ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:ซาลาเปา หมูแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Bamboo grass
ต้นก๋ง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Liliopsida
อันดับ: Cyperales
ไม่ได้จัดลำดับ: Eupolypods I
วงศ์: Poaceae
สกุล: Thysanolaena

ก๋ง

[แก้]

ก๋งมีชื่อว่าชื่อสามัญ:Bamboo grass, ชื่อวิทยาศาสตร์ Thysanoleana maxima Kuntzeและชื่อวงศ์ Gramineae )ส่วน ชื่ออื่นเช่น ตองกงภาคเหนือ, เค้ยหลา(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),เลาแล้ง(สุโขทัย),หญ้ากาบไผ่ใหญ่(เลย),หญ้าไม้กวาด ,หญ้ายูง(ยะลา) [1] ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับ อ้อ หญ้าขน เดือย ตะไคร้ ข้าว อ้อย ข้าวฟ่าง ข้าวโพด เป็นต้น

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

[แก้]

เป็นหญ้าล้มลุก มีเหง้า เป็นพืชอายุหลายปี หลายฤดู ลำต้นตั้ง เจริญเติบโตแบบอยู่เป็นกอ ที่แข็งแรงมาก ลำต้นคล้ายต้นไผ่ สูงราว 3-4 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นประมาณ 7.6-17.6 มิลลิเมตร

ใบ(Blade)

[แก้]

ใบเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบรูปหอกเรียวยาวมีขนาดใหญ่ ใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 4 เซนติเมตร หน้าใบและหลังใบไม่มีขน ขอบใบเรียบ ก้านใบสั้น มีเยื่อกันน้ำฝนค่อนข้างหนาระหว่างแผ่นใบกับก้านใบ กาบใบเรียบ เรียบ สีเขียวอมขาวนวล ยาว 7.5-20.9 เซนติเมตร แต่ละใบเรียงตัวห่างตลอดลำต้น ปลายใบแหลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยง กาบใบเกลี้ยงสั้นกว่าปล้อง ยาว 13-20 เซนติเมตร ส่วนลิ้นใบเป็นแผ่นเยื่อบางๆ สีน้ำตาลอ่อน

ดอก(Flower)

[แก้]

ออกดอกตลอดทั้งปี ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ แบบ panicle ยาวประมาณ 50 ซม.แผ่แบบไม้กวาด แตกแขนงเล็กๆ จำนวนมาก ช่อดอกยาว 72.6-112.3 เซนติเมตร ส่วนของหัวยาว 50-70 เซนติเมตร ช่อดอกมีขนนุ่มละเอียด กลุ่มดอกย่อย มีขนาดเล็กมีดอกย่อย 2 ดอก ดอกล่างลดรูปเป็นเยื่อบางๆเป็นดอกหมัน ดอกบนเป็นดอกสมบูรณ์เพศ แหลม มีรยางค์ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีเส้นบนกาบ 1 เส้น เกสรเพศผู้ 3 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 0.3มิลลิเมตร อับเรณูยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร สีเหลือง มีรังไข่อยู่ ออกดอกระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนสิงหาคม

ผล(Results)

[แก้]

ผลขนาดเล็กมีเมล็ดเดียว รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ผลมีสีแดง

เมล็ด(Seed)

[แก้]

เมล็ดมีขนาดที่เล็กแบบผลธัญพืช รูปร่างยาวรี เป็นชนิด caryopsis ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดและส่วนลำต้นหรือเหง้าใต้ดิน

แหล่งที่พบ

[แก้]

มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบทั่วไปในอินเดีย พม่า จีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทย มักพบตามที่โล่งแจ้งในพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ พบขึ้นทั่วไปในพื้นที่ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 45-1058 เมตร ตามริมธารน้ำ เนินเขา บนแนวเทือกเขาเช่น อำเภอละงู จังหวัดสตูล อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ บ้านสานตม ตำบลสานตม อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และพบที่ป่าชุมชน บ้านสบลืน ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

คุณค่าทางอาหาร

[แก้]

ในส่วนของใบและยอดอ่อนนั้น มีคุณค่าทางโปรตีนประมาณ 10.9เปอร์เซ็นต์ มีเส้นใยประมาณ 15.9 เปอร์เซ็นต์ มีไขมันประมาณ 2.7 เปอร์เซ็นต์ เถ้าประมาณ 5.6 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียมประมาณ 0.10 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสประมาณ 0.38เปอร์เซ็นต์ และมีแทนนินประมาณ 1.01 เปอร์เซ็นต์

การใช้ประโยชน์

[แก้]

เป็นสมุนไพร เครื่องจักรสานและเครื่องใช้สอย ในส่วนของ ใบใช้ห่อข้าวเหนียว ซึ่งมักจะทำในพิธีต่างๆ เช่นพิธีผูกข้อมือ ช่อดอกตากแห้งแล้วถักยึดกับด้ามไม้ใช้เป็นไม้กวาด ก้านช่อดอกตากแห้งแล้วนำไปมัดกับด้ามไม้ไผ่ใช้ทำไม้กวาด รากนำไปต้ม ใช้อมกลั้วคอเมื่อมีไข้ ดอก ช่อดอกใช้ทำไม้กวาด และยอดอ่อนเป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของโค กระบือ ช้าง สัตว์ป่า [2]

การทำไม้กวาด

[แก้]

อุปกรณ์

  1. เข็มเย็บกระสอบ
  2. เชือกฟาง
  3. ไม้ไผ่ ความยาวประมาณ 80 ซม.
  4. ดอกหญ้า
  5. ตะปูขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ตัว

ขั้นตอนการทำไม้กวาด

[แก้]
  1. นำดอกหญ้ามาทำความสะอาดและตากแดดให้แห้งคัดเลือกเฉพาะดอกหญ้าที่มีคุณภาพ ดี
  2. นำดอกหญ้าปริมาณ 1 กำมือ มัดให้เป็นวงกลม
  3. นำเข็มเย็บกระสอบ ซึ่งร้อยเชือกฟางไว้แล้ว แทงเข้าตรงกลางมัดดอกหญ้า แล้วถักขึ้นลงแบบหางปลา ให้ได้ 3 ชั้น พร้อมจัดดอกหญ้าให้มีลักษณะแบน
  4. ตัดโคนดอกหญ้าให้เสมอกัน
  5. นำด้ามไม้ไผ่เจาะรูที่หัวไว้สำหรับห้อยเชือกและเจาะรูตรงปลายนำมาขัดด้วยก้อนจากนั้นเสียบเข้าตรงกลางมัดดอกหญ้า
  6. นำเชือกฟางมัดดอกหญ้าไว้ด้วยกัน โดยนำเชือกฟางมาสอดตรงรูที่เจาะ เพื่อป้องกันไม่ให้ดอกหญ้าออกจากกัน
  7. ตอกตะปูที่เตรียมไว้ เพื่อให้ดอกหญ้าติดกับด้ามไม้ไผ่ และมีความแข็งแรงขึ้น
  • เคล็ดลับทำให้ไม้กวาดแข็งแรง ควรนำดอกหญ้าตากแดดให้แห้งสนิทก่อนมัด จะได้ไม้กวาดที่มีความแข็งแรง ไม่หลุดง่าย เมื่อถึงเวลาใช้งาน
  1. [1]
  2. [2]