยกลับหมด การกระทำของจำเลยในตอนนี้ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยเจตนาคุมตัวผู้เสียหายและพวกไปเป็นประกันเพื่อสะดวกแก่การพาทรัพย์ไปและ เพื่อให้พ้นจากการจับกุมเท่านั้น อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์นั่นเอง การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 5 ย่อมจะไม่เป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตามมาตรา 309 และ 310 อีกกรรมหนึ่งต่างหาก
จำเลย - นายส่าย หรือชัย หรือสนั่น เซียมขุนทด -- ลูกน้องเสือทองและเสือจีระ ไม่ถูกจับตายแต่อย่างใด
ลิงค์จากภายนอก
[แก้]- สภาร่างรัฐธรรมนูญ. (2502). รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 25 วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พุทธศักราช 2502. สภาร่างรัฐธรรมนูญ: พระที่นั่งอนันตสมาคม. หน้า 1127–1128.
- คำสั่งประหารชีวิต 6 โจรปล้นตลาดท่าเรือ
- รายชื่อเสือร้ายที่ ปล้น ตลาด อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2508
บรรณานุกรม
[แก้]- วิศรุต พึ่งสุนทร และอาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ (31 August 2024). "จอมพลสฤษดิ์รอมชอม จอมพลถนอมยิงเป้า : ผู้นำเผด็จการทหารกับการจัดการปัญหาอาชญากรรมทางเพศในสังคมไทย (พ.ศ. 2500-2516)". วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 28 December 2024.
- ทักษ์ เฉลิมเดียรณ (2552). การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. โครงการตําราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ISBN 9786167202006.
- ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (2566). เนื้อในระบอบถนอม. ฟ้าเดียวกัน. ISBN 9786169430315.
- สุนทร ช่วยตระกูล (2554). พลิกแฟ้มข่าวดังในอดีต. กรุงเทพฯ : ย้อนรอย. ISBN 9786162105581.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่า|isbn=
: checksum (help) - สถาบันพัฒนาการเมือง (2544). 40 ปี ครอง จันดาวงศ์จากหลักประหารสืบสานอุดมการณ์ประชาธิปไตย. สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน. ISBN 9789748839318.
- สายสกุล เดชาบุตร (2563). กบฏไพร่ หรือ ผีบุญ :ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของราษฎรกับอำนาจรัฐเหนือแผ่นดินสยาม. Din-Dan Book. ISBN 9786169360612.
- สายสกุล เดชาบุตร (2558). ประวัติศาสตร์บาดแผลหลังการปฏิรูปสมัยรัชกาลที่ ๕. ยิปซี/Gypzy. ISBN 9786163014474.
- เปรมชัย พริ้งศุลกะ. มาตรา 17 ในยุคมืด. กรุงสยามการพิมพ์. OCLC 1281292141.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ มาตรา 17 พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ จะมีอยู่ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ?
- ↑ "ประชาธิปไตยกับอำนาจพิเศษตามรัฐธรรมนูญ". วิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญ.
- ↑ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้นำที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ เจ้าของวาทกรรม "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว"
- ↑ "ปืนปิดปาก ประหารชีวิต" ปราบคอมมิวนิสต์ยุค "สฤษดิ์ ธนะรัชต์" ที่สุดของเผด็จการ
- ↑ "fusilade". Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005.
- ↑ “ข้าพเจ้ารับผิดแต่เพียงผู้เดียว” คำพูดอมตะของ “จอมพลสฤษดิ์”
- ↑ การใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญไทย
- ↑ "จนท.พร้อมจะดำเนินการทันที ครม.ยังไม่เผยผลพิจารณา". หนังสือพิมพ์เดลิไทม์. 19 May 1977. p. 1,3,16.
- ↑ "ใช้เพชฌฆาตจากบางขวางยิงที่เรือนจำนครนายก". หนังสือพิมพ์เดลิไทม์. 22 May 1977. p. 16.
- ↑ "ปืนปิดปาก ประหารชีวิต" ปราบคอมมิวนิสต์ยุค "สฤษดิ์ ธนะรัชต์" ที่สุดของเผด็จการ
- ↑ "ยิงเป้าแล้ว". หนังสือพิมพ์สารเสรี. 8 November 1958. p. 1,2,3.
