ผู้ใช้:Nix Sunyata/โฟมทะเล
โฟมทะเล เป็นโฟมประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นจากความปั่นป่วนของน้ำทะเลที่มีระดับความเข้มข้นสูงของสารอินทรีย์ละลายน้ำ (ได้แก่ โปรตีน, ลิกนิน และไขมัน) จากแหล่งต่างๆ เช่น การย่อยสลายนอกฝั่งหลังปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (ปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง – algal blooms) [1] สารประกอบอินทรีย์เหล่านี้ทำหน้าที่เป็นสารลดแรงตึงผิว หรือสารทำให้เกิดฟอง เมื่อน้ำทะเลถูกกวนจากการซัดของคลื่นในเขตชายฝั่ง สารลดแรงตึงผิวภายใต้สภาวะที่ปั่นป่วนเหล่านี้จะช่วยดักจับอากาศให้ก่อตัวเป็นฟองอากาศ และเกาะติดกันเป็นโฟมด้วยแรงตึงผิว โฟมทะเลเป็นปรากฏการณ์เกิดขึ้นทั่วโลก และความแตกต่างขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมทางทะเล น้ำจืดที่ไหลลงทะเล และพื้นผิวดินทรายโดยรอบ [2] เนื่องจากโฟมทะเลมีความหนาแน่นและความคงสภาพต่ำจึงถูกพัดด้วยแรงลมทะเลเข้าฝั่ง เมื่อโฟมทะเลมีปริมาณมากจะก่อตัวเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ทะเลโฟม (sea of foam) โฟมทะเลต่างจากฟองคลื่นเนื่องจากเป็นสารคอลลอยด์ โดยมีฟองอากาศเป็นอนุภาคคอลลอยด์
การก่อตัว
[แก้]โฟมทะเล ก่อรูปขึ้นภายใต้สภาวะที่คล้ายคลึงกับการก่อตัวของฟองคลื่น (หรือละอองคลื่น) จากคลื่นหัวแตกอัดอากาศเข้าสู่ชั้นน้ำ ความแตกต่างหลักของโฟมทะเลจากฟองคลื่น คือ การก่อตัวของโฟมทะเลเกิดจากการมีระดับความเข้มข้นสูงของสารอินทรีย์ละลายน้ำบนผิวน้ำทะเล เช่นจากสิ่งมีชีวิตจำพวกพืช ได้แก่แมคโครไฟต์ และแพลงก์ตอนพืช สารอินทรีย์เหล่านี้อาจได้มาจากธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งยิ่งมีความเข้มข้นมากโฟมทะเลที่เกิดขึ้นจะยิ่งคงสภาพนานขึ้นและสะสมเป็นปริมาณมากขึ้น [3] แต่ฟองคลื่นจะคงสภาพเป็นฟองในช่วงสั้นมากและแตกออกเป็นละอองคลื่น
กระบวนการทางกายภาพที่นำไปสู่การก่อตัวของโฟมทะเล คือ
- การกระทบของคลื่นผิวน้ำ
- การกักอากาศเป็นฟอง
- การสะสมตัวของฟองที่หัวคลื่น
การกระทบของคลื่นผิวน้ำจะดึงอากาศจากบรรยากาศเข้าสู่ชั้นน้ำซึ่งนำไปสู่การสร้างฟอง ฟองอากาศเหล่านี้ถูกผลักให้ไหลวนไปรอบ ๆ ในระยะตื้น ๆ บนผิวน้ำเนื่องจากแรงลอยตัว ฟองอากาศขนาดเล็กมากที่อยู่ในชั้นน้ำจะถูกกวาดเข้าไปเจือปน (กัก) ในน้ำทะเลทั้งหมดในลักษณะสารคอลลอยด์ ทำให้อัตราส่วนของก๊าซที่ละลายในมหาสมุทรชั้นบนมีอัตราส่วนที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่อาจรวมกันได้อีก ฟองอากาศที่มีขนาดใหญ่ที่ไม่เจือปนกับน้ำจะสะสมสารที่ไม่ชอบน้ำในขณะที่ค่อย ๆ ลอยกลับสู่ผิวน้ำ รวมกับสารอินทรีย์ละลายน้ำที่มีอยู่ในน้ำทะเลบริเวณนั้นจะทำให้คงสภาพเป็นฟองและรวมตัวกันเป็นโฟมทะเล [1]
การศึกษาเกี่ยวกับโฟมทะเลบางชิ้นรายงานว่า การแตกของเซลล์สาหร่ายในช่วงที่มีการพองตัวมากขณะเน่าสลายพร้อม ๆ กัน จะทำให้การผลิตโฟมทะเลมีโอกาสมากขึ้น [3]
