ผู้ใช้:Ahcuna/ทดลองเขียน/บทความ 60
Coordinates: longitude seconds >= 60
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
<mapframe>: เนื้อหา JSON ไม่ตรงตามลักษณะของ GeoJSON+simplestyle
| |
เลขที่ 2/617 หมู่ที่ 1 ถ.รังสิต-นครนายก ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 | |
พิกัด | 14°02′33.3″N 100°67′73.1″E / 14.042583°N 101.136972°E Coordinates: longitude minutes >= 60 Coordinates: longitude seconds >= 60 {{#coordinates:}}: ลองจิจูดไม่ถูกต้อง |
ข้อมูล | |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล |
สถาปนา | 3 มีนาคม พ.ศ. 2536 |
เขตการศึกษา | เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
รหัส | 1013270183 |
ผู้อำนวยการโรงเรียน | นายชาลี วัฒนเขจร |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1–6 |
เพศ | สหศึกษา |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | • ไทย • อังกฤษ |
สี | ชมพู ฟ้า |
เพลง | "มาร์ชชมพูฟ้า","มาร์ชสวนนนท์" |
เว็บไซต์ | www |
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทสหศึกษา ในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ลำดับที่ห้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านศุภาลัยบุรี ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นโรงเรียนในโครงการจุดสกัดเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงนามประกาศจัดตั้งโรงเรียนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2536 และแต่งตั้งให้นายวีระ กาญจนะรังสิตา มาปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต[1]
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ถือกำเนิดขึ้นโดยคุณประทีป ตั้งมติธรรม ศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งประธานกรรมการบริหารบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ได้มอบที่ดินจำนวน 15 ไร่ ภายในหมู่บ้านศุภาลัยบุรี ในปี พ.ศ. 2534 เพื่อจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย
ต่อมากรมสามัญศึกษาขณะนั้นได้กำหนดโครงการจัดตั้งโรงเรียนเพื่อเป็นจุดสกัดไม่ให้นักเรียนในเขตปริมณฑลเข้าไปเรียนในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใน เพื่อจะช่วยลดปัญหาการจราจรของกรุงเทพมหานครได้อีกส่วนหนึ่งด้วย กรมสามัญศึกษาจึงได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ขึ้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2536 โดย และแต่งตั้งให้นายวีระ กาญจนะรังสิตา มาปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียน
ในปีการศึกษา 2536 – 2538 ได้รับความอนุเคราะห์ จากบริษัท ศุภาลัย จำกัด ให้ใช้อาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ภายในหมู่บ้านศุภาลัยบุรี เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว
ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ได้ระดมทรัพยากรจัดซื้อที่ดิน ด้านหน้าโรงเรียน จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 27.3 ตารางวา จากบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) สำหรับเป็นที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งของนักเรียน
กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้เปิดทำการสอนหลักสูตรห้องเรียนพิเศษ 2 หลักสูตร คือ โครงการความเป็นเลิศทางวิชาการ ( Gifted Education Program : GEP) และโครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (Mini English Program : MEP) ในวันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2546 โรงเรียนได้ทำการอัญเชิญ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นประดิษฐานยังพระบรมราชานุสาวรีย์
วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546 นายวีระ กาญจนะรังสิตา ผู้อำนวยการโรงเรียนได้เกษียณอายุราชการ กรมสามัญศึกษาจึงได้แต่งตั้งให้ นายสุรศักดิ์ สว่างแสง มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต และคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ระดมทรัพยากรจัดซื้อที่ดินเป็นครั้งที่ 2 บริเวณด้านทิศเหนือติดสนามฟุตบอล จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 55.5 ตารางวา จากบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)
