อำเภอปากพนัง
อำเภอปากพนัง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Pak Phanang |
แหลมตะลุมพุก | |
คำขวัญ: รังนกเลื่องชื่อ ร่ำลือขนมลา โอชาไข่ปลากระบอก ส่งออกกุ้งกุลาดำ ออกพรรษาไหว้พระลาก นิยมมากแข่งเรือเพรียว | |
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอปากพนัง | |
พิกัด: 8°21′30″N 100°12′24″E / 8.35833°N 100.20667°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 450.45 ตร.กม. (173.92 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 97,153 คน |
• ความหนาแน่น | 215.68 คน/ตร.กม. (558.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 80140, 80330 (เฉพาะตำบลคลองน้อย ชะเมา และเกาะทวด), 80370 (เฉพาะตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก บ้านใหม่ คลองกระบือ และหูล่อง) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8012 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอปากพนัง หมู่ที่ 2 ถนนชายทะเล ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80140 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ปากพนัง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประวัติ
[แก้]พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดปกครองท้องที่ให้มีมณฑลเทศาภิบาลใน ร.ศ. 114 อำเภอปากพนังมีชื่อว่า อำเภอเบี้ยซัด หมายถึง สถานที่ที่คลื่นซัดเอาหอยเบี้ยจากทะเลเข้าสู่หาด ซึ่งสมัยโบราณใช้หอยเบี้ยเป็นเงินตราแลกเปลี่ยนสินค้า และในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2445 ได้มีพระบรมราชโองการให้เปลี่ยนชื่ออำเภอเบี้ยซัด เป็น อำเภอปากพนัง[1]
เมืองปากพนัง เป็นเมืองท่ามาตั้งแต่ครั้งอดีต เป็นศูนย์กลางทางการค้าและเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล และมีอ่าวภายในบริเวณปากแม่น้ำปากพนัง เหมาะแก่การเดินเรือและการกระจายสินค้าต่อไปยังหัวเมืองสำคัญอื่น ๆ ทำให้สภาพเศรษฐกิจในสมัยก่อนเฟื่องฟูมาก เนื่องจากมีสำเภาจากเมืองจีนและเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่มาเทียบท่าและกระจายสินค้า และนอกจากนี้ยังปรากฏในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จเยือนปากพนัง เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2448 ความตอนหนึ่งว่า "อำเภอปากพนังนี้ ได้ทราบอยู่แล้วว่าเป็นที่สำคัญอย่างไร แต่เมื่อไปถึงฝั่งรู้สึกว่าตามที่คาดคะเนนั้น ผิดไปเป็นอันมาก ไม่นึกว่าจะใหญ่โตมั่งมีถึงเพียงนี้" และอีกตอนหนึ่งว่า "เมื่อจะคิดว่าตำบลนี้มีราคาอย่างไรเทียบกับเมืองสงขลา เงินผลประโยชน์แต่อำเภอเดียวนี้ น้อยกว่าเมืองสงขลาอยู่ 20,000 บาทเท่านั้น บรรดาเมืองท่าในแหลมมาลายูฝั่งตะวันออก เห็นจะไม่มีแห่งใดดีเท่าปากพนัง"
- วันที่ 15 มีนาคม 2445 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเบี้ยซัด จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น อำเภอปากพนัง[1]
- วันที่ 23 กรกฎาคม 2448 จัดตั้งศาลอำเภอปากพนัง (ศาลจังหวัดปากพนัง) ในท้องที่อำเภอปากพนัง แขวงเมืองนครศรีธรรมราช มีเขตตลอดท้องที่อำเภอปากพนัง และ อำเภอพังไกร (อำเภอหัวไทร) และให้มีอำนาจเทียบเท่าศาลหัวเมือง (ศาลจังหวัด)[2]
- วันที่ 16 กันยายน 2466 ยุบอำเภอหัวไทร ลงเป็น กิ่งอำเภอหัวไทร[3] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอปากพนัง
- วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2480 แยกพื้นที่ตำบลท้องลำเจียก ตำบลดอนตรอ ตำบลเชียรเขา ตำบลการะเกด ตำบลท่าขนาน ตำบลบ้านเนิน ตำบลเขาพระบาท ตำบลเสือหึง ตำบลบ้านกลาง และตำบลเชียรใหญ่ จากอำเภอปากพนัง ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียรใหญ่[4] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอปากพนัง
- วันที่ 14 มีนาคม 2480 จัดตั้งเทศบาลเมืองปากพนัง ในท้องที่บางส่วนของตำบลปากพนัง ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก ตำบลบางพระ และตำบลหูล่อง[5]
- วันที่ 2 สิงหาคม 2480 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหัวไทร อำเภอปากพนัง เป็น อำเภอหัวไทร[6][6] ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวไทร ตำบลหน้าสตน ตำบลบางนบ ตำบลบ้านราม ตำบลบางพูด ตำบลท่าซอม ตำบลทรายขาว ตำบลเขาพังไกร และตำบลแหลม
- วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2481 ตั้งตำบลไสหมากแยกออกจากตำบลบางตะพง และโอนพื้นที่ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอเชียรใหญ่ กับตั้งตำบลชะเมาแยกออกจากตำบลดอนตรอ และโอนพื้นที่มาขึ้นกับอำเภอปากพนัง[7][8]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบ้านใหม่แยกออกจากตำบลคลองกระบือ ตั้งตำบลเกาะทวดแยกออกจากตำบลชะเมา ตั้งตำบลท่าพญาแยกออกจากตำบลบ้านเพิง ตั้งตำบลบางตะพง แยกออกจากตำบลบางศาลา ตั้งตำบลปากพนังฝั่งตะวันออกและตำบลบางพระแยกออกจากตำบลบางฉนาก ตั้งตำบลปากพนังฝั่งตะวันตกแยกออกจากตำบลบางทวด ตั้งตำบลบ้านกลางแยกออกจากตำบลท่าขนาน และตำบลบ้านเนิน[9]