เม็ดฝนที่ตกลงมาบนผิวน้ำทะเลสามารถนำไปสู่การก่อตัวและทำลายโฟมทะเลได้เช่นกัน [4] การศึกษาบางชิ้น (ที่ไม่ใช่การอธิบายเชิงฟิสิกส์ แต่จากการสังเกต) แสดงให้เห็นว่าการก่อตัวของโฟมทะเลอาจเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากฝนตกที่ตกชุกขึ้น [2] ความปั่นป่วนในชั้นพื้นผิวของทะเลยังอาจส่งผลต่อความเข้มข้นของสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำและช่วยในการสร้างโฟมที่มีสารก่อตัวหนาแน่น [5]
องค์ประกอบ
[แก้]ส่วนประกอบที่สร้างโฟมทะเลโดยทั่วไปเป็นส่วนผสมของสารอินทรีย์ที่ย่อยสลาย ได้แก่ แพลงก์ตอนสัตว์ แพลงก์ตอนพืช สาหร่าย (รวมถึง ไดอะตอม [6] ) แบคทีเรีย เชื้อรา โปรโตซัว และ เศษซาก พืชในหลอดเลือด [5] แม้ว่าการเกิดโฟมทะเลแต่ละครั้งจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป ในบางพื้นที่พบว่าโฟมทะเลประกอบด้วยโปรตีนเป็นหลักซึ่งมีบทบาททั้งในการสร้างโฟมใหม่และคงสภาพโฟมเก่า หรือที่มีไขมันหรือคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก การมีสารประกอบโปรตีนสูงและความเข้มข้นของคาร์โบไฮเดรตต่ำชี้ให้เห็นว่า มีแบคทีเรียเติบโตจำนวนมาก น้ำตาลที่เคยมีอยู่ในเมือกรอบ ๆ ที่สร้างโดยสาหร่ายหรือพืชได้ถูกแบคทีเรียกินเข้าไปอย่างรวดเร็วและขับถ่ายสารประกอบโปรตีนออกมาปริมาณมาก[3] การวิจัยเพิ่มเติมแสดงให้เห็นว่า เมื่อนำโฟมไปทำให้แห้งน้ำหนักของของแห้งเหล่านี้ในโฟมทะเล เป็นคาร์บอนอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วย ฟีนอลิก น้ำตาล น้ำตาลอะมิโน และ กรดอะมิโน
ในอ่าวฟันดีซึ่งมีแอมพิพอด (Corophium volutator) อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น อัตราการตายที่สูงโดยธรรมชาติของแอมพิพอด รวมกับการขับถ่ายจากนกทะเลที่กินพวกมัน ทำให้น้ำตาลอะมิโนถูกปล่อยออกมาในบริเวณนั้นและมีความเข้มข้นสูงทำให้เกิดโฟมทะเลได้
ในช่วงปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬพบว่าสารอินทรีย์ที่ก่อโฟมทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมากในบริเวณนั้น [7] งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่ามีไมโครแพลงก์ตอนในโฟมทะเลในระดับที่สูงมาก โดยเป็นแพลงก์ตอนพืชจำพวกออโตทรอพ มากกว่าเฮเทโรทรอพ [6] ในบางกรณีโฟมทะเลเกิดจากชีวมวลที่สร้างโดยไดอะตอมบางชนิด นอกจากนี้ยังพบโฟมทะเลที่มีแบคทีเรียหลากหลายจำนวนมาก โฟมทะเลอายุยาวนานมีแนวโน้มที่จะมีความหนาแน่นของแบคทีเรียสูงขึ้น การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า 95% ของแบคทีเรียในโฟมทะเลเป็นแบคทีเรียรูปแท่ง ในขณะที่ผิวน้ำโดยรอบส่วนอื่นมีแบคทีเรียรูปโคคอยด์และแบคทีเรียรูปแท่งเพียง 5% - 10% [3] นอกจากนี้ยังมีความแปรปรวนตามฤดูกาลขององค์ประกอบโฟมทะเล [5] ในบางภูมิภาคมีการเกิดละอองเรณูตามฤดูกาลซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงทางเคมีในโฟมทะเลได้ [2] แม้ว่าโฟมจะไม่เป็นพิษโดยธรรมชาติ แต่ก็อาจมีสารปนเปื้อนที่มีความเข้มข้นสูง [1] ฟองโฟมสามารถปนเปื้อนด้วยสารประกอบ ปิโตรเลียม ยาฆ่าแมลง และ สารกำจัดวัชพืช ซึ่งเป็นสารไม่ชอบน้ำสะสมตัวบนผิวฟองขณะลอยตัวสู่ผิวน้ำ
