ฉบับร่าง:ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์
![]() | นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ วรุฒ หิ่มสาใจ (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 17 วันก่อน (ล้างแคช)
ฉบับร่างนี้ถูกส่งแล้ว กำลังรอตรวจในคิว |
ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 336 วัน) | |
ก่อนหน้า | กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 กันยายน พ.ศ. 2536 |
พรรคการเมือง | ก้าวไกล (2563–2567) ประชาชน (2567–ปัจจุบัน) |
ชื่อเล่น | บูม |
ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ (เกิด 16 กันยายน พ.ศ. 2536) ชื่อเล่น บูม เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาชน
ประวัติ
[แก้]ปารเมศ เกิดวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2536 เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนแซ่เตีย เมื่ออายุ 12 ปี เขาไปเรียนต่อที่ประเทศนิวซีแลนด์ และปีต่อมาจึงย้ายไปเรียนต่อที่ประเทศจีน[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์ ภาคภาษาจีน มหาวิทยาลัยฟูตั้น (Fudan University) เมืองเซี่ยงไฮ้
การทำงาน
[แก้]ปารเมศเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายไทย-จีน ทำงานให้คำปรึกษาคนจีนที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เขาได้ติดตามการเมืองมาโดยตลอดและสนับสนุนแนวคิดของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ในขณะนั้น[1] ต่อมาเขาได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล และเป็นประธานคณะทำงานวิเทศสัมพันธ์ไทย-จีน ของพรรคก้าวไกล[2] จากนั้นปารเมศได้ดำรงตำแหน่งรองโฆษกคณะอนุกรรมธิการพิจารณาโครงสร้างราคาพลังงานที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้า ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25[3]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ปารเมศลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขต 1 และชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 37,438 คะแนน และได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการพลังงาน ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26 นอกจากนั้นยังดำรงตำแหน่งรองประธานกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-จีน[4] ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาให้ยุบพรรคก้าวไกลในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ปารเมศและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไม่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองทั้งหมดได้ย้ายไปสังกัดพรรคประชาชน[5]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคก้าวไกล → พรรคประชาชน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "เลือกตั้ง 2566 : เพราะก้าวไกล 'ตรงไปตรงมา' บูม-ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ อาสาชิงเก้าอี้ ส.ส. กทม. เขต 1". THE STANDARD. 2023-05-11.
- ↑ "พร้อมสู้ศึกเลือกตั้งกรุงเทพฯ เขต 1 ก้าวไกลส่ง 'ปารเมศ' ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายจีน-ไทย เป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ในพื้นที่กระแสก้าวไกลมาแรงชนะใจคนกรุงเทพชั้นในได้".
- ↑ "สรุปผลการดำเนินงานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕" (PDF).
- ↑ "ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การรับรองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม สภาประชาชนแห่งชาติ". ryt9.com. สืบค้นเมื่อ 2025-03-27.
- ↑ "การันตีไร้งูเห่า! 143 สส.ก้าวไกล โชว์ปึกย้ายไปพรรคใหม่ 100% เปิดตัว 9 ส.ค.67".
![]() | โปรดรอสักครู่
หน้านี้อาจใช้ระยะเวลานานถึงหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากฉบับร่างจะได้รับการทบทวนตามลำดับ ขณะนี้มี 179 หน้าที่กำลังรอการทบทวน
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
เครื่องมือตรวจสอบ
|