- วันที่ 21 ตุลาคม 2490 ยกฐานะกิ่งอำเภอเชียรใหญ่ อำเภอปากพนัง เป็น อำเภอเชียรใหญ่[10]
- วันที่ 31 พฤษภาคม 2492 ตั้งตำบลแหลมตะลุมพุก แยกออกจากตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก[11]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขนาบนาก ในท้องที่ตำบลขนาบนาก[12]
- วันที่ 30 ธันวาคม 2536 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองปากพนัง[13] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
- วันที่ 24 กรกฎาคม 2544 เปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลจังหวัดปากพนัง ให้ศาลจังหวัดปากพนังมีเขตอำนาจตลอดท้องที่อำเภอปากพนัง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเชียรใหญ่ และอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช[14] เนื่องจากมีการตั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช[15] โดยมีเขตการปกครองตลอดท้องที่ตำบลเชียรเขา ตำบลดอนตรอ ตำบลสวนหลวง ซึ่งเดิมอยู่ในเขตการปกครองท้องที่ของอำเภอเชียรใหญ่ และอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดปากพนัง และตำบลทางพูน ซึ่งเดิมอยู่ในเขตการปกครองท้องที่ของอำเภอร่อนพิบูลย์ และอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดทุ่งสง จึงสมควรเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลจังหวัดปากพนัง โดยให้ศาลจังหวัดปากพนังมีเขตอำนาจตลอดท้องที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติด้วย
- วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลบางตะพง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลา[16]
- วันที่ 7 กันยายน 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะทวด ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลเกาะทวด[17]
- วันที่ 6 กันยายน 2556 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลชะเมา ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลชะเมา[18]
- วันที่ 19 ธันวาคม 2556 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลบางพระ[19]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอปากพนังตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหัวไทร อำเภอเชียรใหญ่ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้](1).พายุโซนร้อนแฮเรียต เป็นพายุที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยเมื่อเดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2505 พายุโซนร้อนแฮเรียตพัดขึ้นฝั่งที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นยังคงเป็นที่จดจำมาถึงทุกวันนี้
(2).พายุโซนร้อนปาบึก (พ.ศ. 2562) (T1901, 36W) – พายุลูกแรกของปี 2562 ที่พัดขึ้นฝั่งที่อำเภอปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2562 ส่งผลให้มีฝนตกหนัก ลมแรงและคลื่นสูงในพื้นที่ภาคใต้และบ้านเรือนของชาวบ้านได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอปากพนังแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 18 ตำบล 143 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[20] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|
1. | ปากพนัง | Pak Phanang | –
|
9,460
|
|
2. | คลองน้อย | Khlong Noi | 19
|
10,972
| |
3. | ป่าระกำ | Pa Rakam | 11
|
4,445
| |
4. | ชะเมา | Chamao | 7
|
3,429
| |
5. | คลองกระบือ | Khlong Krabue | 13
|
5,695
| |
6. | เกาะทวด | Ko Thuat | 8
|
5,126
| |
7. | บ้านใหม่ | Ban Mai | 8
|
3,755
| |
8. | หูล่อง | Hu Long | 7
|
5,768
| |
9. | แหลมตะลุมพุก | Laem Talumphuk | 4
|
1,947
| |
10. | ปากพนังฝั่งตะวันตก | Pak Phanang Fang Tawantok | 4
|
8,859
| |
11. | บางศาลา | Bang Sala | 9
|
2,462
| |
12. | บางพระ | Bang Phra | 4
|
6,446
| |
13. | บางตะพง | Bang Taphong | 4
|
985
| |
14. | ปากพนังฝั่งตะวันออก | Pak Phanang Fang Tawan-ok | 8
|
11,424
| |
15. | บ้านเพิง | Ban Phoeng | 8
|
2,946
| |
16. | ท่าพยา[21] | Tha Phaya | 10
|
4,573
| |
17. | ปากแพรก | Pak Phraek | 9
|
3,347
| |
18. | ขนาบนาก | Khanap Nak | 10
|
4,804
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอปากพนังประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองปากพนัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากพนังทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลหูล่อง ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก ตำบลบางพระ และตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก
