ผู้ใช้:Sawaengkit
Police Aviation Division
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กองบินตำรวจ (บ.ตร.) (อังกฤษ: Police Aviation Division) เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
เครื่องหมายประจำกองบินตำรวจ (Patch of Police Aviation Division)
มีลักษณะเป็นรูปโล่ (Escutcheon) ซึ่งเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของตราอาร์ม มีขนาดกว้าง 8 เซนติเมตร และยาว 9 เซนติเมตร เป็นผ้าหรือสักหลาดพื้นเป็นสีดำ ภายในประกอบด้วย
- อักษรภาษาไทยคำว่า "กองบินตำรวจ" อยู่ด้านบนปักด้วยดิ้นไหมสีเงิน หรือด้ายสีขาว หากเป็นภาษาอังกฤษใช้คำว่า "POLICE AVIATION DIVISION"
- เครื่องหมายโล่เขนตำรวจ ปักด้วยดิ้นไหมสีเงิน หรือด้ายสีขาว และสีเลือดหมูตามลักษณะโล่เขนตำรวจ อยู่ใต้อักษรภาษาไทยคำว่า "กองบินตำรวจ" หรือภาษาอังกฤษคำว่า "POLICE AVIATION DIVISION" โดยมีขนาดพอเหมาะและสมดุลย์สวยงาม
- รูปปีกนก ขนาดกว้าง 2.7 เซนติเมตร สูง 6 เซนติเมตร อยู่ด้านข้างรองรับเครื่องหมายโล่เขนตำรวจและอักษรภาษาไทยคำว่า "กองบินตำรวจ" หรือภาษาอังกฤษคำว่า "POLICE AVIATION DIVISION" ปักด้วยดิ้นไหมสีทอง หรือด้ายสีเหลือง
- ตราอาร์มรูปธงชาติไทย ในลักษณะเอียง อยู่ระหว่างปีกนกทั้งสอง ปักด้วยด้ายสีน้ำเงิน ขาว และแดง ตามสีของธงชาติ อยู่ในกรอบดิ้นไหมสีทองหรือด้ายสีเหลือง
- ขอบนอกของอาร์ม ปักด้วยด้ายสีเลือดหมู ขนาด 0.5 เซนติเมตร เพื่อแสดงถึงความเป็นตำรวจในสายเลือด
ความหมายของเครื่องหมายประจำกองบินตำรวจ (Patch of Police Aviation Division) หมายถึง เป็นหน่วยงานที่สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่สามารถสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจทางอากาศภายในราชอาณาจักรไทยให้กับหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานราชการอื่นๆ ตามที่ร้องขอ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนแห่งราชอาณาจักรไทย โดยไม่หวังผลตอบแทน ภายใต้สถานการณ์ปกติ วิกฤติ และฉุกเฉิน เปรียบได้ดั่งอัศวินขี่ม้าขาวมาช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกันตามคำขวัญของกองบินตำรวจ ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านานที่ว่า "จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา"
หมายเหตุ เครื่องหมายประจำกองบินตำรวจ (Patch of Police Aviation Division) สามารถปรับเปลี่ยนสีของเครื่องหมายเป็นสีดำได้เมื่อใช้ประกอบกับเครื่องแบบสนามสีเขียว และสีลายพราง (ABU Tiger Stripe)
ผู้มีสิทธิ์ประดับเครื่องหมายนี้ ได้แก่ ผู้ทำการในอากาศทุกนาย และเจ้าหน้าที่กู้ภัย ที่สวมใส่ชุดปฏิบัติการ (Flight Suit) ข้าราชการตำรวจและลูกจ้าง ที่สวมใส่เครื่องแบบสนามสีเขียว และสีลายพราง (ABU Tiger Stripe)
ประวัติกองบินตำรวจ
