ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:ธนพันธุ์ กสทช/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลอากาศตรี ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ
รองเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รองเลขาธิการ กสทช.) สายงานบริหารคลื่นความถี่และภูมิภาค
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 มีนาคม 2556
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 มีนาคม พ.ศ.2506
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนาวาอากาศเอก หญิง อุบลรัตน์ หร่ายเจริญ
ชื่อเล่นแป๋ม

พลอากาศตรี ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ

รองเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รองเลขาธิการ กสทช.) สายงานบริหารคลื่นความถี่และภูมิภาค

ประวัติ[แก้]

พลอากาศตรี ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ (ชื่อเล่น แป๋ม) เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2506 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรชายคนที่ 3 จากพี่น้อง 4 คนของ พลตรี สนิท หร่ายเจริญ และนางทัศนีย์ หร่ายเจริญ โดยมีพี่ชายได้แก่ พลเอก ยศนันท์ หร่ายเจริญ, นายวรัญญู หร่ายเจริญ และน้องชายได้แก่ นายวันชนะ หร่ายเจริญ ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นาวาอากาศเอก หญิง อุบลรัตน์ หร่ายเจริญ นามสกุลเดิม พรหมไชยวงศ์

การศึกษา[แก้]

   ทางวิชาการ (Academic Education)

• ประถมศึกษา จากโรงเรียนสุเมธานุศาสตร์ จังหวัด ฉะเชิงเทรา (ปี 2510-2517)

• มัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่นที่ 98 (ปี 2518-2520)

• ปริญญาตรี-โท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยทหารเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี (ปี 2527-2530 ด้วยทุนกองทัพอากาศไทย-เยอรมนี)

• ปริญญาเอก สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปี 2548 ผลการศึกษาดีมาก ด้วยทุนกาญจนาภิเษก)

   ทางการทหาร (Professional Military Education)

• มัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 21 (ปี 2521-2522)

• อุดมศึกษา จากโรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 28 (ปี 2523-2554 ผลการศึกษาดีเยี่ยม)

• ประกาศนียบัตรหลักสูตรการทหาร จากโรงเรียนนายเรืออากาศ ประเทศเยอรมนี (ปี 2525-2526 ด้วยทุนกองทัพอากาศไทย-เยอรมนี)

• ประกาศนียบัตรหลักสูตรสื่อสารและสารสนเทศ จากกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา (ปี 2543 ผลการศึกษาดีเยี่ยม ด้วยทุน IMET)

• ประกาศนียบัตรหลักสูตรวิทยาลัยการทัพอากาศ (รุ่นที่ 40 ปี 2549)

• ปริญญาบัตรหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 56 ปี 2556-57)

การทำงาน[แก้]

   ต่างประเทศ

• ได้รับอนุมัติให้ปฏิบัติงาน ที่ บริษัท Siemens AG ในส่วนงานระบบวิทยุและเรดาร์ เมือง Unterschleissheim ประเทศเยอรมนี หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาโท (ปี 2531)

• ได้รับอนุมัติให้เป็น Visiting Researcher ที่ University of Maryland, College Park ระหว่างการศึกษาในระดับปริญญาเอก (ปี 2548)

   ในประเทศ

• หน.ส่วนนโยบายและแผน สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ทหารอากาศ ปี 2554-2558

• นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา น.อ.พิเศษ) ปี 2549-51

• อนุกรรมาธิการการคมนาคมทางอากาศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี 2549-50

• ตุลาการศาลทหารกรุงเทพ ปี 2553

• ผู้อำนวยการ กองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม ปี 2552-54

• ผู้อำนวยการ กองแผนและวิศวกรรม กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม ปี 2554-55

• ผู้ชำนาญการ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตราพลอากาศตรี) ปี 2556

รางวัลเกียรติยศ[แก้]

• บุคคลดีเด่นกองทัพอากาศ และบุคคลดีเด่นศูนย์วิทยาศาสตร์และพัฒนาระบบอาวุธกองทัพอากาศ ปี พ.ศ.2533

• บุคคลดีเด่นกองทัพอากาศ และบุคคลดีเด่นสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศทหารอากาศ ปี พ.ศ.2541

• นักวิจัยดีเลิศกระทรวงกลาโหม ปี พ.ศ.2543

• ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กองทัพอากาศ ปี พ.ศ.2544

• ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กองทัพอากาศในด้านการประดิษฐ์คิดค้น ปี พ.ศ.2545

• เสนอผลงานวิจัยดีเด่นในการประชุมวิชาการโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ปี พ.ศ.2547 โดยมีชื่ออยู่ในหอเกียรติยศดุษฎีบัณฑิต คปก. (Hall of Fame)

• ศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนนายเรืออากาศ (บุคคลดีเด่น ชนอ.) ปี พ.ศ.2557

• รางวัล “เหมราช” บุคคลต้นแบบแห่งปี ประจำปี 2559

ประสบการณ์ทำงานด้านวิชาการและอื่นๆ[แก้]

นันับตั้งแต่จบการศึกษาและเข้ารับราชการทหารในเหล่าทหารสื่อสารทั้งที่กองทัพอากาศและสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาอย่างต่อเนื่อง จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์รวมทั้งได้รับรางวัลเกียรติยศต่างๆ และเมื่อมาทำหน้าที่รองเลขาธิการ กสทช. สายงานบริหารคลื่นความถี่และภูมิภาค ได้รับผิดชอบงานด้านเทคนิคและวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารคลื่นความถี่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ที่สำคัญ เช่น