- เทศบาลตำบลเกาะทวด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะทวดทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลชะเมา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชะเมาทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพระ (นอกเขตเทศบาลเมืองปากพนัง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองน้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าระกำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าระกำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองกระบือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองกระบือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหูล่อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหูล่อง (นอกเขตเทศบาลเมืองปากพนัง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมตะลุมพุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแหลมตะลุมพุกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก (นอกเขตเทศบาลเมืองปากพนัง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางศาลาและตำบลบางตะพงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก (นอกเขตเทศบาลเมืองปากพนัง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเพิงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพญา[22] ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าพยาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากแพรกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลขนาบนาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขนาบนากทั้งตำบล
สถานที่สำคัญทางเศรษฐกิจ
[แก้]- สะพานปลานครศรีธรรมราช เป็นสะพานปลาในกำกับดูแลขององค์การสะพานปลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2547[23]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เปลี่ยนชื่ออำเภอ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 19 (52): 1010. March 15, 1902. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2011-09-16.
- ↑ "แจ้งความกระทรวงยุติธรรม [ตั้งศาลอำเภอปากพนัง และอำเภอพังไกร แขวงเมืองนครศรีธรรมราช]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (17): 392–393. July 23, 1905.
- ↑ "ประกาศ เรื่อง จัดเปลี่ยนแปลงท้องที่ในเขตมณฑลนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 110–111. September 16, 1923.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอเชียรใหญ่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 2918–2919. February 28, 1937.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พุทธศักราช ๒๔๘๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 1853–1858. March 14, 1937.
- ↑ 6.0 6.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 850–851. August 2, 1937.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3744–3746. February 6, 1938.
- ↑ "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๗๑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช หน้า ๓๗๔๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 4080. February 27, 1938.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-10.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (50 ง): 2661–2662. 21 ตุลาคม 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-10.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (30 ง): 2337–2338. May 31, 1949.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. March 1, 1958.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (228 ก): (ฉบับพิเศษ) 54-57. December 30, 1993.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลจังหวัดปากพนัง พ.ศ. ๒๕๔๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (60 ก): 1–2. July 24, 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-09-10. สืบค้นเมื่อ 2021-09-10.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 1–4. November 20, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-10.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). September 24, 2004: 1–2.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะทวด เป็น เทศบาลตำบลเกาะทวด". September 7, 2012.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลชะเมา เป็น เทศบาลตำบลชะเมา". September 6, 2013.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ เป็น เทศบาลตำบลบางพระ". December 19, 2013.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
- ↑ ["ท่าพยา" ตามทะเบียนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และตามประกาศกระทรวงมหาดไทย]
- ↑ ["องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพญา" ตามสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น]
- ↑ ประกาศองค์การสะพานปลา เรื่อง ตั้งสะพานปลานครศรีธรรมราช