ความคงสภาพและช่วงชีวิต
[แก้]ในทางอุณหพลศาสตร์โครงสร้างโฟมทะเลไม่เสถียร แม้ว่าโฟมทะเลบางชนิดสามารถคงสภาพในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายวัน โฟมทะเลมีสองประเภทที่แบ่งตามความคงสภาพ
- โฟมทะเลที่ไม่เสถียรหรือโฟมชั่วคราวมีอายุสั้นมาก ฟองอากาศที่เกิดขึ้นในโฟมทะเลอาจระเบิดปล่อยละอองลอยสู่อากาศทำให้เกิด ละอองทะเล
- โฟมทะเลที่เสถียรอาจมีอายุนานหลายชั่วโมงถึงหลายวัน โดยบางครั้งอายุของโฟมทะเลเป็นผลมาจากอนุภาคของ ซิลิกา แคลเซียม หรือ เหล็ก ซึ่งทำให้เกิดความคงตัวของโฟมและอายุที่ยาวนาน [1]
นอกจากนี้น้ำทะเลที่มีสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำที่ปล่อยออกมาจากแพลงก์ตอนพืชและสาหร่ายแมคโครไฟติก ซึ่งถูกปั่นป่วนในสภาพแวดล้อมของคลื่นชายฝั่ง ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะผลิตโฟมที่คงตัวและมีอายุยาวขึ้นเมื่อเทียบกับน้ำทะเลที่มีส่วนประกอบเหล่านี้เพียงอย่างหนึ่งอย่างเดียว เช่น น้ำทะเลที่ผ่านการกรองในบ่อที่ปลูกสาหร่ายทะเล (Ecklonia maxima) จะสามารถสร้างโฟมได้ (จากเครื่องพ่นอากาศ) แต่ขาดความเสถียรจากการกรองสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำในน้ำทะเลออกไป จึงเกิดเป็นฟอง (spume) และแตกในเวลาสั้น ๆ นอกจากนี้สาหร่ายทะเลที่อยู่ในน้ำไหลจะลดการเคลือบผิวด้วยเมือก ซึ่งเป็นสารที่ให้เกิดฟองได้ [3] และยังพบว่าเกลือประเภทต่างๆมีผลต่อการเกาะกันของฟองภายในโฟมทะเลที่แตกต่างกันซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดความเสถียรที่ต่างกัน
บทบาททางนิเวศวิทยา
[แก้]แหล่งอาหาร
[แก้]การปรากฏขึ้นของโฟมทะเลในสิ่งแวดล้อมทางทะเลมีบทบาทต่อระบบนิเวศหลายประการ รวมถึงการสร้างแหล่งอาหารและการสร้างแหล่งที่อยู่ ในฐานะของการเป็นแหล่งอาหาร โฟมทะเลที่มีองค์ประกอบที่เสถียรซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศมากกว่าเนื่องจากสามารถคงอยู่ได้นานขึ้น จึงสามารถขนถ่ายสารอาหารภายในสิ่งแวดล้อมทางทะเลได้ [3] อายุการสลายตัวที่นานขึ้นส่งผลให้มีโอกาสสูงขึ้นที่พลังงานที่อยู่ในโฟมทะเลจะเคลื่อนย้ายวงจรอาหารไปสู่ระดับโภชนาการที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่นในอ่าวฟันดี แอมพิพอด (Corophium volutator) สามารถบรรลุ 70% ของความต้องการทางโภชนาการจากน้ำตาลและกรดอะมิโนที่ได้จากโฟมทะเล อย่างไรก็ตามในบางครั้งพบว่าโฟมทะเลเป็นพิษต่อสัตว์ ซึ่งอาจมาจากฟีนอลิกที่มีความเข้มข้นสูงและ หรือการมีโลหะหนัก หรือยาฆ่าแมลงที่รวมอยู่ในโฟมทะเลจากผิวน้ำทะเลเป็นบางครั้ง ทำให้เกิดความเป็นพิษ [5] ทางชายฝั่งตะวันตกของ คาบสมุทรเคป ประเทศแอฟริกาใต้ โฟมทะเลมักเกิดขึ้นในพื้นที่ชายฝั่งที่มีสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ในช่วงที่มีลมตะวันตกพัดแรง โฟมที่เกิดขึ้นในสภาวะเหล่านี้อาจเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น จากเศษสารอินทรีย์ที่อยู่ในโฟมทะเล
