ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Naluethep Pingmuang/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาขาสถาปัตยกรรม
คติพจน์สถาปนิกนักปฏิบัติ บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้สากล สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
ประเภทกระทรวงการอุดมศึกษา
สถาปนาพ.ศ.2510 ค.ศ.1967
ผู้สถาปนาอ.สมบูรณ์ อินทรวิวัฒน์ อ.มนทิพย์ ปรีชานนท์ อ.บุญมี ไชยยันต์
ประธานผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรกานต์ จันทรวงค์
คณบดีอาจารย์นที สัมปุรณะพันธ์
ที่ตั้ง
เชียงใหม่
,
ประเทศไทย

สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สถาปนาเมื่อปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ.1967) ในชื่อแผนกวิชาออกแบบก่อสร้าง[1] ระดับ ปวส.( ภายใต้ชื่อวิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพในช่วงเวลานั้น ) ถือเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนทางด้านสถาปัตยกรรมแห่งแรกของภาคเหนือ ปัจจุบันมี 2 หลักสูตร ในระดับชั้นปริญญาตรี(5ปี) ประกอบด้วย หลักสูตรสถาปัตยกรรม และ หลักสูตรสถาปัตยกรรมภายใน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาส่งเสริมบุคลากรทางด้านสถาปัตยกรรมให้มีประสิทธิภาพและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ เพิ่มศักยภาพทางประสบการณ์,วิชาการ ร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม

ประวัติ

[แก้]

ก่อนการก่อตั้ง10 ปี ในปี พ.ศ.2500 (ค.ศ.1957) วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ[2] สังกัดอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ได้ถูกก่อตั้งในพื้นที่เมืองโบราณเชิงดอยสุเทพ ตำแหน่ง "เวียงเจ็ดลิน"[3] ของเมืองเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2500 โดยมี 6 แผนกวิชา โดยมีแผนก ช่างยนต์ ช่างกลโลหะ ช่างไฟฟ้า ช่างก่อสร้าง ช่างไม้ครุภัณฑ์ และพณิชยการ ผู้คนมักเรียกกันว่า "เทคนิคตีนดอย" ( ผู้คนในเชียงใหม่มักนิยมเรียกชื่อต่อท้ายด้วยสถานที่ตั้งมากกว่าชื่อจริง เช่น โรงพยาบาลสวนดอก โรงพยาบาลป่าแงะ ฯลฯ) ตีนดอย หมายถึง เชิงดอยสุเทพ

ปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ.1967) วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ก่อตั้งแผนกวิชา "ออกแบบก่อสร้าง" ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) โดยมี อาจารย์ สมบูรณ์ อินทวิวัฒน์ เป็นหัวหน้าแผนกในปีแรก (ก่อนหน้าอาจารย์สมบูรณ์ เป็นอาจารย์สอนช่างก่อสร้างที่โรงเรียนเทคนิคชายเชียงใหม่) โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งคือ อ.มนทิพย์ ปรีชานนท์, อ.บุญมี ไชยยันต์, อ.ประดิษฐ์ ราชแพทยาคม,อ.นุกูล ระกิติ,อ.สามารถ สิริเวชภัณฑ์

ในช่วงแรกนักศึกษาส่วนมากมาจาก อุเทนถวาย และช่างก่อสร้างดุสิต (ปวช.) โดยใช้อาคารเรียนร่วมกับแผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง มีห้องเขียนแบบขนาดใหญ่ 2 ห้อง และห้องบรรยาย 2 ห้อง (พ.ศ. 2511-2517)[4]


ยุคก่อตั้ง

รูปภาพหน้าอาคารเรียน ช่วงแรก ประมาณปี พ.ศ. 2511 - 2512 นักศึกษาภาพร่วมกับอาจารย์มนทิพย์ ปรีชานนท์

ช่วงแรกเริ่ม การเข้ามาของนักศึกษาและอาจารย์ เป็นการรวมของผู้คนต่างสถานที่ ต่างภูมิภาค มีทั้งคนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ เพราะเป็นทางเลือกต่อยอดของผู้ที่เรียนก่อสร้าง(ปวช.) ที่ชอบและถนัดในทางการออกแบบเขียนแบบสถาปัตยกรรม ผู้คนจึงมีความหลากหลาย ทุกคนเชื่อมโยงกันด้วยการเรียนและกิจกรรมที่แสดงถึงความสร้างสรรค์และบ้าบิ่นอย่างชัดเจน การแต่งตัวจะมีรูปแบบที่เป็นตัวตนมากกว่าแผนกอื่น

