ข้ามไปเนื้อหา

ตาลปัตรฤๅษี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ผักพาย)

ตาลปัตรฤๅษี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
Monocots
อันดับ: อันดับขาเขียด
Alismatales
วงศ์: วงศ์ขาเขียด
Alismataceae
สกุล: Limnocharis
Limnocharis
(L.) Buchenau[1]
สปีชีส์: Limnocharis flava
ชื่อทวินาม
Limnocharis flava
(L.) Buchenau[1]
ชื่อพ้อง[1]
  • Alisma flavum L.
  • Damasonium flavum (L.) Mill.
  • Limnocharis emarginata Humb. & Bonpl.
  • Limnocharis flava var. indica Buchenau
  • Limnocharis plumieri Rich.

ตาลปัตรฤๅษี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Limnocharis flava (L.) Buchenau) หรือ ผักพาย หรือ ผักคันจอง[2] ของอีสาน มีชื่อพื้นเมืองอื่นได้แก่ บอนจีน นางกวัก หรือ ตาลปัตรยายชี เป็นไม้น้ำที่พบบริเวณนาข้าว และบริเวณที่มีน้ำขัง ลำต้นเหง้าฝังจมอยู่ในโคลนเจริญเป็นต้น บางครั้งมีไหลสั้น ๆ จำนวนมาก

ใบเป็นใบเดี่ยว รูปร่างกลมรี ยาว 15-18 ซม. กว้าง 12 ซม. มีก้านใบงอกยื่นอยู่เหนือผิวน้ำก้านใบยาวประมาณ 30 ซม. ก้านใบสีเขียวอ่อนเป็นเหลี่ยม แผ่นใบใหญ่และแผ่นคล้ายใบ ตาลปัตรดอกเป็นดอกช่อแบบร่ม มีดอกย่อย 7-10 ดอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อนหลุดร่วงง่ายเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกย่อย ประมาณ 1.5 ซม.

คุณค่าทางอาหาร

[แก้]

พืชชนิดนี้เป็นผักสำคัญในพื้นที่หลายแห่งของอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม,[3] ลาว, ภาคอีสาน (ไทย)[4] และพื้นที่หลายแห่งของของอินเดีย โดยจะมีการนำก้านดอกกลางและใบไปใช้ในการทำซุป, แกงกะหรี่, สลัด และทอดผัด[5]

ผักตาลปัตรฤๅษี 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 14 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 0.8 กรัม แคลเซียม 7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 2 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 501 ไมโครกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.08 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "World Checklist of Selected Plant Families: Royal Botanic Gardens, Kew". apps.kew.org (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2017-01-30.[ลิงก์เสีย]
  2. http://info.matichon.co.th/adm/tour/template2.php?idn=&selectid=1447[ลิงก์เสีย]
  3. Ogle, B. M.; Dao, H. T.; Mulokozi, G.; Hambraeus, L. (2001-11-01). "Micronutrient composition and nutritional importance of gathered vegetables in Vietnam". International Journal of Food Sciences and Nutrition. 52 (6): 485–499. doi:10.1080/713671806. ISSN 0963-7486. PMID 11570015.
  4. "Thailand Illustrated - Healthy Food". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-27. สืบค้นเมื่อ 2011-08-13.
  5. Said, Sammy (2010-05-21). "Stir-Fried Genjer (Limnocharis Flava)". Enjoy The Food. สืบค้นเมื่อ 2017-01-30.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-28. สืบค้นเมื่อ 2007-10-27.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]