ปีการศึกษา 2548 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายพีระ ชัยศิริ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแทนนายสุรศักดิ์ สว่างแสง เดินทางมาปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิตและคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ระดมทรัพยากรจัดซื้อที่ดินเป็นครั้งที่ 3 บริเวณด้านทิศใต้ จำนวน 4 ไร่ 3 งาน 75.4 ตารางวา เมื่อ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิตคณะกรรมการสถานศึกษาและคณะกรรมการผู้ปกครองเครือข่ายได้ดำเนินการดังนี้ จัดซื้อที่ดินด้านทิศใต้ของโรงเรียนเพิ่มเติมจำนวน 1 ไร่ 1 งาน 38 ตารางวา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 จัดสร้างทางเชื่อม 4 ชั้น ระหว่างอาคารสิรินธร 1 และอาคารสิรินธร 2 เสร็จสิ้นและทำพิธีเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2551
ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต คณะกรรมการสถานศึกษาและคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ได้จัดซื้อที่ดินด้านทิศใต้ของโรงเรียนเพิ่มเติมจำนวน 3 งาน 59 ตารางวา และสมาคมผู้ปกครองและครูฯ รับโอนที่ดินภาระจำยอมและมอบพื้นที่ให้โรงเรียนใช้ประโยชน์ 6 แปลง จำนวน 3 งาน 31.6 ตารางวา รวมพื้นที่ที่ดินทั้งสิ้น 25 ไร่ 2 งาน 86.8 ตารางวา
ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต คณะกรรมการสถานศึกษาและคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ได้ระดมทรัพยากรจัดสร้างโดมหลังคาบริเวณสนามบาสเกตบอล
โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน 1 หลัง (แบบ 324 ล)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีคำสั่งแต่งตั้งให้ น.ส.สุภาวดี วงษ์สกุล มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต แทนนายพีระ ชัยศิริ และมาปฏิบัติหน้าที่ เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553
ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล
ปีการศึกษา 2554 เข้าใช้อาคารเรียน แบบ 324 ล จัดการเรียนการสอน ได้รับงบประมาณก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างห้องเรียนไฮเทค 3 ห้องและห้อง 3D
เกิดมหาอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่โรงเรียนตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ถึง 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ระดับน้ำสูง 1.5 เมตร ห้องสำนักงานฝ่ายบริหาร เสียหายทั้งหมดและกระทรวงศึกษาธิการจัดงบซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารเรียนที่ประสบอุทกภัย
ก่อสร้างทางเชื่อมอาคารเรียนระหว่างอาคารสิรินธร 2 กับอาคารสิริธร 3 โดยใช้งบประมาณของนางพรพิมล ธรรมสาร
สถานที่ภายในสถานศึกษา
[แก้]ปีการศึกษา 2540 ได้จัดทำรั้วคอนกรีต ประตูโรงเรียน จัดทำป้ายชื่อโรงเรียน สร้างเสาธงชาติ เสาธงโรงเรียนและถนนคอนกรีตภายในโรงเรียน สร้างสนามบาสเกตบอล สนามฟุตบอล โดยไม่ได้ใช้งบประมาณจากทางราชการ นอกจากนี้ยังได้ระดมทรัพยากรจากชุมชน ในการจัดทำห้องศูนย์วิชาต่างๆ เช่น ศูนย์ภาษาไทย ศูนย์สังคมศึกษา ศูนย์คณิตศาสตร์ ศูนย์การงานและอาชีพ และ ห้องพิเศษอื่นๆ เช่น ห้องนาฏศิลป์ ห้องจริยธรรม ห้องปฏิบัติการ ฟิสิกส์ เคมี และ ชีววิทยา ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องพยาบาล ห้องแนะแนว ห้องปฏิบัติการทางภาษาต่างประเทศ ห้องพิมพ์ดีด ฯลฯ
ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนร่วมกับโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัยสมุทรปราการ และ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัยปทุมธานี ขออนุญาตจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หล่อพระพุทธรูป “หลวงพ่อสวนกุหลาบ” ขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว เพื่อประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียน โดยจำลองจากหลวงพ่อสวนกุหลาบ ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน ขนาดหน้าตัก 12 นิ้ว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างและพระราชทาน ให้เป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2542 ได้อันเชิญหลวงพ่อสวนกุหลาบมาประดิษฐานที่หอพระในโรงเรียน ในปีนี้ กรมสามัญศึกษา ได้อนุมัติงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบพิเศษ 4 ชั้น สร้างเสร็จในปลายเดือน มิ.ย. 2543