การถ่ายเทของสาร
[แก้]โฟมทะเลยังทำหน้าที่เป็นตัวขนถ่ายทั้งสิ่งมีชีวิตและสารอาหารภายในสิ่งแวดล้อมทางทะเล และบางครั้งถ่ายเทไปสู่สภาพแวดล้อมอื่น คือ แนวน้ำขึ้นน้ำลง หรือ พื้นดิน การกระทบของคลื่นสามารถทำให้โฟมเข้าไปในแนวน้ำขึ้นน้ำลงและสามารถคงอยู่ได้เมื่อกระแสน้ำลดลง และนำสารอาหารไปยังเขตน้ำขึ้นน้ำลงนั้น [5] นอกจากนี้โฟมทะเลสามารถขนถ่ายสารอาหารให้ลอยตัวไปกับอากาศได้ในสภาวะที่มีลมแรงซึ่งจะถ่ายเทต่อไปยังพื้นดินใกล้เคียง [2] ความสามารถของโฟมทะเลในการขนถ่ายสารต่าง ๆ ยังเป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตระดับมหภาค เนื่องจากเชื้อของสาหร่ายขนาดใหญ่สามารถเคลื่อนย้ายไปยังสภาพแวดล้อมระดับจุลภาคที่แตกต่างกันได้จึงส่งผลต่อภูมิทัศน์ของน้ำขึ้นน้ำลง และก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางนิเวศวิทยาใหม่ ๆ [8]
แหล่งอาศัย
[แก้]นอกจากนี้โฟมทะเลยังเป็นแหล่งอาศัยของจุลินทรีย์ในทะเลจำนวนมาก งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มไมโครไฟโตแพลงก์ตอน นาโนไฟโตแพลงตอน และไดอะตอมในทะเลโฟม กลุ่มแพลงก์ตอนพืชในโฟมทะเลมีึความหนาแน่นมากกว่าเขตผิวน้ำทะเล [6]
อันตราย
[แก้]ความเป็นพิษ
[แก้]โฟมทะเลที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่เป็นพิษโดยเนื้อแท้ อย่างไรก็ตามการสัมผัสกับสารปนเปื้อนที่มีความเข้มข้นสูงในผิวหน้าของน้ำทะเล ทั้งจากการเน่าเปื่อยของสาหร่ายจำนวนมาก การผลิตและการขนส่งเชื้อเพลิงฟอสซิล และสื่งปฏิกูลที่ถูกพัดพาหลังพายุ [1] สารปนเปื้อนเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดโฟมทะเลที่เป็นพิษผ่านการดูดซับลงบนผิวของฟองอากาศ ฟองอาจแตกกระเซ็นและปล่อยสารพิษไปกับฝอยน้ำสู่บรรยากาศ ที่เรียกว่า ละอองคลื่น หรือ ละอองลอย หรืออาจยังคงอยู่ในฟอง สารพิษที่ปล่อยออกมาทางละอองลอยและฟองอากาศแตกสามารถสูดดมได้โดยมนุษย์ จุลินทรีย์ที่ใช้ฟองทะเลเป็นที่อยู่อาศัยได้เพิ่มความไวต่อการสัมผัสสารปนเปื้อน [9] ดังนั้นสารพิษเหล่านี้สามารถรวมเข้ากับวัฏจักรอาหาร
สาหร่ายสะพรั่งที่เป็นอันตราย
[แก้]โฟมสามารถก่อตัวขึ้นหลังจากการย่อยสลายของ สาหร่ายสะพรั่งที่เป็นอันตราย (HABs) นอกจากประกอบด้วยสาหร่ายแล้ว ยังประกอบด้วย ไดโนแฟลเจลเลต และ ไซยาโนแบคทีเรีย [10] ชีวมวลจากสาหร่ายในสะพรั่งที่เน่าเปื่อยจะรวมอยู่ในโฟมทะเลในชั้นบนสุดของผิวน้ำทะเล [8] เมื่อโฟมทะเลที่รวมเข้ากับแตกตัวสารพิษจากสาหร่ายจะแตกกระเซ็นสู่อากาศทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ [11] ได้แก่ สาหร่าย Phaeocystis globosa ในเนเธอร์แลนด์ การสะสมชีวมวลปริมาณมากทำให้สามารถสร้างโฟมพิษจำนวนมากและมักจะซึมลงบนชายหาด
