ปืนเล็กยาวต่อสู้รถถังบอยส์
ไรเฟิลต่อต้านรถถังบอยส์ | |
---|---|
ปืนไรเฟิลต่อต้านรถถังบอยส์ รุ่น Mk I | |
ชนิด | ไรเฟิลต่อต้านรถถัง |
แหล่งกำเนิด | สหราชอาณาจักร |
บทบาท | |
ประจำการ | พ.ศ. 2480-2486 |
ผู้ใช้งาน | See Users |
สงคราม | สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามฤดูหนาว |
ประวัติการผลิต | |
ช่วงการออกแบบ | พ.ศ. 2480 |
บริษัทผู้ผลิต | Royal Small Arms Factory |
ช่วงการผลิต | พ.ศ. 2480–2483 |
จำนวนที่ผลิต | ~62,000 |
แบบอื่น | Mk I, Mk II |
ข้อมูลจำเพาะ | |
มวล | 35 ปอนด์ (16 กิโลกรัม) ไม่ได้มีการบรรจุ |
ความยาว | 5 ฟุต 2 นิ้ว (1.575 เมตร) |
ความยาวลำกล้อง | 36 นิ้ว (910 มม); รุ่นสำหรับหน่วยทหารพลร่ม: 30 นิ้ว (762 มม) |
กระสุน | Kynoch & RG .55 Boys |
ขนาดลำกล้องปืน | (เส้นผ่าศูนย์กลางกระสุน) .0.5507 นิ้ว (13.99 มม) (9/16 นิ้ว) [1] |
การทำงาน | ดึงลูกเลื่อนก่อนยิง |
อัตราการยิง | ~10 นัด/นาที |
ความเร็วปากกระบอก | Mk I: 747 เมตร/วินาที (2,450.1 ฟุต/วินาที) Mk II: 884 เมตร/วินาที (2,899.5 ฟุต/วินาที) |
ระยะหวังผล | พลังการเจาะ 23.2 มม ที่ 90° 100 หลา (91 เมตร)[2] พลังการเจาะ 18.8 มม ที่ 90° 500 หลา (460 เมตร)[2] |
ระบบป้อนกระสุน | แม็กกาซีนถอดออกได้แบบกล่อง บรรจุ 5 นัด |
ไรเฟิล,ต่อต้านรถถัง, .55ไอเอ็น, บอยส์ เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "ปืนไรเฟิลต่อต้านรถถังบอยส์" (หรือเรียกง่ายๆ ว่า บอยส์) เป็นปืนไรเฟิลต่อต้านรถถังสัญชาติบริติชที่ถูกใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มันมักจะถูกเรียกชื่อเล่นว่า "ปืนช้าง" โดยผู้ใช้งาน เนื่องจากขนาดของมันและขนาดลำกล้องของมัน[3]
ปืนเหล่านี้มีรุ่นสามหลักของบอยส์: รุ่นแรกคือ (มาร์ค 1) ซึ่งมีปากกระบอกปืนแบบหัวกลมเพื่อลดแรงรีคอยล์ และโมโนพอดแบบรูตัวที ถูกสร้างขึ้นเป็นหลักที่บริษัทผลิตอาวุธขนาดเล็กเบอร์นิงแฮม (BSA)ในอังกฤษ รุ่นต่อมา (มาร์ค 1*) ถูกสร้างขึ้นเป็นหลักที่ John Inglis and Company ในโทรอนโต, รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา ซึ่งมีปากกระบอกปืนแบบสี่เหลี่ยมรูปทรงคล้ายฮาโมนิก้าเพื่อลดแรงรีคอยล์ และขาตั้งปืนแบบรูปตัววี และรุ่นที่สามที่ถูกทำขึ้นสำหรับกองกำลังทหารโดดร่มซึ่งมีลำกล้องขนาด 30 นิ้ว (762มม) และไม่มีปากกระบอกปืนเพื่อลดแรงรีคอยล์ นอกจากนี้ยังมีการใช้กระสุนที่แตกต่างกันออกไป โดยรุ่นต่อๆ มาแสดงให้เห็นถึงการเจาะเกราะที่ดีกว่า
แม้ว่าจะมีปริมาณที่เพียงพอที่จะต่อกรกับรถถังเบาและรถถังขนาดเล็ก (tankettes) ในช่วงแรกของสงคราม ต่อมาบอยส์นั้นไม่สามารถยิงทะลุเจาะเกราะกับยานพาหนะที่มีเกราะหนากว่าและได้ถูกเลิกใช้งานไป จากนั้นก็ได้หันไปใช้เครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถังแบบ PIAT ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าแทนระหว่างสงคราม
ผู้ใช้
[แก้]- สหราชอาณาจักร