- ↑ "ผู้ถูกยิงเป้ามีประวัติร้ายทุจริตเรื่อยมา". หนังสือพิมพ์สารเสรี. 9 November 1958. p. 16.
- ↑ "เครื่องจับเท็จยัน". หนังสือพิมพ์สารเสรี. 9 November 1958. p. 16.
- ↑ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ‘เผด็จการ’ สุดเฮี้ยบ ตัวจริงในประวัติศาสตร์
- ↑ "ขอให้ทหารอากาศลงมือยิง มือไฟสารภาพหมดสิ้นแล้ว". หนังสือพิมพ์สารเสรี. 25 November 1958. p. 1,3.
- ↑ ตามไปดู จอมพลสฤษดิ์สั่ง ‘ยิงเป้า’ กลางเมืองในยุคกรุงเทพฯ ทะเลเพลิง
- ↑ "สารภาพสิ้นพาชี้ที่เผา ขออภัยว่าผิดก่อนประหาร". หนังสือพิมพ์สารเสรี. 22 December 1958. p. 3.
- ↑ "ชนนับหมื่นเข้าดูประหาร สมหน้าหน้า อตร.อ่านคำสั่งนายกฯ ก่อนสั่งให้ยิง". หนังสือพิมพ์สารเสรี. 27 June 1959. p. 1,2,17.
- ↑ ซีรีส์ชุดผีบุญในอีสาน (12) ‘ศิลา วงศ์สิน’ จากสายตาเบี้ยล่างประวัติศาสตร์ (ตอนจบ)
- ↑ ซีรีส์ชุดผีบุญในอีสาน (11) ‘ศิลา วงศ์สิน’ จากสายตาเบี้ยล่างประวัติศาสตร์ (ตอนที่ 1)
- ↑ “ครอง จันดาวงศ์” นักต่อสู้ ปชต. เจ้าของวาทะ “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ”
- ↑ ในวันที่ ครอง จันดาวงศ์ อาจไม่ได้พูด “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ”
- ↑ ครอง จันดาวงศ์ ถูกประหารด้วย ม.๑๗ ถึง ๔๕ นัด! ไม่ได้พูด “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ”!!
- ↑ ครบ 60 ปีประหาร ‘ครูครอง จันดาวงศ์’ เจ้าของวาทะ ‘เผด็จการจงพินาศ ปชต.จงเจริญ’ 31 พ.ค. 2504
- ↑ คดีดัง!! เปิดตำนานขุนโจร "เสือขาว" ผู้เคยปิดตลาดท่าเรือ ปล้น!! สุดท้ายหักหลังกันเอง แต่!! ถูกจับ โดนประหารชีวิตถึง 6 คน!!
- ↑ โจรผยองปิดตลาดปล้น! นายกฯใช้ ม.๑๗ สั่งปล้นที่ไหนยิงเป้าที่นั่นโดย ๖ นาย ตร.ประกบ ๖ โจร!!
- ↑ "ใช้ม.๑๗ ประหาร"เปี๊ยก กีวี"". หนังสือพิมพ์สยามนิกร. 1 August 1967. p. 1,2.
- ↑ รอยอดีตระทึกใจ ไอ้เสือบุก!!!ปิดตลาดปล้นที่ "ตลาดท่าเรือ"
- ↑ ไม่มีใครกล้ารื้อ ศาลเจ้าพ่อแขก จุดยิงเป้านักโทษ สมัยจอมพลถนอม
- ↑ "ฆาตกร". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 1 December 1971. p. 20.
- ↑ "ยิงเป้า". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 2 December 1971. p. 2.
- ↑ "ถือทำการบังอาจระหว่างกฏอัยการศึก แม่ทัพเรือรับคำสั่งยิงใกล้ที่เกิดเหตุ". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 2 December 1971. p. 2.
- ↑ "ยิงเป้า 2 มหาโจร". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 17 April 1972. p. 16.
- ↑ "ยิงเป้า 2โจร". หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่. 17 April 1972. p. 16.
