ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:ชาวตระกูลสุขเกษม ประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติความเป็นมาของนามสกุลสุขเกษมในประเทศไทย

นามสกุลสุขเกษม ในอดีต เริ่มต้นที่ใดยังไม่เคยมีปรากฏแน่ชัด หรือมีบันทึกใดๆ ที่บ่งบอกถึงที่มาได้ชัดเจน มีเพียงข้อมูลจากการสืบค้นโดยแอดมิน ของชมรมลูกหลานชาวตระกูลสุขเกษมแห่งประเทศไทย โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2545 ด้วยการเดินทางไปทั่วประเทศ ใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสอบถามประวัติ,ถ่ายภาพ และบันทึกวีดีโอ จากบุคคลผู้ใช้นามสุขเกษม ที่ยังมีชีวิตอยู่ทั่วประเทศไทย ซึ่งตามหลักฐานที่แอดมินพอจะค้นหามาได้ด้วยพยานบุคคล และพยานวัตถุ หลงเหลืออยู่เบื้องต้น พอจะสรุปได้ ดังต่อไปนี้

1.ตระกูลสุขเกษม เมื่อย้อนหลังไปในอดีต (จากการสืบค้นข้อมูลทั่วประเทศ) พอสันนิษฐานได้ว่า เกิดขึ้นในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จนถึงช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หรือเมื่อประมาณ  พ.ศ.2311 แต่ดั้งเดิมใช้ตัวสะกด ”ศุขเกษม” ไม่มีความหมายในพจนานุกรม มีแต่เพียงคำวา “เกษม”เท่านั้น ซึ่ง(อ้างอิง)ตามความหมายในราชบัณฑิตยสถาน หมายความว่า [กะเสม] น. ความสุขสบาย ความปลอดภัย มักใช้เข้าคู่กับคําอื่น เช่น สุขเกษม เกษมศานต์. (โบ เขียนเป็นกระเษม เขษม ก็มี). (ส.ป. เขม). ปัจจุบันยังมีคนใช้ นามสกุลที่สะกดด้วย “ศุขเกษม” นี้อยู่  *อ้างอิงจากคำบอกเล่าของชาวสุขเกษม สมุทรสงคราม

เนื่องจาก คำว่า “ศุขเกษม”  ความหมายตามความเชื่อในโหราศาสตร์ เชื่อว่าตัวหนังสือ “ศ” เป็น [กาลกิณี] – ตัว “ศ” ตัวอักษรอัปมงคล เกี่ยวข้องกับสิ่งไม่ดี ความชั่วร้าย อุปสรรคนานาประการ ความยากลำบาก และความโชคร้ายที่ต้องเจอในชีวิต  ปัจจุบันจึงค่อยๆเปลี่ยนมาใช้คำว่า “สุขเกษม” ซึ่งมีความหมายที่แปลว่า ความสุข ความปลอดภัย

ส่วนผู้ใช้นามสกุลที่ใช้ตัวสะกดด้วย “ศ” คือ  ศุขเกษม นั้นยังมีใช้อยู่  ซึ่งผู้ใช้นามสกุลนี้ส่วนมากอยู่ในแถบ  ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง อัมพวา  จ.สมุทรสงคราม

*ข้อสันนิษฐานเพิ่มเติม  : คำว่า “ศุข” หากย้อนเวลากลับไป ที่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด และเทียบตัวสะกดด้วย ศ. แบบเดียวกัน คือ หลวงปู่ศุข (พ.ศ.2390) วัดคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ท่านใช้ชื่อ “ศุข” มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ปีพระราชสมภพ : พ.ศ.2330)

คำว่า “ศุข” ยังเทียบได้อีกท่านหนึ่ง คือ เจ้าอุตรการโกศล หรือ เจ้าน้อย ศุขเกษม  ณ เชียงใหม่ (ประสูติ พ.ศ.2423) ตรงกับรัชสมัย รัชกาลที่ 5 เจ้าน้อย ศุขเกษม ไม่ใช่ต้นสกุลสุขเกษม แต่อย่างใด  แต่ท่านคือราชโอรสองค์ใหญ่ใน พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ กับแม่เจ้าจามรีมหาเทวี ในราชวงทิพย์จักร  ใช้นามสกุล ณ เชียงใหม่

2.ข้อสันนิษฐาน จากการสืบค้นแหล่งข้อมูลทั่วประเทศ คือ ผู้ใช้นามสกุลสุขเกษม เริ่มต้นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ เพราะพบผู้ใช้นามสกุลสุขเกษม เป็นจำนวนมาก ในหลายอำเภอ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมีหลักฐานสำคัญหลายอย่าง เช่น อัฐิคนรุ่นเก่าที่เสียชีวิตไปแล้วย้อนหลังไปได้ถึง  3-4  รุ่น

