ชาวไทยในประเทศปากีสถาน
ประชากรทั้งหมด | |
---|---|
กลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานถาวร ประมาณ 200[1]–2,000 คน (พ.ศ. 2554)[2] นักศึกษาสัญชาติไทย ประมาณ 300[1]–600 คน (พ.ศ. 2561)[3][4] | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
บัตตากราม[5] การาจี[6] อิสลามาบาด[6] ประเทศปากีสถาน | |
ภาษา | |
ปาทาน, อูรดู, มลายูปัตตานี,[7][8] อาหรับ[9] มีส่วนน้อยที่สามารถใช้ภาษาไทย[10] | |
ศาสนา | |
อิสลาม[11] |
ชาวไทยในประเทศปากีสถาน คือกลุ่มชนผู้มีเชื้อสายไทยหรือมีสัญชาติไทย มีถิ่นพำนักอาศัยอยู่ในประเทศปากีสถาน ทั้งอย่างถาวรหรือชั่วคราว ชาวไทยในปากีสถานนี้อาศัยกระจายอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ ๆ เช่น อิสลามาบาด ลาฮอร์ หรือการาจี และมีชาวไทยจำนวนมากเฉพาะที่บัตตากรามในแคว้นแคบาร์ปัคตูนควา ซึ่งเข้าไปตั้งถิ่นฐานนานหลายสิบปีมาแล้ว
ประวัติ
[แก้]ชุมชนไทยในบัตตากราม เริ่มเกิดขึ้นโดยชาวปาทานจากปากีสถานรุ่นแรก ๆ อพยพเข้ามาสู่ประเทศไทยช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองไม่นานนัก โดยเดินทางลัดจากปากีสถานผ่านประเทศอินเดีย (แต่เดิมยังรวมกับปากีสถานเป็นประเทศเดียวกัน) ตัดเข้าประเทศพม่าในปัจจุบัน และเข้าไทยทางด่านแม่สอด จังหวัดตาก พวกเขาตั้งรกรากในจังหวัดลพบุรีและสระบุรี เมื่อมาอยู่เมืองไทยก็แต่งงานมีครอบครัวกับคนไทย ครั้นเมื่อพวกเขาอพยพกลับประเทศปากีสถานเพื่อรับมรดกที่ดิน ก็ได้นำครอบครัวชาวไทยไปอาศัยในประเทศปากีสถานด้วยกันจนเกิดชุมชนคนเชื้อสายไทยที่นั่น[12]
ปัจจุบันชุมชนมีไทยตามหัวเมืองสำคัญ เช่น อิสลามาบาด ลาฮอร์ หรือการาจี แต่ที่เมืองบัตตากราม (ปาทาน: بٹگرام) ในแคว้นแคบาร์ปัคตูนควา (ปาทาน: خیبر پښتونخوا) มีครอบครัวเชื้อสายไทยอยู่ประมาณ 300 หลังคาเรือน[13] ในบัตตากรามเองก็มีโรงแรมชื่อ "ไทยโฮเต็ล" ซึ่งในโรงแรมเองก็มีการบริการอาหารไทยด้วย[12] และอสังหาริมทรัพย์เกือบครึ่งของเมืองเป็นของบุคคลที่มีเชื้อสายไทย[14] หลายคนถือสองสัญชาติคือทั้งไทยและปากีสถาน ทว่ารูปพรรณนั้นมีลักษณะอย่างชาวเอเชียใต้มากกว่าไทย[13]
นอกจากกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐานระยะยาวในบัตตากราม ก็ยังมีชาวไทยพำนักอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ โดยมากเป็นนักศึกษา รองลงมาเป็นแรงงาน ในปี พ.ศ. 2544 มีชาวไทยอาศัยอยู่ในปากีสถาน 363 คน[15] ใน พ.ศ. 2554 เฉพาะเมืองการาจีแห่งเดียวก็มีนักศึกษาไทยอยู่ 120 คน[8] ใน พ.ศ. 2553 เฉพาะกลุ่มนักศึกษาไทยในปากีสถานมีจำนวน 415 คน[16] และในปี พ.ศ. 2554 จนถึง 2561 เฉพาะกลุ่มนักศึกษาไทยในปากีสถานมีอยู่ราว 600 คน[3][4] พ.ศ. 2563 มีชาวไทยที่เข้าไปทำงานในปากีสถานราว 40–50 คน[13]
วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2561 นักศึกษาไทยมุสลิมในปากีสถานจำนวนห้าคนถูกจับกุมในท่าอากาศยาน เพราะพยายามลอบนำอาวุธปืนขึ้นเครื่องบินกลับประเทศไทย[17]
ภาษา
[แก้]การใช้ภาษาของชาวปากีสถานเชื้อสายไทยที่บัตตากรามก่อน พ.ศ. 2551 พบว่ากลุ่มคนรุ่นแรกที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปยังพูดภาษาไทยได้ แต่สำเนียงแปร่ง[10][14] และไม่นิยมใช้สื่อสารกัน ส่วนคนรุ่นหลังที่เป็นลูกหลานของคนกลุ่มแรก ๆ ที่เกิดในประเทศปากีสถาน จะพูดไทยได้น้อย และหลายคนพูดไทยไม่ได้เลย[12] บางคนพูดภาษาจากท้องถิ่นดั้งเดิมของตนได้ เช่น ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษาไทยถิ่นอีสาน[13] แต่โดยส่วนมากใช้ภาษาปาทาน เนื่องจากสืบเชื้อสายจากชาวปาทานอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังพูดภาษาอูรดูซึ่งเป็นภาษาราชการของประเทศ รวมทั้งสามารถใช้ภาษาอาหรับได้เพราะเป็นภาษาทางศาสนา พบมากในกลุ่มนักศึกษา[9]
