ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Kunlarote/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อีฟ แคลง
เกิดอีฟ แคลง
28 เมษายน ค.ศ. 1928(1928-04-28).
Nice, ฝรั่งเศส
เสียชีวิตมิถุนายน 6, 1962(1962-06-06) (34 ปี)
ปารีส, ฝรั่งเศส
สัญชาติฝรั่งเศส.
มีชื่อเสียงจากจิตรกรรม, ศิลปะการแสดง
ขบวนการนูโว เรียลลิสม์.

อีฟ แคลง (Yves Klein) เกิดที่เมืองนีซ(Nice) ประเทศฝรั่งเศส เป็นศิลปินชาวฝรั่งเศส ผู้นำสีฟ้ามาจดเป็นลิขสิทธิ์และนำมาใช้ในการสร้างงานศิลปะ เขาเป็นหนึ่งในผู้นำกลุ่มศิลปะแนว นูโว เรียลลิสม์ (Nouveau réalisme) ใช้ชีวิตและการทำงานศิลปะส่วนใหญ่ในกรุงปารีสและเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจที่นั่น งานของเขาสะท้อนให้เห็นถึงความคิดแปลกใหม่ นำเสนอผู้ชมด้วยรูปแบบที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้นเร้าใจตลอดเวลา นิทรรศการ “Monochrome Proposition” เป็นหนึ่งในผลงานที่มีชื่อเสียงของเขา

ชีวิต (1928-1962)[แก้]

อีฟ แคลง เกิดและเติบโตในบ้านที่ใช้เป็นสตูดิโอสำหรับวาดภาพ บิดาของเขาชื่อ แฟรด แคลน เป็นลูกครึ่งฮอลแลนด์กับอินโดนีเซีย เป็นศิลปินรูปธรรม(Impressionist) ส่วนแม่ชื่อมารี เรมงด์ เกิดที่แอลป์-มาริติม โด่งดังในฐานะศิลปินนามธรรม[(Tachisme) รูปแบบการวาดภาพแบบนามธรรมที่เป็นที่นิยมในฝรั่งเศสในช่วงปีค.ศ.1940-1950) แคลงจึงได้ใกล้ชิดและคลุกคลีกับศิลปะมาตั้งแต่เกิด ตั้งแต่ปี ค.ศ.19420 ถึง ค.ศ.1946] แคลงได้เข้าศึกษาที่ The École Nationale de la Marine Marchande และ the École Nationale des Langues Orientales เขาได้เข้าร่วมชมรมยูโด ในช่วงฤดูร้อน ที่ยิมยูโดซ แคลงได้ทำความรู้จักกับโคลด ปาสกาล และอาร์มองด์ แฟร์นองเด พวกเขาฝึกยูโดกันที่นี่ และเขามีความเชื่อ 3 อย่างเกี่ยวกับ การเดินทาง การสร้างสรรค์ และความเชื่อเรื่องจิตและวิญญาณ บนชายหาดที่เมืองนีซ พวกเขาทั้งสามคนเลือกที่จะ “แบ่งปันโลก” โดยอาร์มองด์ค้นพบเรื่องโลกและความร่ำรวย โคลด เรื่องค้นพบเรื่องอากาศ และแคลง ค้นพบเรื่องเรื่องท้องฟ้าและความไม่สิ้นสุด แคลงได้กลายเป็นนักยูโดที่เก่งกาจภายในเวลาไม่กี่ปี นอกจากเป็นนักยูโดแล้วเขายังต้องการมีเชื่อเสียงในวงการยูโด เขาได้เดินทางไปเก็บภาพเกี่ยวกับกีฬายูโดที่ญี่ปุ่นและนำภาพถ่ายและภาพเคลื่อนไหวที่เขาบันทึกไว้กลับมา เขาสร้างชื่อจากการนำสิ่งเหล่านั้นมาเผยแพร่และขายในประเทศฝรั่งเศส[1] หลังจากนั้นราวปี ค.ศ.1955 เขาได้จัดแสดงผลงานของเขาขึ้นที่ The Galerie des Solitairesในกรุงปารีส ระยะแรกผลงานของแคลงคือการใช้สีโทนเดียวแบบ Monochrome แต่ยังมีความหลากหลายโดยใช้สีส้ม สีเหลือง สีชมพู สีแดง และสีเขียว นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1957 เป็นต้นไปผลงานของแคลงจะใช้สีน้ำเงินเป็นหลัก นอกจากภาพวาดแล้วเขายังเป็นศิลปินคนแรกๆที่บุกเบิกศิลปะแบบ Performance Art ในฝรั่งเศสอีกด้วย[2] เมื่อวันที่ 21 มกราคม ปีค.ศ.1962 เขาได้เข้าพิธีสมรสกับ Rotraut Ueckerที่โบสถ์ Saint Nicolas des Champs ในกรุงปารีส ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาเช่น International Klein Blue (1962) และ Monotone Symphony (1949) แคลงได้จบชีวิตลงด้วยวัยเพียง 34 ปี เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ.1962 ณ.กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[3]