[แก้]เนื้อหาส่วนนี้เข้าข่ายว่าอาจละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งอาจคัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น โปรดช่วยกันตรวจสอบลิขสิทธิ์ หากคุณเป็นผู้เขียนต้นฉบับเดิมและต้องการเผยแพร่ในวิกิพีเดีย ให้เขียนคำอธิบายในหน้าอภิปรายแล้วนำป้ายนี้ออกได้ กรุณาศึกษาวิธีเขียนไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ หากคุณทราบว่าเนื้อหาส่วนนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้ลบเนื้อหาดังกล่าวออก |
ปี พ.ศ. 2493 กรมตำรวจในสมัยนั้น เห็นว่าควรจะนำเอาอากาศยานเข้ามาใช้ในราชการกรมตำรวจ ในด้านความช่วยเหลือปราบปรามโจรผู้ร้ายในถิ่นทุรกันดาร ผู้ตรวจการจราจร เพื่อช่วยเหลือสภาพการจราจรในจังหวัดพระนครและผู้ตรวจราชการ จึงเริ่มต้นด้วยการทดลองจัดตั้งเป็นหน่วยขนาดเล็กเรียกว่า หน่วยบินตำรวจ โดยกรมตำรวจได้ซื้ออากาศยานประเภท Helicopter Hiller Model 360 จำนวน 1 ลำ โดยให้ขึ้นการบังคับบัญชาต่อกองตำรวจนครบาลวังปารุสกวัน และให้เก็บรักษาอากาศยานไว้ที่สนามเสือป่า การทดลองได้ผลดีต่อทางราชการเป็นอย่างมาก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 สถานการณ์ในราชอาณาจักรลาว มีทีท่าว่าจะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของราชอาณาจักรไทย กระทรวงมหาดไทย ได้มีคำสั่งตั้งกองบัญชาการตรวจรักษาชายแดน (ภาคอีสาน) ขึ้น
เมื่อ 6 พฤษภาคม 2496 และสถานการณ์ชายแดนภาคใต้มีความจำเป็นที่จะต้องปราบปรามโจรจีนคอมมิวนิสต์ร่วมกับรัฐบาลมาเลเซีย จึงได้จัดหาอากาศยานเพิ่มมากขึ้น มีทั้ง เครื่องบิน (Fixed Wing) และ Helicopter ทำให้สถานที่ไม่พอเก็บรักษา กรมตำรวจ จึงขอใช้สถานที่ในกองทัพอากาศดอนเมือง จัดเป็นที่ตั้งหน่วยใหม่และเรียกชื่อว่า ”กองสื่อสารทางอากาศ” ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางทำหน้าที่ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนการปราบปรามโจรทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและสนับสนุนกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน โดยได้จัดซื้อ Helicopter Hiller Model 12 B จำนวน 12 ลำ เครื่องบิน Cessna Model 180 จำนวน 2 ลำ เครื่องบิน Cessna Model 195 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบิน Flasher จำนวน 1 ลำ
ในปี พ.ศ. 2497 ความจำเป็นในการใช้อากาศยานมีมากขึ้น โดยเฉพาะการลำเลียงขนส่งทางอากาศ กรมตำรวจจึงได้ซื้อเครื่องบินขนส่งขนาดเบา Douglas C- 47 Skytrain or Dakota จำนวน 2 ลำ และ Helicopter Hiller Model 12 B อีก 4 ลำ
ในปี พ.ศ. 2498 ได้จัดซื้อ Helicopter -Sikorsky S-55 จำนวน 1 ลำ
ในปี พ.ศ. 2501 ได้จัดซื้อเครื่องบิน Douglas C- 47 Skytrain or Dakota เพิ่มอีก 2 ลำ
ในปี พ.ศ. 2503 ได้จัดตั้งหน่วยบินตำรวจน้ำขึ้นที่กองตำรวจน้ำเนื่องจากเป็นหน่วยงานอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องบินและ Helicopter ตั้งแต่การจัดตั้งตำรวจรักษาชายแดน ต่อมาเป็นตำรวจตระเวนชายแดน กิจการด้านการบินของ หน่วยบินตำรวจ ได้ให้การสนับสนุนโดยตรงต่อตำรวจตระเวนชายแดนเป็นส่วนใหญ่หรืออาจกล่าวได้ว่าเกือบทั้งหมด ดังนั้นภารกิจและการปฏิบัติจึงเท่ากับว่า หน่วยบินตำรวจ ขึ้นการบังคับบัญชากับตำรวจตระเวนชายแดนโดยปริยาย ด้วยเหตุนี้ในการปรับปรุงการจัดหน่วยของตำรวจตระเวนชายแดน
