ผู้ใช้:Ichi BSS211/ทดลองเขียน1
[แก้] | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
หน้าแรก | เกี่ยวกับข้าพเจ้า | ทดลองเขียน | ห้องเก็บของ | สถิติ | กล่องพูดคุย |
นี่คือหน้าทดลองเขียนของ Ichi BSS211 หน้าทดลองเขียนเป็นหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้มีไว้ทดลองเขียนหรือไว้พัฒนาหน้าต่าง ๆ แต่นี่ไม่ใช่หน้าบทความสารานุกรม ทดลองเขียนได้ที่นี่ หน้าทดลองเขียนอื่น ๆ: หน้าทดลองเขียนหลัก |
อำนาจบริหาร | อำนาจนิติบัญญัติ | อำนาจตุลาการ |
อำนาจอธิปไตย
[แก้]อำนาจอธิปไตย (อังกฤษ: Sovereignty) อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรือ อำนาจสูงสุดในการปกครอง "รัฐ" ดังนั้น สิ่งอื่นใดจะมีอำนาจยิ่งกว่าหรือขัดต่ออำนาจอธิปไตยหาได้ไม่ โดยหลักสากล แต่ละรัฐจะมีองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอยู่ 3 องค์กร ได้แก่
1. อำนาจบริหาร (การบริหารพัฒนาประเทศ)
2. อำนาจนิติบัญญัติ (การพิจารณา ตรากฎหมาย)
3. อำนาจตุลาการ (การตัดสินคดีความ)
อำนาจอธิปไตยนี้ นับเป็นองค์ประกอบของสำคัญที่สุดของความเป็นรัฐ เพราะการจะเป็น "รัฐ" ได้นั้น นอกจากต้องประกอบด้วย อาณาเขตประชากรและรัฐบาลแล้วย่อมต้องมี อำนาจอธิปไตยด้วย กล่าวคือ ประเทศนั้นต้องเป็นประเทศที่สามารถมีอำนาจสูงสุด (อำนาจอธิปไตย) ในการปกครองตนเอง จึงจะสามารถเรียกว่า "รัฐ" ได้
อำนาจอธิปไตย แบ่งออกเป็นหลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน คือ ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด เรียกว่า ระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ คือ กษัตรย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด เรียกว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นต้น อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน หรือ เรียกว่า ระบอบประชาธิปไตย คือ ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แต่ในทางปฎิบัติแล้ว การที่จะให้ประชาชนทุกคนมา จัดการบริหารประเทศนั้นเป็นไปไม่ได้ จึงต้องมีการจัดตั้งตัวแทนในการกระทำการต่างๆ และจะต้องมีหลัก การแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย โดยหลักสากล แต่ละรัฐจะมีองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอยู่ 3 องค์กร ได้แก่ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ
อำนาจบริหาร
[แก้]อำนาจบริหาร (อังกฤษ: Executive) มีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย โดยยึดตามอำนาจนิติบัญญัติ โดยหากปราศจากตัวบทกฎหมายที่นิติบัญญัติได้กำหนดไว้ ฝ่ายบริหารจะไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น
ฝ่ายบริหารสามารถเป็นบ่อเกิดของกฎหมายบางประเภทได้ เช่น กฤษฎีกาหรือคำสั่งของฝ่ายบริหาร ระบบข้าราชการประจำบริหารมักเป็นที่มาของระเบียบ หากฝ่ายบริหารทำหน้าที่เกินขอบเขตหรือไม่ตรงตามเจตนารมย์ของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายนิติบัญญัติก็สามารถควบคุมฝ่ายบริหารได้ เช่น การตั้งกระทู้คำถาม การเสนอญัตติด่วน การอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารหรือรายบุคคลหรือทั้งคณะ เป็นต้น
อำนาจนิติบัญญัติ
[แก้]อำนาจนิติบัญญัติ (อังกฤษ: Legislative) มีหน้าที่หลักในการตรา แก้ไข ตรวจสอบ หรือยกเลิกกฎหมาย รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งยังมีอำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร และพิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องสำคัญ ๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาชน อำนาจนิติบัญญัติ อันประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา มีหน้าที่หลักในการตรา แก้ไข ตรวจสอบ หรือยกเลิกกฎหมาย รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งยังมีอำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร และพิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องสำคัญ ๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาชน
อำนาจตุลาการ
[แก้]อำนาจตุลาการ (อังกฤษ: Judiciary) เป็นระบบศาลซึ่งทำหน้าที่ตีความและใช้บังคับกฎหมาย (apply the law) ในนามของรัฐ ตุลาการยังเป็นกลไกสำหรับระงับข้อพิพาท ภายใต้ลัทธิการแยกใช้อำนาจ ฝ่ายตุลาการมักไม่สร้างกฎหมาย (ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายนิติบัญญัติ) หรือบังคับใช้กฎหมาย (enforce the law) (ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร) แต่ตีความกฎหมายและใช้บังคับกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริงของแต่ละคดี ฝ่ายตุลาการมักได้รับภารกิจให้ประกันความยุติธรรมเท่าเทียมกันตามกฎหมาย มักประกอบด้วยศาลอุทธรณ์สูงสุด (court of final appeal) เรียกว่า "ศาลสูงสุด" หรือ "ศาลรัฐธรรมนูญ" ร่วมกับศาลที่ต่ำกว่า