ส่วนกลุ่มนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาในปากีสถาน[9][18] ร้อยละ 75 มาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้[11] ซึ่งใช้ภาษามลายูปัตตานีในชีวิตประจำวัน[8] แต่พวกเขาก็ไม่สันทัดการใช้ภาษาไทย และเคอะเขินที่จะพูดภาษาไทยเพราะเกรงว่าจะไม่ชัด[1]
วัฒนธรรม
[แก้]ชาวปากีสถานเชื้อสายไทยในบัตตากรามจะสวมชุดแต่งกายประจำชาติของประเทศปากีสถาน ทุกคนยังรู้การทักทายด้วยการไหว้แบบไทย แม้ว่าในปัจจุบันชาวไทยกลุ่มนี้อยู่ภายใต้วัฒนธรรมปาทานและมีรูปลักษณ์อย่างชาวเอเชียใต้มากกว่าไทย[13] โดยตามธรรมเนียมของปาทาน สุภาพสตรีจะอยู่แต่ในบ้าน ไม่ค่อยออกมาพบปะคนแปลกหน้า[19] โดยสตรีจะมีทางเข้า-ออกเป็นสัดส่วนต่างหาก[20] และชาวไทยกลุ่มนี้จะเคร่งครัดในศาสนาอิสลาม
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 1.2 พิษณุ จันทร์วิทัน. ใต้ฟ้าปากีฯ. หน้า 286
- ↑ "ข้อเสนอแนะสำหรับคนไทยเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน". สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบาด. 22 กรกฎาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 "ความสัมพันธ์กับไทย". ศูนย์ให้บริการข้อมูลธุรกิจไทยในปากีสถาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-16. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 ชนัดดา ชินะโยธิน (23 มกราคม 2561). "คุยกับทูต อะศิม อะห์มัด ไปดูกันว่าไทย-ปากีสถาน เป็นหุ้นส่วนอะไรกันบ้าง ?". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พิษณุ จันทร์วิทัน. ใต้ฟ้าปากีฯ. หน้า 287
- ↑ 6.0 6.1 พิษณุ จันทร์วิทัน. ใต้ฟ้าปากีฯ. หน้า 142
- ↑ พิษณุ จันทร์วิทัน. ใต้ฟ้าปากีฯ. หน้า 144
- ↑ 8.0 8.1 8.2 แวลีเมาะ ปูซู (8 พฤษภาคม 2554). "เปิดฟ้าปากีสถาน (1) สัมผัส นศ.มุสลิมไทย เรียนศาสนาไม่ใช่ก่อการร้าย!". อิศรา. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 9.0 9.1 9.2 "'อับบาส' กับชีวิตนักศึกษาไทยในปากีสถาน". คมชัดลึก. 25 มิถุนายน 2558. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 10.0 10.1 พิษณุ จันทร์วิทัน. ใต้ฟ้าปากีฯ. หน้า 290
- ↑ 11.0 11.1 พิษณุ จันทร์วิทัน. ใต้ฟ้าปากีฯ. หน้า 143
- ↑ 12.0 12.1 12.2 พิษณุ จันทร์วิทัน. ใต้ฟ้าปากีฯ. หน้า 291
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 "สอท.-สกญ.ไทยในปากีสถาน เร่งช่วยคนไทยสู้ภัย'โควิด'". มติชนออนไลน์. 25 พฤษภาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 14.0 14.1 นิติภูมิ นวรัตน์ (4 สิงหาคม 2552). "เรื่องที่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ทราบ". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สถานการณ์ของคนไทยในปากีสถานและอุซเบกิสถาน". อาร์วายทีไนน์. 16 ตุลาคม 2544. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อุทกภัยในปากีสถานไม่มีคนไทยเสียชีวิต". การคุ้มครองคนไทย. 3 สิงหาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "5 นศ.ไทยถูกจับที่ปากีสถาน ซุกปืนเข้าสนามบิน". วอยซ์ทีวี. 11 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ การดูแลคนไทยในปากีสถานภายหลังการปฏิบัติการทางทหารในอัฟกานิสถาน
- ↑ พิษณุ จันทร์วิทัน. ใต้ฟ้าปากีฯ. หน้า 293
- ↑ พิษณุ จันทร์วิทัน. ใต้ฟ้าปากีฯ. หน้า 294
- บรรณานุกรม
- พิษณุ จันทร์วิทัน. ใต้ฟ้าปากีฯ. ฉะเชิงเทรา : เอ เปเปอร์ แอนด์ สเตชันเนอรี่ จำกัด, 2551