กิจกรรมของมนุษย์
[แก้]ในขณะที่โฟมทะเลเป็นผลมาจากการปั่นป่วนของน้ำทะเลที่มีส่วนผสมของสารอินทรีย์ในชั้นผิวหน้ามหาสมุทร หรือจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งสามารถนำไปสู่การผลิตโฟมที่มากเกินไปและมักเป็นพิษ [1] นอกจากน้ำมันอินทรีย์ กรดและโปรตีนที่สะสมอยู่ในชั้นบนสุดของผิวน้ำทะเลแล้ว สารประกอบจากการผลิตและขนส่งปิโตรเลียม เช่น น้ำมันดิบ น้ำมันเครื่องที่ปล่อยหรือรั่วออกจากเรือบรรทุกน้ำมัน สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์เช่นผงซักฟอก สิ่งปฏิกูล และการใช้ยาฆ่าแมลงสามารถเข้าสู่ผิวน้ำทะเลและรวมอยู่ในโฟมได้ และสร้างโฟมที่มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ในการศึกษาหนึ่งพบว่า polychlorinated biphenyls (PCBs) ซึ่งเป็นมลพิษอินทรีย์แบบถาวรพบว่าสะสมอยู่ในโฟมทะเล [9]
แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและสถานีรับ-เก็บ อาจมีส่วนร่วมในการสร้างโฟมทะเล จากกระบวนการใช้น้ำทะเลเพื่อเปลี่ยนแก๊สธรรมชาติเป็นแก๊สธรรมชาติเหลว [12] การศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่ามี โพรแคริโอต (อาร์เคียและแบคทีเรีย) และไซยาโนแบคทีเรียในโฟมที่สร้างขึ้นใกล้กับสถานีก๊าซธรรมชาติเหลว โพรแคริโอตเหล่านี้สามารถรีไซเคิลสารเคมีที่ปล่อยออกมาจากสถานีซึ่งทำให้เพิ่มการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์อื่น นอกจากนี้มีการบันทึกว่าระดับอินทรีย์คาร์บอนรวม (TOC) ที่สูงขึ้นและชีวมวลของแพลงก์ตอนในโฟมทะเลที่เกิดขึ้นในบริเวณใกล้กับสถานีก๊าซธรรมชาติ อินทรีย์คาร์บอนหลังจากดูดซึมโดยโปรคาริโอตจะถูกถ่ายไปยังวัฏจักรอาหารโดยการกลืนกินของสัตว์กินพืช [12]
เหตุการณ์ทะเลโฟมที่สำคัญ
[แก้]- 24 สิงหาคม 2550: เกิดการสะสมของโฟมทะเลจำนวนมากที่ชายฝั่ง Yamba ทางตอนเหนือของรัฐนิวเซาท์เวลส์ [13] [14] [15]
- มกราคม - กุมภาพันธ์ 2551: โฟมทะเลเกิดขึ้นที่ Caloundra และ Point Cartwright บน ชายฝั่ง Sunshine ของ ควีนส์แลนด์ ดึงดูดความสนใจจากสื่อทั่วโลก [16] [17] [18]
- ธันวาคม 2554: ถนนเลียบชายฝั่งที่ Cleveleys, Lancashire เต็มไป ด้วยฟองทะเลที่ลอยสูงเมตร [19]
- 2012: ระหว่างการรายงานสดของ พายุเฮอริเคนไอรีน ใน โอเชียนซิตี้รัฐแมริแลนด์ ทัคเกอร์บาร์นส์ ถูกปกคลุมไปด้วยโฟมทะเล [20]
- 24-25 กันยายน 2555: หลังจากเกิดพายุและลมแรงชายหาดบริเวณ Footdee ของ เมือง Aberdeen ถูกปกคลุมไปด้วยโฟมทะเล [21]
- 27-28 มกราคม 2556: ชายฝั่งซันไชน์ ใน ควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย มีโฟมจำนวนมากถูกชะล้างบนบกจากพายุไซโคลน ออสวอลด์ [22]
- มิถุนายน 2559: เกิดฟองทะเลทั่วชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียถูกพายุพัดถล่ม [23]
