ข้ามไปเนื้อหา

ปีเตอร์ แลง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปีเตอร์ แลง
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ปีเตอร์ แลง
วันเกิด (1986-04-16) 16 เมษายน ค.ศ. 1986 (38 ปี)
สถานที่เกิด ซูริค สวิตเซอร์แลนด์
ส่วนสูง 1.80 m (5 ft 11 in)
ตำแหน่ง กองหลัง, กองกลาง
สโมสรเยาวชน
2001-2003 วินเทอร์ทัวร์
2004-2005 เอ็สเซ ไฟรบวร์ค
2005-2007 บาเซิล
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2007-2010 ชัฟเฮาเซิน 57 (4)
2010-2013 บางกอกกล๊าส 51 (4)
ทีมชาติ
2007 Switzerland U21 1
2009 ทีมชาติไทย 5
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 23 June 2009
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 23 June 2009

ปีเตอร์ แลง (เยอรมัน: Peter Läng; อังกฤษ: Peter Laeng) อดีตนักฟุตบอลชาวไทยเชื้อสายสวิตเซอร์แลนด์ เคยเล่นให้กับสโมสรชัฟเฮาเซินในลีกสวิส และสโมสรบางกอกกล๊าส ในไทยลีก

ประวัติ

[แก้]

ปีเตอร์ แลง เกิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2530 ที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นบุตรชายของวิไลวรรณ แลง และวอลเทอร์ แลง โดยปีเตอร์ แลงมีพี่น้องรวม 5 คนคือ

  1. จรีพร แลง
  2. มณชญา แลง
  3. ณัฐพล แลง
  4. ขวัญกมล แลง
  5. ปีเตอร์ แลง

พี่น้องทุกคนเกิดที่ จังหวัดนครราชสีมา ได้ย้ายไปสวิตในปี 2529 (ยกเว้นตัวเขาที่เกิดที่สวิตเซอร์แลนด์) เมื่ออายุได้ 6 ปี ผู้ปกครองพาไปสมัครเข้าเรียนฟุตบอลที่ เอฟซี อัลสเตตเทน พออายุได้ 14 ปี ย้ายมาอยู่เอฟซี วินเทอร์ทัวร์ เล่นเป็นเซนเตอร์ เข้าสู่ทีมชาติสวิส เยาวชนอายุไม่เกิน 15 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ย้ายมาสู่เอ็สเซ ไฟรบวร์ค (อะคาเดมี) ในเยอรมนี เซ็นสัญญาเป็นเวลา 2 ปี และเข้าสู่โลกของการเป็นนักฟุตบอลอาชีพครั้งแรก หลังจากนั้นย้ายไปร่วมทีมเยาวชนของ เอฟซี บาเซิล ในสวิตเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2550 ยุติการเล่นทีมชาติอายุไม่เกิน 21 ปี โดยตลอดที่ติดทีมชาติเยาวชนชุดต่าง ๆ 55 ครั้งทำประตูได้ 6 ประตู และยังร่วมในการแข่งขันรอบคัดเลือกเพื่อไปชิงแชมป์ยุโรปหลาย ๆ ครั้ง และต่อมาได้ตัดสินใจเข้ามาอยู่สโมสรชัฟเฮาเซิน[1]

ปีเตอร์ แลง เลือกเล่นให้กับทีมชาติไทย โดยลงเล่นให้ทีมชาติอย่างเป็นทางการนัดแรกในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2552 ภายใต้การคุมทีมของไบรอัน ร็อบสัน ซึ่งเป็นเกมส์เอเชียน คัพ รอบคัดเลือกระหว่างสิงคโปร์ กับ ไทย (สิงคโปร์ 1-3 ไทย) โดยถูกส่งลงสนามในนาทีที่ 53 แทนสุรัตน์ สุขะ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ผมขอเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของทีมชาติไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-20. สืบค้นเมื่อ 2009-08-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]