3.นามสกุลสุขเกษมแพร่กระจายไปตามสายน้ำ และทางบก จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุทั่วประเทศ สมัยนั้นเป็นช่วงสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสร้างบ้านสร้างเมือง มีการติดต่อซื้อขายกับชาวต่างชาติ มากมายโดยทางบกและเรือ มีตระกูลสุขเกษม ได้แต่งงานกับคนหลายเชื้อชาติ เช่น เชื้อชาติคนจีนที่อพยพมาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ด้วยการโล้สำเภา เข้ามาทางแม่น้ำหลายสาย  ไล่เรียงตั้งแต่ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เขตเชื่อมต่อประเทศจีน ลงมาถึงภาคกลาง ทั้ง แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน สิ้นสุดที่ภาคกลางตอนบน โดยมาเริ่มต้นที่ ปากน้ำโพธิ์ จ. นครสวรรค์ และล่องมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก จ.พระนครศรีอยุธยา ลงมาเรื่อยๆจนถึง จ.นนทบุรี จนถึงเมืองธนบุรี และฝั่งพระนคร หรือ กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน ต่อมา ชาวสุขเกษมได้กระจาย ไปตามจังหวัดต่างๆทั้งภาคตะวันออก ตะวันตก และไล่ลงไปจนถึงภาคใต้

ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้สร้างบ้านสร้างเมืองให้เติบโตอีกครั้ง และในช่วงนี้เอง เมื่อคนจีนเข้ามาทำการค้าขายกันเยอะ คนจีนบางหลายคนไม่ได้กลับบ้านที่ประเทศจีน และแต่งงานกับภรรยาคนไทย  ในสมัยนั้น คนจีนที่ไม่ได้กลับ จะถูกทางการจับ เพราะถือเป็นคนต่างด้าว ผิดกฎหมาย ต้องถูกส่งกลับ คนจีนที่อยู่เมืองไทยสมัยนั้น จึงต้องใช้วิธี ใช้นามสกุลของภรรยา คือ นามสกุลสุขเกษม เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยได้ต่อไป (อ้างอิงตามคำบอกเหล่าของผู้ใช้นามสกุลสุขเกษม เชื้อสายจีน ทั่วประเทศ ที่ให้ข้อมูลตรงกัน)

ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มใช้ นามสกุล และได้มีการตราพระราชบัญญัติขนาน นามสกุล#ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2455

ต่อมา สมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ปีพระราชสมภพ พ.ศ. 2436)  พ.ศ.2475 ได้มีการเปลี่ยนระบบการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยให้มีรัฐบาลปกครองบ้านเมือง สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นได้เริ่มต้นให้มีนโยบายเพิ่มจำนวนประชากร ของประเทศ ซึ่งเราสามารถมองย้อนไปที่รุ่นปู่ย่าตายายของพวกเราสมัยนั้น รุ่นอายุ 70 ปีขึ้นไป จะมีนโยบายให้มีลูกมาก เราจึงเห็นปู่ย่าตายายของพวกเรามีพี่น้องเกิน10 คน

เมื่อมีพี่น้องมาก สุขเกษมก็กระจายตัวไปทำงานกันทั่วประเทศ ต่างก็มีภรรยา และมีบุตร   บรรพบุรุษหลายท่านได้ย้ายไปอาศัยตั้งรกรากสร้างครอบครัวใหม่และทำมาหากินในถิ่นอื่น บางครอบครัว มีเมียหลายคน และมีลูกหลายคนมาก นั้นก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ จำนวนประชากร ชาวตระกูลสุขเกษม เพิ่มขึ้นมากมายอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ทำให้มีลูกหลานจำนวนมากมายมหาศาล อย่างที่เห็นในปัจจุบัน แบบที่ตระกูลอื่นตามไม่ทัน

4.เหตุใด ผู้ใช้นามสกุลสุขเกษม บางครอบครัว จึงนับถือศาสนาอิสลาม ก็เพราะ ผู้ชายชาวสุขเกษม ได้แต่งงานกับภรรยาที่นับถือศาสนาอิสลาม ทำให้ต้องเปลี่ยนศาสนาไปโดยปริยาย แต่ยังคงใช้นามสกุลสุขเกษม เช่นเดิม ส่วนชาวสุขเกษม ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ก็เช่นกัน แต่งานแล้วจะเปลี่ยนศาสนา หรือ ไม่เปลี่ยนก็ได้ บางคนที่เปลี่ยนเป็นศาสนาคริสต์มาตั้งแต่รุ่นแรกสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนใหญ่จะพบในจังหวัดอยุธยา และอีกหลายจังหวัด

5.ข้อมูลสุดท้าย จากการเก็บข้อมูลหลายที่ ที่บางคนไม่ใช่เชื้อสาย นามสกุลสุขเกษม แต่ใช้ชื่อสถานที่ว่า สุขเกษม พวกเขาได้ให้เหตุผลว่า มีความหมายดี จึงมีคนนำไปใช้ บ้างก็ขอตั้งเป็นชื่อสกุลใหม่ รวมทั้งชื่อสถานที่ต่างๆ เช่น บางครอบครัว คุณพ่อชื่อเกษม แต่ก็ตั้งชื่อร้านว่า สุขเกษม บางบ้านเป็นเจ้าของที่ดิน เจ้าของชื่อเกษม ได้เติม สุขเข้าไป เลยมีป้ายชื่อว่า สุขเกษม รวมถึงบางร้าน เจ้าของร้านชื่อเกษม แต่เติมคำว่า สุข เข้าไป กลายเป็นร้านสุขเกษมก็มี เช่นที่ อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี อ่างศิลา จ.ชลบุรี