ผลงานทางศิลปะ[แก้]

1957[แก้]

ค.ศ.1957 จุดเริ่มต้นของยุคสีฟ้า

อีฟแคลงได้จัดแสดงนิทรรศการผลงานส่วนตัวในชื่อว่า Proposte monocrome, epoca blu 

ณ.แกเลอรี่ อะโปลีแนร์ (à la Galerie Apollinaire ) ที่มิลาน เขาได้แสดงผลงานทั้ง 11 ผลงานเป็นภาพวาดโดยใช้สีฟ้าสีเดียวทั้งหมด ในปีเดียวกัน อีฟ แคลง ได้จัดการแสดงผลงานอีกครั้งหนึ่งโดยเทคนิค Monochrome Proposition (การแสดงสีสีเดียว) ที่บ้านไอริส เคลิท แกลลอรี่( Iris Clert Gallery ) ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันกับที่เขาเคยจัดขึ้นที่มิลาน เป็นจุดสำคัญในการเริ่มต้นในยุคสีฟ้า มีการปล่อยลูกโป่ง 1,001 ลูกขึ้นบนท้องฟ้า ณ.กรุงปารีส เขาเรียกการแสดงงานครั้งนี้ว่า Sculpture aérostatique อีกผลงานหนึ่งซึ่งแสดงแนวความคิดใหม่ของเขา ได้ถูกจัดขึ้นที่บ้านโกไลแอต (Chez Colette Allendy) เช่น การใช้สีฟ้าเปล่าๆในการทำงานศิลปะและการใช้สิ่งรอบตัวมาทำงานศิลปะ รวมทั้งงานที่ใช้ไฟเผา ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ไฟเข้ามาในงานศิลปะ งานที่ไร้ตัวตนไม่มีจุดมุ่งหมาย ถูกจัดแสดงในชื่อว่า การแสดงความว่างเปล่า (Exhibition of Emptiness) โดยจัดขึ้นในห้องว่างเปล่าที่ทาสีขาวสะอาดทั้งห้อง ผู้ชมมากกว่าสองพันคนเข้าไปในห้องเพื่อชมสิ่งที่เขาเรียกว่า เฟอนิสซาจ (Vernissage) อันได้แก่ ฝาผนังที่ว่างเปล่า[4]

1958[แก้]

ในวันที่ 5 มิถุนายน 1958 การทดลองเทคนิคใหม่ของเขาที่เรียกว่า “pinceaux vivants” หรือฝีแปรงที่มีชีวิต ถูกจัดขึ้นในอพาร์ทเม้นท์ของโรเบิรตโกเด้( Robert Godet )ที่ แซงหลุย ณ. กรุงปารีส (Saint-Louis à Paris) สีฟ้า ได้ถูกจดเป็นลิขสิทธิ์ของอีฟแคลง เขาได้ใช้ผู้หญิงเปลือย ซึ่งมีการนำสีฟ้ามาทาบนร่างกายและกลิ้งเกลือกไปมาบนผลงานของเขา[5]

1960[แก้]