- ↑ "คณะปฎิวัติ". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 6 June 1972. p. 16.
- ↑ "เผยนาทีสังหาร". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 7 June 1972. p. 16.
- ↑ "ยิงเป้า". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 16 June 1972. p. 16.
- ↑ "รายละเอียดประหาร". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 17 June 1972. p. 16.
- ↑ "ที่เพชรบูรณ์และ...บางขวาง...". หนังสือพิมพ์สยามรัฐ. 17 June 1972. p. 16.
- ↑ "หัวหน้าคณะปฎิวัติสั่งยิงบ่าย ๒ โมงวันนี้ ขืนใจเด็กหญิงอายุ ๑๑ ขวบบีบคอตายคามือ". หนังสือพิมพ์บ้านเมือง. 6 July 1972. p. 16.
- ↑ "เป็นฆาตกรคนที่ 20 ที่ถูกสั่งยิงเป้า กัดบุหรี่ระงับสติ ก่อนเข้าหลัก". หนังสือพิมพ์บ้านเมือง. 7 July 1972. p. 16.
- ↑ "โจรเหี้ยมไม่ยอมฟังเทศน์ ราษฎร ๒ หมื่นรุมสาปแช่ง". หนังสือพิมพ์บ้านเมือง. 14 July 1972. p. 16.
- ↑ "ระบุพฤติการณ์โหดร้าย ไม่ยำเกรงกฎหมาย ลงโทษหนัก...ยิงเป้า". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 8 August 1972. p. 16.
- ↑ "หิ้วปีก 3 นักโทษเข้าหลักประหาร". หนังสือพิมพ์บ้านเมือง. 6 July 1972. p. 2.
- ↑ "สั่งยิงเป้าตอน 10 น. ทั้งสามรายข่มขืนแล้วฆ่าอย่างทารุณ". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 2 December 1971. p. 2.
- ↑ "ยิงเป้า". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 24 August 1972. p. 16.
- ↑ ศาลเจ้าพ่อเขาแขก ผลกรรม? ที่แลกด้วยชีวิต
- ↑ "ยิงเป้า 2 ฆาตกร". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 30 August 1972. p. 16.
- ↑ "ก่อนตายเขียนจม.สี่ฉบับ ฝูงชนดูการประหารนับหมื่น". หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่. 4 October 1972. p. 2.
- ↑ "'ยิงเป้า'แล้ว! ไม่มีใครรับศพ". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 5 October 1972. p. 16.
- ↑ "ประหารชีวิต". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 19 October 1972. p. 16.
- ↑ "๒ ฆาตกร". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 6 July 1972. p. 16.
- ↑ "นักเรียน". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 9 November 1972. p. 16.
- ↑ "พลเมืองดีจับคนร้ายลักทรัพย์ถูกแทงดับ". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 19 June 1972. p. 7.
- ↑ "หวั่นนักมวย". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 22 June 1972. p. 16.
- ↑ "นักเรียน". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 9 November 1972. p. 16.
- ↑ "เสนอคณะปฎิวัติยิงเป้า6โจรฆ่าผัวข่มขืนเมีย". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 8 August 1972. p. 7.
- ↑ "ยิงเป้าโจรพร้อมกันอีก2จังหวัด". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 23 November 1972. p. 16.
- ↑ "สองดาวโจรประหารแล้ว2จ.ว.พร้อมกัน". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 24 November 1972. p. 16.
- ↑ "ยิงเป้าโจรพร้อมกันอีก2จังหวัด". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 23 November 1972. p. 16.
- ↑ "สองดาวโจรประหารแล้ว2จ.ว.พร้อมกัน". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 24 November 1972. p. 16.
- ↑ "ยิง 50 นัด". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 2 December 1972. p. 16.
- ↑ "ประหารชีวิตนักปล้นฆ่าตำรวจ ยิงเป้ามือระเบิด". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 2 December 1972. p. 16.
- ↑ "ยิงเป้ามือปืนฆ่านักข่าวตรังเรียบร้อยแล้ว". หนังสือพิมพ์บ้านเมือง. 16 December 1972. p. 16.