ภาพเต่าทองในกิจกรรมกีฬาสีในยุคแรก แสดงถึงความสร้างสรรค์และความร่วมมือ
ภาพกีฬาสี นักรบไทย ซามูไร และเผ่าโมฮอก ปี พ.ศ.2514 ขบวนกีฬาสีเริ่มจากพุทธสถาน สู่ประตูท่าแพ ถนนพระปกเกล้า ประตูช้างเผือก และเข้าสู่สนามกีฬาเทศบาลเชียงใหม่

ในด้านของการทำงานหลังจากจบการศึกษา มีทั้งทำงานในหน่วยงานรัฐ มีทั้งกลับต่างจังหวัด บางคนไปต่อต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ บ้างก็เปิดสำนักงานสถาปนิกเป็นของตนเอง ด้วยความสามารถและความต้องการทางตลาดที่สูงส่วนมากจะถูกจองตัวไปทำงานก่อนที่จะเรียนจบ ส่วนการทำงานในระหว่างการศึกษาเป็นรายได้เสริม มักจะเป็นงานเขียนแบบ ตัดโมเดล และวาดทัศนียภาพ(เขียนตีฟ)

  • พ.ศ. 2510 - 2511 ประกวดขบวนกระทง จัดวันเด็ก ฯลฯ [5]
  • พ.ศ. 2512 เกิดละครถาปัตย์ครั้งแรกในเชียงใหม่ ชื่อเรื่อง "ชิงรักหักสวาท บู๊ล้างผลาญกำลังภายใน[6]" แสดงที่ โรงหนังแสงตะวัน ในยุคที่วัยรุ่นนิยมไว้ผมยาว กางเกงขาบาน
  • พ.ศ. 2513 เนื่องด้วยอาจารย์สมบูรณ์และอาจารย์ผู้ก่อตั้งหลายๆท่าน จบจากคณะสถาปัตย์จุฬาฯ จึงมีการส่งต่อวัฒนธรรมบางอย่างในกิจกรรมนักศึกษาในช่วงแรก ที่เด่นชัดคือ "ลูกทุ่งถาปัตย์" โดยมีการแสดงลูกทุ่งในหลากหลายมิติ ทั้งสตริง และ ลูกทุ่งคำไทยคำเมือง (ไทยกลาง,ไทยเหนือ)
  • พ.ศ. 2514-2516 ขบวนกีฬาสี จากปีก่อนหน้าที่มีความสร้างสรรค์ ส่งผลให้เป็นที่น่าจับตาของผู้คนที่ดูขบวนพาเรดกีฬาสี ว่าแผนกสถาปัตย์จะมาในรูปแบบไหน ในปีนี้ มีการแต่งตัว นักรบไทย ซามูไร และเผ่าโมฮอก[7] มีการโกนหัว ในทรงผมซามูไร และทรงโมฮอก(โกนด้านข้าง เหลือกลางด้านบนเป็นแถบประมาณ 3" ) ในมุมของการรับน้องมีทั้งสนุกและแกล้งหยอกล้อ ทำให้เกิดความสนิทสนมกันอยู่กันเป็นกลุ่ม การเรียนจึงช่วยเหลือกันแข่งกันด้วยความสนุกสนาน
  • พ.ศ. 2517 เปลี่ยนชื่อจากเทคนิคภาคพายัพ เป็น วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวะศึกษา (ชาวบ้านเรียก เทคโนตีนดอย)
  • พ.ศ. 2515 ก่อตั้งระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
  • พ.ศ. 2523 เปลี่ยนชื่อจาก แผนกเทคนิคสถาปัตยกรรม เป็นแผนกช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม คณะวิชาออกแบบ ด้วยความนิยมทำให้มีผู้เข้าสอบเป็นจำนวนมาก (สอบ 800 คน รับ 65 คน)[8]
  • พ.ศ. 2526-2527 ดำเนินการก่อสร้าง อาคารเรียนสถาปัตยกรรม และเปิดใช้งานในปี พ.ศ.2528 โดยอาจารย์ ธนาวุฒิ ลี้ตระกูล (รุ่น 11) เป็นผู้ออกแบบอาคาร [9]


ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู

  • พ.ศ. 2526 - 2531 ด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจทำให้เกิดการจ้างงานทางด้านสถาปัตยกรรมเป็นจำนวนมาก เกิดสถานการณ์ที่รุ่นพี่เหมารถตู้มารับรุ่นน้องไปทำงาน การเบิกจ่ายค่าทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น บ้างก็จ่ายก่อนล่วงหน้า[10] คนเรียนจบก็ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วเพราะเป็นอาชีพที่อยู่ในกระแส ส่วนนักศึกษาก็ได้ประสบการณ์ในการทำงานจริงตั้งแต่ตอนเรียน จนมีรายได้ที่สามารถซื้อโทรศัพท์มือถือและรถยนต์ขับได้[11] ถือเป็นการส่งต่อความรู้ความสามารถระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง ที่ได้นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน

หลายคนในระดับ ปวช. เมื่อเรียนจบแล้ว มักนิยมไปเรียนต่อในระดับชั้น ปวส. ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง (ครุฯ) หรือ เรียนในมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรปริญญาตรี เช่น มหาวิทยาลัยศิลปากร ฯลฯ มีหลายท่านได้กลับมาเป็นอาจารย์ผู้สอนในภายหลัง


ยุคเพิ่มเติมและพัฒนาหลักสูตร ตามยุคสมัย

หลังจากความต้องการทางตลาดเพิ่มขึ้น ความต้องการสาขาวิชาที่มุ่งเน้นความสามารถและทักษะเฉพาะทางจึงเกิดขึ้น รวมถึงระบบการศึกษาของประเทศมีการเปลี่ยนแปลง ระหว่างหนึ่ง ในเชียงใหม่และพื้นที่จังหวัดอื่นก็มีการก่อตั้งการเรียนการสอนทางด้านสถาปัตยกรรมหลายแห่ง ผู้สอบเข้าจึงเป็นคนในภูมิภาคเป็นส่วนใหญ่ต่างจากยุคก่อตั้งที่มาจากต่างจังหวัด มีการส่งต่อกิจกรรม,วัฒนธรรมในรูปแบบเช่นเดียวกับที่เป็นมาก่อนหน้า มีการช่วยเหลือกันระหว่าง รุ่นพี่ รุ่นน้อง และอาจารย์

ลานต้นไทร กลางกลุ่มอาคารเรียนสถาปัตยกรรม
  • พ.ศ. 2533 ก่อตั้งแผนก "สถาปัตยกรรมภายใน" โดย อาจารย์ลดาวัลย์ จุลเดชะ และ อาจารย์ยุทธนา เหมาะประสิทธิ์

ก่อตั้งแผนก "สถาปัตยกรรมไทย" โดย อาจารย์สามารถ สิริเวชภัณฑ์ และ อาจารย์สุพล ปวราจารย์

ก่อตั้งแผนก "ภูมิสถาปัตยกรรม" โดย อาจารย์ชัยพฤกษ์ นิลวรรณ

ทั้ง 3 แผนก อยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2 ปี [12]


  • พ.ศ. 2539 เปิดสาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม ระดับชั้น ปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) โดยในห้วงระยะเวลาใกล้เคียงกันนี้ ได้เกิดสาขา,คณะ สถาปัตยกรรมหลายแห่งในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2542 ปิดระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) "แผนกสถาปัตยกรรม" เหลือเพียง "แผนกเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม" ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และ ปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
  • พ.ศ. 2545 เปลี่ยนชื่อจาก "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตล้านนา" เป็น "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา" , ปิดสาขาสถาปัตยกรรมไทย (ปวส.)
  • พ.ศ. 2546 ปรับเปลี่ยนระดับ ปวส. เป็น ปริญญาตรี (5ปี) ทั้งสาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และ สาขาสถาปัตยกรรมภายใน
  • พ.ศ. 2551 ปิดสาขาภูมิสถาปัตยกรรม(ปวส.)
  • พ.ศ. 2549 - 2550 สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง (ปริญญาตรี โครงการพิเศษ)