ในปี พ.ศ. 2504 ให้มีฐานะเป็นหน่วยขึ้นกับตำรวจภูธร เรียกว่า กองบัญชาการตำรวจภูธร (ฝ่ายชายแดน) หน่วยบินตำรวจ ก็ได้รับการยกฐานะเป็น “กองกำกับการบินลำเลียง” ขึ้นกับฝ่ายสนับสนุนตำรวจภูธร (ฝ่ายชายแดน) มีชื่อย่อ คือ กก.บล.ฝน.ชด. ส่วนที่ตั้งยังคงอยู่ที่กองทัพอากาศดอนเมือง ในปีเดียวกันนี้ กรมตำรวจได้จัดซื้อเครื่องบิน Cessna Model 310 F ชนิด 2 เครื่องยนต์ จำนวน 2 ลำ และได้รับความช่วยเหลือจาก United States Operations Mission (USOM) ให้ Helicopter Sikorsky S- 55 อีก 3 ลำ เนื่องจากภารกิจของกองกำกับการบินลำเลียงได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวางมิได้จำกัดเฉพาะการสนับสนุนตำรวจตระเวนชายแดนเท่านั้น ยังต้องสนับสนุนตำรวจภูธร และส่วนราชการอื่น ๆ อีกเป็นอันมาก และฝ่ายช่วยเหลือจาก USOM เห็นว่า หลายหน่วยงานในกรมตำรวจมีความต้องการ อากาศยานไว้ใช้ในราชการของตนเอง เช่น ตำรวจน้ำ ตำรวจป่าไม้ และตำรวจดับเพลิง หากให้มารวมกันก็คงเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น กรมตำรวจ จึงได้มีแนวความคิดที่จะยกฐานะกองกำกับการบินลำเลียงฝ่ายสนับสนุนตำรวจตระเวนชายแดน ขึ้นเป็นหน่วยงานระดับกองบังคับการ ขึ้นตรงต่อกรมตำรวจ โดยได้รับความเห็นชอบและการสนับสนุนจาก USOM และกรมวิเทศสหการ ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารงานรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ แนวความคิดนี้ได้ข้อยุติ
เมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2510 โดยกรมตำรวจได้ยกฐานะกองกำกับการบินลำเลียงและหน่วยบินตำรวจน้ำ ทดลองจัดตั้งเป็น “กองบินตำรวจ” โดยแต่งตั้งให้ พ.ต.อ.พิชิต รักษนาเวศ หัวหน้าฝ่ายอำนวยการตำรวจภูธรชายแดน ทำหน้าที่ ผู้บังคับการกองบินตำรวจ อีกตำแหน่งหนึ่ง จากนั้นได้สร้างอาคารที่ทำการต่าง ๆ ขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2512 ในเนื้อที่ประมาณ 222 ไร่ ส่วนที่ตั้งในกองทัพอากาศดอนเมือง ก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิม
18 พฤศจิกายน 2512 ได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้งกองบินตำรวจขึ้น เป็นหน่วยงานระดับกองบังคับการ ขึ้นตรงต่อกรมตำรวจ เรียกว่า กองบินตำรวจ (Police Aviation Division) มีชื่อย่อ “ บ.ตร.” มาจนถึงทุกวันนี้
Aircrafts
Fixed Wing
Helicopter
- Hiller Model 360
Two-seat helicopter based on UH-5 of all-metal construction with fixed tricycle u/c, fully enclosed cabin and rear fuselage, overhead mounted control stick attached to Hiller rotor control, powered by one 175hp Franklin 6V4-178-B32 engine. Prot. N68940.