ปีการศึกษา 2544 โรงเรียนได้ขออนุญาตกรมศิลปากรและได้รับอนุญาตให้จัดสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง ฉลองพระองค์ในชุดจอมทัพไทย พระหัตถ์ซ้ายทรงกระบี่ พระหัตถ์ขวาทรงคฑาขึ้น และหล่อที่โรงหล่อของกรมศิลปากร อ.ศาลายา จ.นครปฐม แต่ใช้รูปแบบเดียวกับที่สร้าง ณ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้เวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 2 ปี
อาคารในสถานศึกษา
[แก้]- อาคารสิรินธร 1 ปีการศึกษา 2537 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้สร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 9 ชั้น โรงเรียนได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงแบบ อาคารเรียนแบบพิเศษ 9 ชั้น บางส่วน เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้แก่ ห้องสมุด ห้องพยาบาล เข้าใช้อาคารเรียนในปีการศึกษา 2539
- อาคารสิรินธร 2
- อาคารสิริธร 3
- อาคารเรียน 4 ก่อสร้างในปีการศึกษา 2559 และเริ่มใช้งานปีการศึกษา 2560
รายชื่อผู้บริหารสถานศึกษา
[แก้]ลำดับ | รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | รายละเอียด |
---|---|---|---|
1. | นายวีระ กาญจนะรังสิตา | 3 มี.ค. 2536 - 30 ก.ย. 2546 | เกษียณอายุราชการ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต". https://data.bopp-obec.info/. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 21 February 2023.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|website=
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]
โรงเรียนอัสสัมชัญหลักสูตรภาษาอังกฤษ
[แก้]โรงเรียนอัสสัมชัญหลักสูตรภาษาอังกฤษ (ACEP) เป็นโรงเรียนแห่งที่ 17 บริหารงานโดยมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 30 กิโลเมตร บนถนนพระรามที่ 2 การออกแบบที่ทันสมัย กว้างขวาง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ ACEP ทำให้เป็นสถานที่สร้างแรงบันดาลใจสำหรับนักเรียนของเราในการเรียนรู้และพัฒนาไม่เพียงแต่ด้านวิชาการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านสังคมและศีลธรรมด้วย วิทยาเขตเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พัฒนาด้านวิชาการ กีฬา ดนตรี และความสนใจนอกหลักสูตรอื่นๆ เป้าหมายของเราคือการพัฒนานักเรียน ACEP ให้เป็นพลเมืองโลกที่มีความรู้ มีคุณธรรม และสุภาพ ACEP ให้การศึกษาทั้งนักเรียนหญิงและชายตั้งแต่ Year 1 ถึง Year 12
พวกเขาเรียนวิชาวิชาการและวิชานอกหลักสูตรอันหลากหลายกับอาจารย์ชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีคุณสมบัติ ทุ่มเท และมีความกระตือรือร้น โดยใช้เทคโนโลยีล่าสุดในห้องเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย ขณะนี้เรารับสมัครครูต่างชาติที่มีคุณสมบัติครบถ้วนกว่า 50 คนจากหลากหลายประเทศเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนจะได้สัมผัสกับสำเนียงและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
เรามีความภาคภูมิใจในโปรแกรมวิชาการและกีฬาของเรา เช่นเดียวกับวิทยาเขตที่สวยงามพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอันทันสมัย ผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของนักเรียนของเราเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า 'การเรียนรู้แนวทาง ACEP' เตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาต่อและอาชีพ
โรงเรียนอัสสัมชัญเทคนิคนครพนม
[แก้]โรงเรียนอัสสัมชัญเทคนิคนครพนม บุกเบิกและก่อตั้งขึ้นโดยภราดาวิจารณ์ ทรงเสี่ยงชัย เป็นโรงเรียนลำดับที่ 14 ในจำนวน 17 โรงเรียน ที่สังกัดมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม จำนวน 4 สาขาวิชา ใน 4 สาขางาน คือ สาขางานยานยนต์ สาขางานเครื่องมือกล สาขางานเชื่อมโลหะและสาขางานเครื่องเรือนและตกแต่งภายใน ดำเนินงานในรูปแบบโรงเรียนการกุศล รับนักเรียนชายผู้ยากจนและด้อยโอกาสทางการศึกษา ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากทุกภูมิภาคของประเทศไทย จำนวนไม่เกิน 160 คน เข้าเป็นนักเรียนประจำ ทำการเรียนในหลักสูตรปกติและมีหลักสูตรพิเศษสำหรับชาวบ้านในพื้นที่และชุมชนใกล้เคียง รวมถึงเยาวชนในประเทศเพื่อนบ้าน ให้ได้รับการพัฒนาตนเองตามศักยภาพและความสนใจ โดยที่นักเรียนทุกคนไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