- ออสเตรเลีย[4]
- แคนาดา - ปืนทั้งหมด 771 กระบอกถูกผลิตในแคนาดาและขายต่อไปให้ยังสหรัฐอเมริกา
- สาธารณรัฐจีน[5]
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก – ใช้โดยกบฏคองโกงเพียงน้อยนิดระหว่างปี ค.ศ. 2507-2508, คาดว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน ส่งให้
- ฟินแลนด์ – เปลี่ยนชื่อเป็น 14 mm pst kiv/37, ระหว่าง สงครามฤดูหนาวและใน สงครามต่อเนื่อง
- ฝรั่งเศส - ได้รับเป็นจำนวนมากโดยการแลกเปลี่ยนกับ ปืนต่อต้านรถถังขนาด 25มม.[6]
- อิสราเอล[7]
- ไรช์เยอรมัน - ถูกยึดหลังจากการอพยพของ กองกำลังรบนอกประเทศบริติช ในนอร์เวย์และฝรั่งเศส ในชื่อ 13,9 mm Panzerabwehrbüchse 782 (englisch) หรือชื่อย่อ PzB 782(e) in German service.[8]
- กรีซ - ใช้โดย กองทัพกรีซ during สงครามอิตาลี-กรีซ และใน สงครามกลางเมืองกรีซ
- อินเดีย[9]
- ไอร์แลนด์
- อิตาลี - ยึดได้ใน การทัพที่แอฟริกาเหนือ[10]
- ลักเซมเบิร์ก
- มาลายา
- นิวซีแลนด์[11]
- ฟิลิปปินส์ [ต้องการอ้างอิง]
- โปแลนด์ - ถูกใช้โดย กองกำลังติดอาวุธโปแลนด์ตะวันตก[12]
- โปรตุเกส
- สหภาพโซเวียต - ได้รับทั้งหมด 3,200 กระบอกโดย นโยบายให้ยืม-เช่า[13]
- สหรัฐอเมริกา – ถูกใช้โดย หน่วยจู่โจมนาวิกโยธิน[8] ใน สงครามเกาหลี, เหล่านาวิกโยธินสหรัฐ ได้ทำการยืมปืน Boys มาจากทหารแคนาดา, โดยทำการเสริมความแข็งแรงและทำการติดกล้องเล็งสำหรับการยิงระยะไกลเข้าไป และถูกใช้เป็นสไนเปอร์ระยะไกลเพื่อเป็นการทดลอง, ยิงกระสุน .50 BMG (โดยเพิ่มดินปืนเท่าตัว) ไรเฟิลพวกนี้มีระยะการยิงมากกว่า 2000 หลา [14]
- พลพรรคยูโกสลาเวีย[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Huon 1988, pp. 339–340.
- ↑ 2.0 2.1 Boys Anti-Tank Rifle Mk.I, 1942, Small Arms Training, Volume I, Pamphlet No.5
- ↑ Henderson 1958, p. 18.
- ↑ "Boys Mark 1 Anti tank Rifle". awm.gov.au. Australian War Memorial.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อChinese
- ↑ Bishop 2002, p. 212
- ↑ Sam Katz (1988). Israeli Elite Units since 1948. Osprey Publishing. p. 6. ISBN 9780850458374.
- ↑ 8.0 8.1 Bishop 2002, p. 213
- ↑ Sumner, Ian (25 Aug 2001). The Indian Army 1914–1947. Elite 75. Osprey Publishing. p. 62. ISBN 9781841761961.
- ↑ Battistelli 2013, p. 32
- ↑ Stack, Wayne; O’Sullivan, Barry (20 Mar 2013). The New Zealand Expeditionary Force in World War II. Men-at-Arms 486. Osprey Publishing. p. 45. ISBN 9781780961118.
- ↑ Zaloga, Steven J. (1982). The Polish Army 1939–45. Men-at-Arms 117. Osprey Publishing. p. 22. ISBN 9780850454178.
- ↑ Zaloga & Ness 1998, p. 197.
- ↑ Pegler 2010, p. 55.
- ↑ Vukšić, Velimir (July 2003). Tito's partisans 1941–45. Warrior 73. Osprey Publishing. p. 25. ISBN 978-1-84176-675-1.