- 28 มีนาคม 2017: โฟมทะเลถูกสร้างขึ้นโดย พายุไซโคลนเด็บบี้ ที่หาด Sarina ในควีนส์แลนด์ประเทศออสเตรเลีย [24]
- 16 ตุลาคม 2017: พายุเฮอริเคนโอฟีเลีย ปกคลุมเมือง Cleveleys, Lancashire ด้วยสเปรย์ [25]
- มกราคม 2018: Storm Eleanor ทำให้เกิดโฟมอย่างกว้างขวางทั่วชายฝั่งยุโรป [26]
- 11 ตุลาคม 2019: พายุกึ่งเขตร้อน Melissa นำโฟมทะเลมาที่ หาด Nantasket ใน Hull รัฐแมสซาชูเซตส์ [27]
- 21 มกราคม 2020: พายุกลอเรียท่วมเมือง ทอสซาเดอมาร์ ประเทศสเปน โดยมีฟองทะเลหนาทึบจากน้ำท่วมใหญ่ [28]
- 13 กรกฎาคม 2563: พายุ เคปทาวน์ แอฟริกาใต้
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Schilling, Katerina; Zessner, Matthias (1 October 2011). "Foam in the aquatic environment". Water Research (ภาษาอังกฤษ). 45 (15): 4355–4366. doi:10.1016/j.watres.2011.06.004. ISSN 0043-1354.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 HAROLD, E.; SCHLICHTING, JR. (1971). "A Preliminary Study of the Algae and Protozoa in Seafoam". Botanica Marina. 14 (1). doi:10.1515/botm.1971.14.1.24. ISSN 0006-8055.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Velimirov, B. (1980). "Formation and potential trophic significance of marine foam near kelp beds in the benguela upwelling system". Marine Biology. 58 (4): 311–318. doi:10.1007/bf00390779. ISSN 0025-3162.
- ↑ Veron, Fabrice (2015-01-03). "Ocean Spray". Annual Review of Fluid Mechanics (ภาษาอังกฤษ). 47 (1): 507–538. doi:10.1146/annurev-fluid-010814-014651. ISSN 0066-4189.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Craig, Douglas; Ireland, Robert J.; Bärlocher, Felix (September 1989). "Seasonal variation in the organic composition of seafoam". Journal of Experimental Marine Biology and Ecology. 130 (1): 71–80. doi:10.1016/0022-0981(89)90019-1. ISSN 0022-0981.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Druzhkov, Nikolai V.; Makarevich, Pavel R.; Bardan, Sergei I. (12 January 1997). "Sea foam as an object of sea-surface film studies". Polar Research (ภาษาอังกฤษ). 16 (2): 117–121. doi:10.3402/polar.v16i2.6630. ISSN 1751-8369.
- ↑ O'Dowd, Colin; Ceburnis, Darius; Ovadnevaite, Jurgita; Bialek, Jakub; Stengel, Dagmar B.; Zacharias, Merry; Nitschke, Udo; Connan, Solene; Rinaldi, Matteo (2015-10-14). "Connecting marine productivity to sea-spray via nanoscale biological processes: Phytoplankton Dance or Death Disco?". Scientific Reports (ภาษาอังกฤษ). 5: 14883. doi:10.1038/srep14883. ISSN 2045-2322. PMC 4604474. PMID 26464099.