ในช่วงปีการศึกษา 2541 ถึงปีการศึกษา 2543 ได้เปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรพิเศษ 1 ปี โดยใช้ชื่อว่า "ศูนย์ฝึกอาชีพอัสสัมชัญนครพนม" ต่อมาในปีการศึกษา 2544 โดยมี นายเทพอวยชัย ศรัยกิจ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน และสานงานต่อจากภราดาวิจารณ์ ทรงเสี่ยงชัยในการดำเนินการขออนุญาตเปิดเป็นโรงเรียนเอกชน ประเภทอาชีวศึกษา และในปีนี้เองศูนย์ฝึกอาชีพอัสสัมชัญนครพนม ได้รับอนุญาตให้เปิดเป็นโรงเรียนเอกชน ตามใบอนุญาตเลขที่ นพ.4/2544 โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนอัสสัมชัญเทคนิคนครพนม" มาจนถึงปัจจุบัน
ปีการศึกษา 2553 ถึงปีการศึกษา 2558 ภราดาอาวุธ ศิลาเกษ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน บริหารงานโดยยึดหลักจิตตารมณ์ของท่านนักบุญหลุยส์ มารี กรีญอง เดอมงฟอร์ต เป็นแนวทางในการบริหารจัดการศึกษา ตลอดระยะเวลาได้ส่งเสริมให้ ผู้ร่วมบริหาร คณะครูและบุคลากรทุกคน ได้ร่วมกันทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจและกำลังความคิด เพื่อที่จะพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพ ก้าวทันโลกปัจจุบันตามศักยภาพ โดยมุ่งเน้นที่จะผลิตแรงงานที่ดี มีคุณภาพ ให้เป็นที่ยอมรับและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและสังคม
ปีการศึกษา 2559 ถึงปัจจุบัน ภราดากิตติศักดิ์ เจริญศรี ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน บริหารงานโดยยึดหลักธรรมมาภิบาล ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคน และนักเรียน มีทักษะและคุณภาพชีวิตที่ดี ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมกิจกรรมอาสาพัฒนาบริการวิชาชีพแก่สังคม
การดำรงตำแหน่งจากอดีตถึงปัจจุบัน ของโรงเรียนอัสสัมชัญเทคนิคนครพนม
ผู้รับใบอนุญาต
1. ภราดาศักดา กิจเจริญ
2. ภราดาศิริชัย ฟอนซีกา
3. ภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย
ปีการศึกษา 2544 - ปีการศึกษา 2550
ปีการศึกษา 2551 - ปีการศึกษา 2556
ปีการศึกษา 2557 - ปัจจุบัน
ครูใหญ่
1. ภราดาวิจารณ์ ทรงเสี่ยงชัย
2. ภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย
3. ภราดาวิริยะ ฉันทวโรดม
ปีการศึกษา 2544 - ปีการศึกษา 2545
ปีการศึกษา 2547 - ปีการศึกษา 2549
ปีการศึกษา 2550
ผู้อำนวยการ
1. มาสเตอร์เทพอวยชัย ศรัยกิจ
2. มาสเตอร์โชคชัย ทรงเสี่ยงไชย
3. ภราดาอาวุธ ศิลาเกษ
4. ภราดากิตติศักดิ์ เจริญศรี
5. ภราดาวิจารณ์ แสงหาญ
ปีการศึกษา 2544 - ปีการศึกษา 2545
ปีการศึกษา 2546 - ปีการศึกษา 2552
ปีการศึกษา 2553 - ปีการศึกษา 2558
ปีการศึกษา 2559 - ปีการศึกษา 2564
ปีการศึกษา 2565 - ปัจจุบัน
ผู้จัดการ
1. มาสเตอร์เทพอวยชัย ศรัยกิจ
2. มาเตอร์โชคชัย ทรงเสี่ยงไชย
3. ภราดาอาวุธ ศิลาเกษ
4. ภราดาพิชิตพล บูระพันธ์
5. ภราดากิตติศักดิ์ เจริญศรี
6. ภราดาวิจารณ์ แสงหาญ
ปีการศึกษา 2544 - ปีการศึกษา 2545
ปีการศึกษา 2546 - ปีการศึกษา 2552
ปีการศึกษา 2553 - ปีการศึกษา 2554
ปีการศึกษา 2555 - ปีการศึกษา 2558
ปีการศึกษา 2559 - ปีการศึกษา 2564
ปีการศึกษา 2565 - ปัจจุบัน
ทดสอบ
[แก้]ชุดทีม – เรอัล มาดริด สีขาว บาร์เซโลน่า สีน้ำเงินและโกเมน | |
กีฬา | ฟุตบอล |
---|---|
ที่ตั้ง | ประเทศสเปน |
ทีม | 2 ทีม |
พบกันครั้งแรก | บาร์เซโลนา 3–1 เรอัลมาดริด โคปา เด ลา โคโรนาซิออง 1902 (13 พฤษภาคม ค.ศ. 1902) |
พบกันครั้งล่าสุด | เรอัลมาดริด 1–3 บาร์เซโลนา ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา (15 มกราคม ค.ศ. 2023) |
พบกันครั้งต่อไป | เรอัลมาดริด v บาร์เซโลนา โคปา เดล เรย์ (1 หรือ 2 มีนาคม ค.ศ. 2023) |
สนาม | กัมนอว์ (บาร์เซโลนา) สนามกีฬาซานเตียโก เบร์นาเบว (เรอัลมาดริด) |
สถิติ | |
การพบกันทั้งหมด | แมชทางการ: 251 แมชนิทรรศการ: 34 รวม: 285 |
ชนะสูงสุด | แมชทางการ: เรอัลมาดริด (101) แมชนิทรรศการ: บาร์เซโลนา (20) รวม matches: บาร์เซโลนา (118) |
ลงเล่นสูงสุด | เซร์ฆิโอ บุสเกตส์ ลิโอเนล เมสซิ เซร์ฆิโอ ราโมส (คนละ 45 ครั้ง) |
ทำคะแนนสูงสุด | ลิโอเนล เมสซิ (26)[note 1] |
ชัยชนะครั้งใหญ่ | เรอัลมาดริด 11–1 บาร์เซโลนา โกปาเดลเรย์ (19 มิถุนายน ค.ศ. 1943) |
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/>
ที่สอดคล้องกัน