   ระดับนานาชาติ

• หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทยในการประชุมเพื่อเตรียมการสำหรับการประชุม World Radio Telecommunication Conference (WRC) ของ ITU ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวีสเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นการกำหนดตารางคลื่นความถี่เพื่อใช้ในระดับโลก

• หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย (Head of Thailand Delegation) ในการประชุม APT Wireless Group (AWG15-2) ครั้งที่ ๒ และการประชุม Asia-Pacific Telecommunity Conference Preparatory Group for WRC 15 ครั้งที่ 3 และ ครั้งที่ 5 ที่เมือง บรีสเบล ประเทศออสเตรเลีย และ เมือง เชินตู ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามลำดับ ซึ่งเป็นการนำเสนอจุดยืนของประเทศไทยในการใช้งานคลื่นความถี่ในแต่ละย่าน

• หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทยในการประชุมทางเทคนิคร่วมเพื่อประสานงานความถี่ตามแนวชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (The Joint Technical Coordination along common border: JTC) ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย ลาว และกัมพูชา เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการรบกวนคลื่นความถี่

• หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทยในการประชุมประสานงานความถี่ดาวเทียมระหว่างหน่วยงานโทรคมนาคมไทยกับหน่วยงานโทรคมนาคมเวียดนาม (The Satellites Frequency Coordination between Administration of Vietnam and Thailand) เพื่อประสานคลื่นความถี่ไม่ให้เกิดการรบกวนในแต่ละวงโคจร

    ระดับประเทศ

• หัวหน้าคณะทำงานในการการจัดทำและปรับปรุงแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ (Spectrum Master Plan) ของประเทศไทย และตารางกำหนดคลื่นความถี่ (Allocation Table) แห่งชาติ ตลอดจนการจัดทำแผนย่านความถี่ (Band Plan) ในแต่ละย่าน เช่น ย่าน E-Band

• ประธานคณะทำงานในการพิจารณาจัดสรรคลื่นความถี่ในย่าน ๒๓๐๐ และ ๒๖๐๐ MHz เพื่อที่จะนำมาใช้ในการประมูล 4G ที่ผ่านมา

• จัดทำแผนการใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการบรรเทาสาธารณภัยและป้องกันภัยพิบัติ ตลอดจนการสนับสนุนข่ายสื่อสารสำรองในพื้นที่ที่ประสบภัย เช่น กรณีเกิดภัยพิบัติไฟไหม้ที่ศูนย์อพยพขององค์การสหประชาชาติ ที่ หมู่บ้านขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น

• กำกับงานด้านการบริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนและการนำเสนอข้อมูลในการปฏิบัติงานอย่างโปร่งใส และพัฒนา Mobile Application ในศูนย์ Call Center 1200 จนทำให้ สำนักงาน กสทช.ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณเป็นหน่วยงานต้นแบบในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐ ประจำปี พ.ศ.2557 ระดับดีมาก โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการให้รางวัล

• อนุกรรมการพิจารณาแนวทางการกำหนดสิทธิในการใช้วงจรดาวเทียมของประเทศ

• อนุกรรมการดาวเทียมสื่อสารภาครัฐเพื่อความมั่นคง

• อนุกรรมการพัฒนากฎหมายอวกาศ

• อนุกรรมาธิการ และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่.. ) พ.ศ. ....

• ที่ปรีกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน สนช.

• อนุกรรมาธิการด้านการคมนาคมทางอากาศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2550

    ระดับหน่วยงานและบุคคล

• เป็นผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer: CIO) ของสำนักงาน กสทช.

• อดีตอาจารย์พิเศษและกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ที่มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นต้น

• ที่ปรึกษาและกรรมการ คณก. พัฒนาแผนแม่บทการวิจัยและพัฒนาระบบ ICT ทางทหารสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ปี พ.ศ. 2552-53

• ที่ปรึกษา ผอ. องค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์ ปี พ.ศ. 2552-53

• ผช. เลขานุการ คณก. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงกลาโหม ปี พ.ศ. 2554-55

• กรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารราชการ กห. ปี พ.ศ. 2554-55

• อนุกรรมการความมั่นคงเครือข่ายและข้อมูลในกิจการโทรคมนาคมและกิจการวิทยุคมนาคม กสทช. ปี พ.ศ. 2555-56

• อนุกรรมการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กสทช. ปี พ.ศ. 2555-56

• อนุกรรมการติดตามการบริหารคลื่นความถี่ กสทช. ปี พ.ศ. 2555-56

เครื่องราชอิสราภรณ์[แก้]

- เครื่องราชอิสราภรณ์ประถมาภรณ์มงกุฎไทย เมื่อ 5 ธันวาคม 2553

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)

- เครื่องราชอิสราภรณ์ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย เมื่อ 5 ธันวาคม 2546

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)

- เครื่องราชอิสราภรณ์จักรมาลา เมื่อ 5 ธันวาคม 2540

เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ)

- เครื่องราชอิสราภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ 3 ชื่อ ตริตาภรณ์ เมื่อ 5 ธันวาคม 2538

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)

- เครื่องราชอิสราภรณ์มงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ชื่อ ตริตาภรณ์ เมื่อ 5 ธันวาคม 2535

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม )

- เครื่องราชอิสราภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ 4 ชื่อ จัตุรถาภรณ์ เมื่อ 5 ธันวาคม 2532

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)

อ้างอิง[แก้]