*ข้อมูลเพิ่มเติม : นามสกุลสุขเกษม จากการสืบค้นข้อมูลเชิงลึก ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ แต่ไม่มีปรากฏข้อมูล หรือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ว่าเป็น นามสกุลพระราชทาน แต่อย่างใด

หลักฐานทางวัตถุ (บางส่วน)

1.รูปปั้น ทวดเจ๊ก อายุกว่า 140 ปี ที่บ้านนางเลง อ.กบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี (ผู้ให้ข้อมูล นายเกรียงศักดิ์ สุขเกษม)

2.ปืนใหญ่ อายุ อายุกว่า 180 ปี ที่เจ้าเมืองสงขลา มอบไว้ให้อาก๋ง ตระกูลสุขเกษม ผู้ทำคุณงามความดี ด้วยการช่วยเก็บภาษีให้ทางการ ปัจจุบัน ปืนใหญ่นี้ ปืนใหญ่กระบอกนี้ ถูกลูกหลาน นำไปมอบให้ ค่ายรัตนพล อ.คลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าของค่ายนั่นเอง (ผู้ให้ข้อมูล นายประกอบ สุขเกษม)

3.บ้านหลังเก่าแก่ของตระกูลสุขเกษม นครศรีธรรมราช อายุเกือบ 200 ปี ที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช (ผู้ให้ข้อมูล นายอุกฤษณ์ สุขเกษม)

ยังมีข้อมูลหลักฐานทางวัตถุและพยานบุคคล อีกมากมายที่รอการค้นหา แล้วจะนำมา UP Date ให้พี่น้องลูกหลานได้เข้าใจรากเหง้าของพวกเรา ชาวตระกูลสุขเกษม ประเทศไทย ต่อไปนะครับ

*ในมิติของศาสนา

ศาสนาคริสต์ ได้กล่าวถึง เมืองบรมสุขเกษม ใช้ในพระคัมภีร์เพื่อหมายถึงโลกแห่งวิญญาณด้วย (ลูกา ๒๓:๔๓), อาณาจักรซีเลสเชียล (๒ คร. ๑๒:๔), และสภาพมิลเลเนียมอันรุ่งโรจน์ของแผ่นดินโลก (ลช. ๑:๑๐).

พุทธภาษิต จากพระโอษฐ์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

มหาอานิสงส์ของการพิมพ์หนังสือธรรมะ

      “ ดูก่อนสารีบุตร นรชนใดมีใจเปี่ยมด้วยศรัทธาได้สร้างหนังสือพระธรรมไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์แก่ชนทั้งหลายได้อ่านได้สดับฟัง จะได้รับอานิสงส์ใหญ่อันประมาณมิได้...

    ดูก่อนสารีบุตร อย่าว่าแต่พระพุทธวจนะตลอดทั้งไตรปิฎกนั้นเลย “แม้อักขระธรรมหนึ่งตัว” เป็นเครื่องหมายเพื่อน้อมนำจิตระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย นำมาซึ่งความเลื่อมใสแก่ผู้ได้พบเห็น เป็นบ่อเกิดให้ประพฤติคุณงามความดีได้...

    ฉะนั้นแล้วจะยังผลให้ผู้สร้างได้ “เสวยสุขเกษม” สิ้นกาลช้านาน จักได้เสวยราชสมบัติเป็นบรมจักรพรรดิถึง 84,000 กัป ใช่แต่เท่านั้น เมื่อเคลื่อนจากความเป็นจักรพรรดิมาแล้วจะได้เสวยราชสมบัติเป็นพระราชาทรงมหิธานุภาพอีก 9 อสงไขย ต่อแต่นั้นมาก็จะได้เสวยสมบัติในตระกูลต่างๆ เป็นลำดับไปอันมีตระกูล พราหมณมหาศาล ตระกูลเศรษฐี คฤหบดี และภูมิเทวดาอย่างละ 9 อสงไขย ต่อแต่นั้นก็จะได้ไปเสวยสมบัติในฉกามาพจรสวรรค์ 6 ชั้นประณีีตเป็นลำดับขึ้นไปชั้นละ 9 อสงไขย เมื่อจุติจากเทวโลกแล้วก็จะถือเอากำเนิดในมนุษย์มีกายผุดผ่องโสภาเป็นที่ปฏิพัทธ์รักใคร่ของผู้ได้พบเห็น ทั้งน้ำใจก็สุจริตปราศจากมลทิน อานิสงส์ดังกล่าวมานี้เพราะอำนาจการสร้างอักขระธรรมหนึ่งตัว ฯ”...

เรียบเรียงโดย นายธนกฤต สุขเกษม

แอดมิน ชมรมลูกหลานชาวตระกูลสุขเกษมแห่งประเทศไทย

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ลิ้งค์นี้ กดดู→[1][2]