- ↑ 8.0 8.1 Meneses, Isabel (June 1993). "Foam as a dispersal agent in the rocky intertidal of central Chile". European Journal of Phycology (ภาษาอังกฤษ). 28 (2): 107–110. doi:10.1080/09670269300650171. ISSN 0967-0262.
- ↑ 9.0 9.1 Napolitano, Guillermo E.; Richmond, Jacqueline E. (February 1995). "Enrichment of biogenic lipids, hydrocarbons and PCBs in stream-surface foams". Environmental Toxicology and Chemistry (ภาษาอังกฤษ). 14 (2): 197–201. doi:10.1002/etc.5620140203. ISSN 0730-7268.
- ↑ Blauw, A.N.; Los, F.J.; Huisman, J.; Peperzak, L. (November 2010). "Nuisance foam events and Phaeocystis globosa blooms in Dutch coastal waters analyzed with fuzzy logic". Journal of Marine Systems. 83 (3–4): 115–126. doi:10.1016/j.jmarsys.2010.05.003. ISSN 0924-7963.
- ↑ Administration, US Department of Commerce, National Oceanic and Atmospheric. "Why do harmful algal blooms occur?". oceanservice.noaa.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 28 November 2018.
- ↑ 12.0 12.1 Franzo, Annalisa; Karuza, Ana; Celussi, Mauro; Fornasaro, Daniela; Beran, Alfred; Di Poi, Elena; Del Negro, Paola (2015-04-17). "Foam production as a side effect of an offshore liquefied natural gas terminal: how do plankton deal with it?". Environmental Science and Pollution Research (ภาษาอังกฤษ). 22 (11): 8763–8772. doi:10.1007/s11356-015-4499-2. ISSN 0944-1344.
- ↑ Samantha Williams, Yamba hit by foam lather, The Daily Telegraph, 27 August 2007. Retrieved 5 November 2010.
- ↑ Eric Shackle, Australia Foams at the Mouth, OhmyNews, 26 January 2008. Retrieved 5 November 2010.
- ↑ Brett M.Christensen, Whipped Ocean – Beach Foam at Yamba New South Wales, Hoax-Slayer.com, August 2008. Retrieved 5 November 2010.
- ↑ A. Lander, The foam is back!, Sunshine Coast Daily, 20 February 2008. Retrieved 5 November 2010.
- ↑ A. Lander, No place like foam Sunshine Coast Daily, 24 January 2008. Retrieved 5 November 2010.
- ↑ Mark Furler, Foam a global hit, Sunshine Coast Daily, 26 January 2008. Retrieved 5 November 2010.
- ↑ "Sea foam swamps cars at seaside resort of Cleveleys". BBC News. 29 December 2011. สืบค้นเมื่อ 30 November 2012.
- ↑ "FOX 5's Tucker Barnes Braves the Sea Foam in Ocean City". Fox 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2012.
- ↑ "Foam swept in as gales hit Scotland". BBC News. 28 September 2012. สืบค้นเมื่อ 30 November 2012.
- ↑ "Sunshine Coast Winter Wonderland". Ninemsn. 28 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2013. สืบค้นเมื่อ 28 January 2013.
- ↑ "East coast low: Sea foam whipped up by storms could be hazardous to health, toxicologist warns". abc.net.au. 7 June 2016. สืบค้นเมื่อ 11 September 2017.
- ↑ "Thick sea foam rolls onto Sarina Beach during Cyclone Debbie". abc.net.au. 28 March 2017. สืบค้นเมื่อ 11 September 2017.
- ↑ [1] The Independent, 16 October 2017. Retrieved 18 October 2017.
- ↑ "Eleanor whips up sea foam party for dog". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2018-01-04.
- ↑ "It's Not Snow: Storm Sends Sea Foam Flying At Nantasket Beach". CBS Boston. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.
- ↑ "Sea foam engulfs Spanish streets". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2020-01-22.
[[หมวดหมู่:สมุทรศาสตร์กายภาพ]]