ค.ศ. 1960 ปิแอร์ เรสตานี (Pierre Restany) กับกลุ่มของ อีฟ แคลง (Yves Klein) ได้เคลื่อนไหวก่อตั้งศิลปินกลุ่มหนึ่งโดยเรียกชื่อกลุ่มของพวกตนว่า “นูโว เรียลลิสม์” โดยมีจุดประสงค์ในเรื่องการพิทักษ์รักษาศิลปะของสำนักปารีส (School of Paris) ไม่ให้โน้มเอียงไปในแนวอิทธิพลใหม่ๆ จากศิลปะของอเมริกา เท่ากับเป็นปรากฏการณ์ของศิลปินในยุโรป ซึ่งรวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อเป็นปฏิปักษ์ต่อคตินิยมพ็อพ อาร์ตของอเมริกานั่นเอง เหตุที่ใช้คำว่า “นิว” (New = ใหม่) เพราะว่ามีการนำเสนอความเป็นบริสุทธิ์และความง่ายซึ่งแนบสนิทอยู่กับส่วนต่างๆ ของสัจธรรม ดังเช่น พวกเขากำลังเป็นอยู่ในเวลานี้จริงๆ เรสตานีกล่าวว่า “ลัทธินูโว เรียลลิสม์ เป็นเครื่องบอกสัจธรรมทางสังคมศาสตร์ โดยปราศจากความตั้งใจจะถกเถียงใดๆ ทั้งสิ้น” 9 มีนาคม 1960 เขาจัดแสดงผลงานที่สถานแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยนานาชาติ( Galerie Internationalale d’Art Contemporatine) ซึ่งงานจัดแสดงครั้งนี้ได้มีการนำเพลง “ซิมโฟนีเสียงเดียว” (Monotone Symphony) เพลงที่ประพันธ์ขึ้นโดยอีฟ แคลง โดยใช้เสียงแบบโทนเดียวในการบรรเลง 10 นาที ร่วมกับการแสดงผลงานในชื่อ Blue Anthoropometrics โดยได้นำสีฟ้ามาทาร่างกายบนผู้หญิงเปลือย 3 คนจากนั้นนำร่างมากลิ้งเกลือกลงบนผืนผ้าซึ่งกางบนพื้นห้องรวมทั้งบนกำแพง คำแถลงการณ์ของกลุ่มตีพิมพ์ในนครมิลานเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1960 มีการจัดตั้งกลุ่มเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมปีเดียวกันนั้น ในปลายปีก็ได้มีผลงานชื่นชุมนุมของศิลปินกลุ่มก้าวหน้าของฝรั่งเศสขึ้นในปารีส ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ทางกลุ่มจึงจัดรวบรวมผลงานแสดงเป็นครั้งแรก และครั้งที่สองในเดือนพฤษภาคม 1961 ที่ เจ. แกลเลอรี โดยให้ชื่อว่า “แอท 40 โอเวอร์ ดาดา” (At 40 Over Dada) สมาชิกคนสำคัญของกลุ่มทั้งหมดมี 9 คน คือ อีฟ แคลง (Yves Klein, 1928-1962),เซซาร์ (Cesar) 1921-1998,แตงเกอลี (Tinguely, 1925-),เฮนส์ (Heins),วิลเลอเกล (Villegle),ดูเฟรสเนอ (Dufresne),มาร์ตีอาล เรย์เซอ (Martial Raysee),อาร์มัง (Arman) ,มันโซนี (ManZoni, 1933-1963) ทั้งหมดมีเรสตานีเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงจัดประสานงาน โดยมีเป้าหมายของอุดมคติเห็นพ้องต้องกันในการที่จะแสดงผลงานให้ตรงต่อสัจธรรม พวกเขาแสดงสัจธรรมดังเช่นความจริงที่เป็นอยู่ อีกทั้งลดปัญหาความคิดส่วนตัวลง เพื่อปัญหาการสร้างสรรค์ทางศิลปะละสร้างสำนึกใหม่แห่งสัจธรรมขึ้น เป็นสัจธรรมทางสังคมที่แสดงอย่างตรงๆ มิต้องอ้อมต่อไป

Leap into the void(1960) ในเดือนตุลาคม ปี 1960 ศิลปินได้จ้างช่างภาพ Harry Shunk และ janos (jean) Kender เพื่อสร้างงานโดยทำการตัดต่อภาพของศิลปินขณะกระโดดลงจากชั้นสองของหน้าต่างในอาคาร บริเวณชานเมือง Fontenay-aux-Roses ประเทศฝรั่งเศส ศิลปินจงใจทำผลงานนี้ขึ้นจากภาพสองภาพ ภาพแรกเป็นภาพที่ศิลปินทำท่ากระโดดลงมาโดยมีผ้าใบกันน้ำรองรับที่พื้นถนน ส่วนภาพที่สองเป็นภาพถ่ายอาคารตรงนั้น เมื่อนำมาตัดต่อก็จะได้ภาพเสมือนศิลปินกำลังดิ่งเข้าสู่ความว่างเปล่า ปฏิเสธแรงโน้มถ่วงใดๆ ผลงานนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการฝึกยูโดและทัศนคติในเรื่องการจุ่มตัวเองลงไปในสีหรือจุ่มลงไปในความว่างเปล่าอีกครั้ง ภาพตัดต่อนี้ศิลปินนำมาตีพิมพ์จากลงในหนังสือพิมพ์ Parisian เพื่อเป็นอนุสรณ์เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการผลิตซ้ำของวัตถุ เพื่อกระจายออกสู่สาธารณชน[6]

1961[แก้]

ในปี ค.ศ. 1961 อีฟ แคลงได้จัดนิทรรศการจิตรกรรมเผาไฟ โดยใช้สีแดงและสีน้ำเงินระบายบนแผ่นใยสังเคราะห์แอสเบสทอส ซึ่งเป็นวัสดุทนไฟ จากนั้นใช้เครื่องพ่นผ่านไปที่ภาพ สี่ที่ถูกไฟไหม้จะเกิดปฏิกิยาต่างๆ บางแห่งไหม้เกรียม และบางแห่งสีเปลี่ยนไป ปรากฏรูปลักษณ์พิเศษขึ้น ถัดมาในปีเดียวกัน เขาแสดงน้ำพุไฟและน้ำพุน้ำ ด้วยการใช้ไฟพ่นให้ปะทะกับเครื่องพ่นน้ำ ดูผลของไฟละน้ำซึ่งปะทะกันกลางอากาศ[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Nicolas Charlet. (2000). Yves Klein. Paris : Adam Biro, Page 4.
  2. [1]
  3. [2]
  4. [3]
  5. [4]
  6. [5]
  7. สุนทรพงษ์ศรี,กำจร. "ศิลปะสมัยใหม่". กรุงเทพฯ,ประเทศไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2544. หน้า517-518.