ยุคปัจจุบัน

  • สาขาวิชา มี 2 สาขา สาขาสถาปัตยกรรม(5ปี) และ สาขาสถาปัตยกรรมภายใน(5ปี) โดยได้พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับตัวตนของผู้เรียน และมุ่งเน้นประสิทธิภาพและจริยธรรมตามความต้องการของตลาด เพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคม [13]
  • การวิจัย มุ่งพัฒนาและมีส่วนร่วมต่อชุมชนและสังคม โดยบูรณาการร่วมกับหลายภาคส่วน
  • ประเพณีและวัฒนธรรม ส่งเสริมการเรียนรู้และปฎิบัติ เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาให้เหมาะสมต่อยุคสมัย
  • สมาคมศิษย์เก่า มีการเชื่อมโยงผ่านกิจกรรมทางวิชาชีพ วิชาการ และมีกิจกรรมสัมพันธ์เพื่อสังคมทั้งภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่อง
  • บุคคลสำคัญ มีหลากหลายสาขาอาชีพ มีทั้ง สถาปัตยกรรม บริหารการศึกษา นักธุรกิจ นักขับเคลื่อน นักออกแบบ ศิลปิน ฯลฯ    

ผู้มีชื่อเสียง

[แก้]
ลำดับ ชื่อ นามสกุล รุ่น สาขา เกียรติประวัติและผลงาน
1 ตือ สมบัษร ถิระสาโรช[14] 18 นักสร้างสรรค์ นักจัดกิจกรรม นักสร้างสรรค์ทางด้านวงการบันเทิง นักจัดกิจกรรม
2 บอย อิมเมจิ้น[15]

จตุรงค์ ดรุณ

32 ศิลปิน นักแต่งเพลง ศิลปิน นักแต่งเพลงเชิงปรัชญา ที่มีเนื้อหาที่ลุ่มลึก ลึกซึ้ง
3 อดุลย์ เหรัญญะ 21 สถาปนิกพื้นถิ่นล้านนา นายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (ล้านนา)

งานออกแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล้านนา ในลักษณะเรือนหมู่ บ้านพักอาศัย โรงแรม ฯลฯ

งานออกแบบและพัฒนาพื้นที่จิตวิญญาณทางศาสนา เช่น วัดผาลาด

4 รุ่ง จันตาบุญ[16] 25 สถาปนิกประเพณีล้านนา ออกแบบสถาปัตยกรรมประเพณี ประเภท วัด และสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมที่มีความวิจิตร

เช่น หอคำหลวง วัดเจดีย์หลวง วัดเจ็ดริน วัดโลกโมฬี โรงแรมดาราเทวี(บางส่วน) ฯลฯ

5 ธนิต ชุมแสง 19 นักบริหาร

นักธุรกิจ นักพัฒนา

นายกสมาคมผังเมืองไทยจังหวัดเชียงใหม่[17] นายกสมาคมธุรกิจร้านอาหารเชียงใหม่[18]

ประธานสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนปรินส์ฯ ผู้ก่อตั้งและเจ้าของร้านอาหารในเครือกู้ดวิว[19]

6 ดร.โชคอนันต์ วานิชเลิศธนาสาร  25 นักบริหารการศึกษา คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
7 รศ.ดร ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ 21 นักบริหารการศึกษา อดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
8 อนุรักษ์ คุณยศยิ่ง 16 สถาปนิก

นักบริหาร

ออกแบบอาคารเรียนขนาดใหญ่ เช่น อาคารเรียนมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม

ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ งานปรับปรุงสำนักงานใหญ่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

9 ปอ ภราดร พรอำนวย[20] 34 นักขับเคลื่อนสังคม,นักดนตรี ผู้ขับเคลื่อนสังคม สร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับเมือง เช่น การปลูกต้นไม้รอบคูเมือง

การปลุกจิตวิญญาณเมืองผ่านกิจกรรมดนตรี ในระดับนานาชาติ

10 เก่ง นครินทร์ ยาโน[21] 25 นักออกแบบผลิตภัณฑ์ วิทยากร ออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และร่วมพัฒนาความสามารถในสถาบันการศึกษา

พัฒนารายได้ชุมชนผ่านสิ่งทอ

11 ขวัญชัย สุธรรมซาว 30 สถาปนิก

นักบริหาร

นายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (ล้านนา)

สถาปนิกสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ สำนักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์

12 อั๋น อภิศักดิ์ กำเพ็ญ[22] 36 เกษตรชุมชน วิทยากร นักพัฒนาเกษตรชุมชนแม่ทา ลำพูน ผ่านผลผลิตสู่ผักออแกนิค และเป็นผู้ให้ความรู้

ต่อชุมชนและสังคมในระดับนานาชาติ

13 ธนกร ไชยจินดา[23] 14 ศิลปินสีน้ำ นักวาดภาพสีน้ำสถาปัตยกรรม
14 เอก สาริน นิลสนธิ[24] 34 สถาปนิก โครงการ จริงใจมาเก็ต, รางวัลบ้านน่าอยู่ จากบ้านและสวน

ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มีรายละเอียดที่น่าสนใจ

15 มนตรี ปัญญาฟู 25 คอนเทนท์ครีเอเตอร์

อินฟลูเอ็นเซอร์

เพจเชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น[25] บอกเล่าเรื่องราวและประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองและวัฒนธรรม

ของเมืองเชียงใหม่และล้านนา มีผู้ติดตามมากกว่า 5.5 แสนคน

  1. หนังสือ "สล่าปนิก" หน้าที่ 1 พ.ศ.2560 ในวาระครบรอบ 50 ปี สถาปัตยกรรมเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  2. "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่", วิกิพีเดีย, 2024-11-12, สืบค้นเมื่อ 2024-11-30
  3. "เวียงเจ็ดลิน", วิกิพีเดีย, 2024-11-08, สืบค้นเมื่อ 2024-11-30
  4. บทความหน้าที่ 32 หนังสือ 35 ปี สถาปัตย์
  5. บุณส่ง เครื่องทิพย์ บทความรุ่นที่ 1 หน้าที่ 76 หนังสือ 35 ปี สถาปัตย์
  6. สมชัย ชนะวรรณ บทความรุ่นที่ 3 หน้าที่ 79 หนังสือ 35 ปี สถาปัตย์
  7. มนตรี วงค์เกษม บทความรุ่น 5 (ปี พ.ศ.2514) ภายในหนังสือ สล่าปนิก พ.ศ.2560 ในวาระครบรอบ 50 ปี สถาปัตยกรรมเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  8. วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง บทความจากรุ่น 17 หน้าที่ 110 หนังสือ 35 ปี สถาปัตย์
  9. เรื่อง ตึกใหม่ บ้านใหม่ หน้าที่ 9 ภายในหนังสือ สล่าปนิก พ.ศ.2560 ในวาระครบรอบ 50 ปี สถาปัตยกรรมเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  10. บทความรุ่นที่ 20 หน้าที่ 10 ภายในหนังสือ สล่าปนิก พ.ศ.2560 ในวาระครบรอบ 50 ปี สถาปัตยกรรมเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  11. เพิ่มพงษ์ พงษ์อำไพ บทความจากรุ่น 21 หน้าที่ 125 หนังสือ 35 ปี สถาปัตย์
  12. เรื่อง การเรียนการสอน หน้าที่ 19 ภายในหนังสือ สล่าปนิก พ.ศ.2560 ในวาระครบรอบ 50 ปี สถาปัตยกรรมเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  13. https://arts.rmutl.ac.th/page/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1?lang=th
  14. https://praew.com/people/173790.html
  15. https://readthecloud.co/boy-imagine/
  16. รุ่ง จันตาบุญ
  17. https://www.tuda.or.th/index.php/commissioner-of-architects-lan-na/
  18. https://www.northpublicnews.com/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A5/
  19. http://www.goodview.co.th/2019/
  20. https://themomentum.co/thechair-pharadonphonamnuai/
  21. https://www.sarakadee.com/2023/03/22/yano-handicraft/
  22. https://www.youtube.com/watch?v=GpL97JMjP9A&t=26s
  23. https://www.facebook.com/thanakornwaterc
  24. https://dsignsomething.com/2019/02/26/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%84%E0%B8%B8/
  25. https://www.facebook.com/unseencnx