ปัญหาสกันทอร์ป
ปัญหาสกันทอร์ป (อังกฤษ: Scunthorpe problem) เป็นปัญหาที่เกิดจากตัวกรองสแปมหรือเสิร์ชเอนจินบล็อกเว็บไซต์ อีเมล หรือผลการค้นหาโดยไม่ตั้งใจเนื่องจากข้อความมีสายอักขระหรือสายอักขระย่อยที่มีความหมายหยาบคายหรือไม่พึงประสงค์ โดยส่วนใหญ่จะพบในชื่อ ชื่อย่อ และศัพท์เทคนิค
ปัญหานี้เกิดขึ้นเนื่องจากคอมพิวเตอร์มีความสามารถมากพอที่จะตรวจค้นหาสายอักขระในเอกสารหรือข้อความได้ แต่ยังไม่มากพอที่จะตีความหมายตามบริบทซึ่งซับซ้อนกว่าได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การบล็อกอย่างกว้าง ๆ ส่งผลทำให้เกิดผลบวกลวงที่มีผลกระทบต่อสายอักขระที่ไม่ได้มีความหมายหยาบคายหรือไม่พึงประสงค์ได้
ปูมหลัง
[แก้]ปัญหานี้มีที่มาจากเหตุการณ์ใน ค.ศ. 1996 เมื่อตัวกรองคำหยาบของเอโอแอลทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากเมืองสกันทอร์ป มณฑลลิงคอล์นเชอร์ ในประเทศอังกฤษไม่สามารถจดทะเบียนผู้ใช้กับเอโอแอลได้เนื่องจากชื่อเมืองมีสายอักขระย่อย "cunt" ซึ่งเป็นคำสแลงในภาษาอังกฤษหมายถึงอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง[1] ต่อมาในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ตัวกรองทางเลือกเซฟเสิร์ชของกูเกิลทำให้เกิดปัญหาในลักษณะเดียวกัน โดยผู้ใช้ที่เปิดใช้เซฟเสิร์ชไม่สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจท้องถิ่นหรือยูอาร์แอลเว็บไซต์ที่มีคำว่า Scunthorpe ในชื่อได้[2]
ตัวอย่างอื่น ๆ ที่สำคัญ
[แก้]ความผิดพลาดอื่น ๆ จากตัวกรองประเภทนี้ที่มีบันทึกได้แก่
การจดทะเบียนชื่อโดเมนและบัญชีผู้ใช้
[แก้]- เดือนเมษายน ค.ศ. 1998 เจฟฟ์ โกลด์พยายามจดทะเบียนชื่อโดเมน
shitakemushrooms.com
แต่เนื่องจากชื่อโดเมนมีคำว่า shit ซึ่งติดตัวกรองของ InterNIC[3] คำว่าเห็ดหอมในภาษาอังกฤษเป็นคำยืมจากภาษาญี่ปุ่น ว่า 椎茸 (shiitake) ซึ่งในภาษาอังกฤษมักสะกดย่อเป็น shitake - ค.ศ. 2000 รายการข่าวในประเทศแคนาดาเผยแพร่เนื้อหาข่าวว่าเว็บไซต์ของสภาท้องถิ่นมอนทรีออล (Montreal Urban Community; ฝรั่งเศส: Communauté urbaine de Montréal) ถูกบล็อกเนื่องจากชื่อโดเมนของเว็บไซต์จดตามอักษรย่อในภาษาฝรั่งเศส (ภาษาทางการของรัฐเกแบ็ก) CUM (www.cum.qc.ca)[4] ความหมายหนึ่งของคำว่า "cum" ได้แก่คำสแลงในภาษาอังกฤษสื่อถึงน้ำอสุจิ
- เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 เครก โคเบิร์น (Craig Cockburn) ชาวสกอตแลนด์แจ้งว่าเขาไม่สามารถสร้างบัญชีผู้ใช้ฮอตเมลโดยใช้นามสกุลของเขาได้ นอกจากนี้เขายังมีปัญหากับอีเมลที่ทำงานของเขาด้วยเนื่องจากตำแหน่งงาน software specialist มีสายอักขระย่อย cialis ซึ่งตรงกับชื่อยารักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศซึ่งมักปรากฏในอีเมลสแปม ในช่วงแรกฮอตเมลแนะนำให้เขาสะกดนามสกุลว่า C0ckburn (ใช้ตัวเลข 0 แทนตัวอักษร "o") ก่อนที่จะยกเลิกการบล็อกในเวลาต่อมา[5] ต่อมาใน ค.ศ. 2010 นามสกุลของเขาสร้างปัญหาเดิมอีกครั้งเมื่อพยายามสร้างบัญชีผู้ใช้บนเว็บไซต์ของบีบีซี[6]
- เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 ลินดา คัลลาฮัน (Linda Callahan) ไม่สามารถใช้นามสกุลสร้างบัญชีผู้ใช้ยาฮู! ได้เนื่องจากนามสกุลของเธอมีสายอักขระย่อย Allah ยาฮู! ปลดบล็อกเธอในเวลาต่อมา[7]
- เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 ดร. เฮอร์มัน ไอ. ลีพชิทซ์ (Herman I. Libshitz) ไม่สามารถสร้างบัญชีผู้ใช้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเวอไรซันได้เนื่องจากนามสกุลมีสายอักขระย่อย shit และเวอไรซันปฏิเสธที่จะยกเว้นนามสกุลของเขา เวอไรซันประกาศขออภัยในเวลาต่อมา[8]
- เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2018 นาทาลี ไวเนอร์ (Natalie Weiner) โพสต์ข้อความทางโซเชียลมีเดียว่าเธอสร้างบัญชีผู้ใช้เว็บไซต์หนึ่งไม่ได้เพราะนามสกุลของเธอเป็นคำสแลงหมายถึงอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย และมีผู้แสดงความคิดเห็นตอบโพสต์ของเธอว่าประสบปัญหาเช่นเดียวกัน ซึ่งรวมทั้งเบน ชมัก (Ben Schmuck; นามสกุลภาษายิดดิชยังเป็นคำสแลงในภาษาอังกฤษหมายถึงอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย[9]) และอรุณ ทิกษิต (Arun Dikshit; นามสกุลเป็นภาษาสันสกฤตหมายถึงผู้สอนหรือผู้ให้ความรู้ มีสายอักขระย่อย shit)[10][11][12] บทความข่าวเกี่ยวกับโพสต์นี้ระบุว่าเป็นปัญหาทางเทคนิคที่พบบ่อยและซับซ้อนที่ยังไม่มีทางแก้ไขได้[10]
ผลการค้นหาเว็บไซต์
[แก้]- ในช่วงเวลาหลายเดือนก่อนการแข่งขันซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 30 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1996 ชื่อการแข่งขันถูกกรองเนื่องจากการแข่งขันซูเปอร์โบวล์ใช้ตัวเลขโรมันบอกลำดับที่การแข่งขัน และตัวเลขโรมันที่สื่อถึงหมายเลข 30 (XXX) ยังใช้ในความหมายเกี่ยวกับสื่อลามก[13]
- แกเร็ท โรลอฟส์ ผู้ออกแบบเว็บไซต์ RomansInSussex.com กล่าวใน ค.ศ. 2004 ว่าเขาประสบปัญหาว่าระบบอินเทอร์เน็ตในห้องสมุดประชาชน โรงเรียน และอินเทอร์เน็ตคาเฟ่บล็อกเว็บไซต์ที่มีคำว่า sex ในชื่อโดเมน ซึ่งเป็นงานยากสำหรับเว็บไซต์ RomansInSussex.co.uk ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน"[2]
- ค.ศ. 2008 บริการระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายของเมืองฟากาตาเน (Whakatane) ในประเทศนิวซีแลนด์บล็อกผลการค้นหาต่าง ๆ ที่มีสายอักขระย่อย whak ซึ่งรวมถึงชื่อเมืองเองด้วยเนื่องจากขั้นตอนวิธีเชิงสัทลักษณ์ของตัวกรองวิเคราะห์เสียง "whak" ว่าคล้ายกับ fuck ในสำเนียงภาษามาวรี ทางเมืองได้ใส่ชื่อเมืองลงในบัญชีขาวว่าให้ผ่านได้[14]
- เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 หลังจากที่มีข่าวลือแพร่ทางเว็บไซต์ซินล่างเวย์ปั๋วว่าอดีตประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมินถึงแก่อสัญกรรม ทางการจีนได้บล็อกผลการค้นหาที่มีตัวอักษรจีน "เจียง" (江) อย่างไรก็ตาม ตัวอักษรดังกล่าวยังมีความหมายว่า "แม่น้ำ" ซึ่งทำให้ผลการค้นหาชื่อแม่น้ำหลายสาย รวมทั้งแม่น้ำแยงซี (จีน: 长江) ปรากฏข้อความว่าไม่สามารถแสดงผลการค้นหาได้เนื่องจากข้อบังคับทางกฎหมาย[15]
- เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 แพลตฟอร์มสำหรับซื้อขายสินค้าของกูเกิลบล็อกชื่อสินค้าที่มีสายอักขระย่อย gun เช่นปืนกาว (glue guns) ผลงานเพลงของกันส์แอนด์โรสเซส (Guns N' Roses) และไวน์เบอร์กันดี (Burgundy wine) หลังจากที่กูเกิลพยายามป้องกันไม่ให้เกิดการซื้อขายปืน[16]
อีเมล
[แก้]- ค.ศ. 2001 ยาฮู! เมลเริ่มใช้ตัวกรองอีเมลซึ่งแทนที่สายอักขระที่เกี่ยวข้องกับจาวาสคริปต์เพื่อป้องกันการแทรกสคริปต์ในอีเมลภาษาเอชทีเอ็มแอล ซึ่งจะแทรกเครื่องหมายยติภังค์ลงในข้อความ "JavaScript" "JScript" "VBScript" และ "LiveScript" และแทนที่ "eval" "mocha" และ "expression" ด้วยวลีที่มีความหมายคล้ายคลึงกันได้แก่ "review" "espresso" และ "statement" ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การแทนที่ไม่ได้จำกัดแค่ส่วนที่เป็นสคริปต์ซึ่งทำให้เกิดช่องโหว่ขึ้น และทำให้เกิดความผิดพลาดต่าง ๆ เช่น คำว่า medireview ปรากฏแทน medieval[17][18][19]
- เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 สมาชิกรัฐสภาในสภาสามัญชนสหราชอาณาจักรพบว่าตัวกรองสแปมที่ติดตั้งใหม่บล็อกอีเมลที่พูดถึงกฎหมายการล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual Offences Bill) ซึ่งอยู่ระหว่างการอภิปราย[20] นอกจากนี้ยังบล็อกอีเมลที่เขียนเป็นภาษาเวลส์เนื่องจากระบบไม่เข้าใจภาษาเวลส์[21]
- เดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 มีรายงานว่าพิพิธภัณฑ์ฮอร์นิมัน (Horniman Museum) ในกรุงลอนดอนไม่สามารถรับอีเมลได้เนื่องจากตัวกรองตีความคำว่า "Horniman" ซึ่งมาจากชื่อผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ว่าเป็นคำเลี่ยงของวลี horny man ซึ่ง horny เป็นคำสแลงหมายถึงอาการถูกกระตุ้นทางเพศ[22]
- คำว่า socialism socialist และ specialist ก่อให้เกิดปัญหาเนื่องจากมีสายอักขระย่อย cialis ทำให้อีเมลที่มีเรซูเมและประกาศรับสมัครงานซึ่งมีข้อความดังกล่าวถูกบล็อก[23]
- เดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 อีเมลประชาสัมพันธ์การแสดงละครสั้นแพนโทไมม์เรื่อง Dick Whittington ซึ่งส่งโดยครูคนหนึ่งในนอริชถูกระบบคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนบล็อกเนื่องจากคำว่า Dick มีอีกความหมายว่าเป็นคำสแลงใช้เรียกองคชาต[24]
- เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 อีเมลร้องเรียนจากชาวเมืองแมนเชสเตอร์คนหนึ่งเกี่ยวกับการก่อสร้างซึ่งส่งไปยังเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นถูกบล็อกเนื่องจากมีคำว่า erection ซึ่งสื่อถึงการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างได้เช่นกัน[25]
- ค.ศ. 2011 อีเมลของสมาชิกสภาเมืองดัดลีย์เกี่ยวกับแฟกกอตซึ่งเป็นอาหารท้องถิ่นของพื้นที่แบล็กคันทรีถูกบล็อกเนื่องจากคำว่า faggot มีความหมายใช้เป็นคำเหยียดหยามผู้ชายที่เป็นเกย์[26]
- เรซูเมที่ระบุปริญญาเกียรตินิยมเป็นภาษาละตินเช่น cum laude, summa cum laude และ magna cum laude ถูกบล็อกเนื่องจากคำว่า cum ซึ่งจากภาษาละตินแปลว่า with สามารถสื่อถึงการหลั่งน้ำอสุจิ[27]
ข้อความทางเครือข่ายสังคมออนไลน์
[แก้]- เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 ผู้ใช้ทวิตเตอร์จากประเทศลักเซมเบิร์กเปิดบัญชีใหม่ได้เพียง 29 นาทีและทวีตข้อความแรกว่า "Finally! A pair of great tits (Parus major) has moved into my birdhouse!" และทวิตเตอร์บล็อกบัญชีผู้ใช้ แม้ว่าผู้ใช้ดังกล่าวจะระบุชื่อวิทยาศาสตร์กำกับคำว่า great tit ซึ่งเป็นชื่อสามัญของนกก็ตาม[28]
- เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 เฟซบุ๊กบล็อกผู้ใช้จากสหราชอาณาจักรที่โพสต์เกี่ยวกับ faggot ซึ่งเป็นอาหารท้องถิ่น[29]
- เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2020 ในช่วงที่มีเรื่องอื้อฉาวเนื่องจากดอมินิก คัมมิงส์ (Dominic Cummings) ที่ปรึกษาประจำตัวนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันแห่งสหราชอาณาจักรฝ่าฝืนคำสั่งปิดเมืองทั่วประเทศ แฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับคัมมิงส์ไม่สามารถติดอันดับบนทวิตเตอร์ได้เนื่องจากสายอักขระย่อย cum ทำให้ระบบตีความว่าเกี่ยวข้องกับงานลามก[30]
- เดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 ตัวกรองคำหยาบของทวิตเตอร์บล็อกคำว่า "bone" "pubic" และ "stream" ในงานประชุมด้านบรรพชีวินวิทยา[31]
ชื่อเฉพาะที่ก่อให้เกิดปัญหา
[แก้]- นิตยสาร เดอะบีเวอร์ ซึ่งเป็นนิตยสารจากเมืองวินนิเพก ประเทศแคนาดาประสบปัญหาอีเมลและผลการค้นหาถูกบล็อก ทำให้ผู้เผยแพร่ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อนิตยสารเป็น แคนาดาส์ฮิสทรี ใน ค.ศ. 2010 หลังจากใช้ชื่อเดิมมากว่า 89 ปี[32][33] เดบอราห์ มอร์ริสันซึ่งเป็นผู้เผยแพร่ให้ความเห็นว่า "ย้อนกลับไปใน ค.ศ. 1920 เดอะบีเวอร์ เป็นชื่อที่ไม่มีปัญหาอะไรเลย และในขณะที่ความหมายอื่น [โยนี] ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรนักก็ตาม ความกำกวมของชื่อนี้ก็เริ่มสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาในยุคอินเทอร์เน็ต ชื่อที่ว่าทำให้พวกเราเติบโตได้ยากขึ้น"[34]
- ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากเมืองที่ชื่อมีสายอักขระไม่พึงประสงค์ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกับเมืองสกันทอร์ป
- เมืองเพนิสตัน (Penistone) ในมณฑลเซาท์ยอร์กเชอร์มีสายอักขระย่อย penis[35]
- เมืองไลต์วอเทอร์ (Lightwater) ในมณฑลเซอร์รีย์มีสายอักขระย่อย twat
- เมืองคลิเทอโร (Clitheroe) ในมณฑลแลงคาเชอร์มีสายอักขระย่อย clit ซึ่งเป็นคำสแลงสื่อถึงปุ่มกระสัน[36]
- เดือนเมษายน ค.ศ. 2021 เพจเฟซบุ๊กทางการของเทศบาลบีตช์ (Bitche) ในแคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศสถูกปิด เจ้าหน้าที่ของเทศบาลได้เปิดเพจใหม่โดยใช้รหัสไปรษณีย์แทนในชื่อ Mairie 57230 เฟซบุ๊กขออภัยและเรียกคืนเพจเดิมให้ ในขณะที่เทศบาลโรร์บัช-แล-บีตช์ (Rohrbach-lès-Bitche) ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันเปลี่ยนชื่อเพจเป็น Ville de Rohrbach[37][38]
- เดือนมกราคม ค.ศ. 2021 เฟซบุ๊กขออภัยหลังจากที่บล็อกผู้ใช้เนื่องจากตีความชื่อพลิมัทโฮ (Plymouth Hoe) ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวในเมืองพลิมัท มณฑลเดวอนว่าเป็นคำเหยียดเพศหญิง[39]
บทความข่าว
[แก้]- เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 เว็บไซต์ข่าวขององค์กร American Family Association ซึ่งเป็นองค์กรต่อต้านกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศใช้ตัวกรองกับบทความจากแอสโซซิเอเต็ดเพรสเกี่ยวกับนักกรีฑา ไทสัน เกย์ โดยแทนที่ข้อความ "gay" ด้วย "homosexual" ทำให้ชื่อนักกรีฑาดังกล่าวกลายเป็น "Tyson Homosexual"[40][41] ฟังก์ชันเดียวกันนี้ยังเคยก่อปัญหาแบบเดียวกันกับนักบาสเกตบอล รูดี เกย์ ซึ่งกลายเป็น "Rudy Homosexual"[42]
- คำหรือสายอักขระ "ass" อาจจะถูกแทนที่ด้วย "butt" ซึ่งส่งผลทำให้เกิดคำว่า "clbuttic" (จาก "classic") "buttignment" (จาก "assignment") และ "buttbuttinate" (จาก "assassinate")[43]
ตัวอย่างอื่น ๆ
[แก้]- เดือนมกราคม ค.ศ. 2014 ไฟล์ในเกมออนไลน์ ลีกออฟเลเจ็นดส์ VarusExpirationTimer.luaobj และ XerathMageChainsExtended.luaobj ถูกบล็อกโดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในสหราชอาณาจักรเนื่องจากมีสายอักขระย่อย sex ซึ่งได้รับการแก้ไขในภายหลัง[44]
- เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018 ระบบสั่งสินค้าของเว็บไซต์ของร้านพับลิกซ์ไม่อนุญาตให้ลูกค้าสั่งเค้กที่แต่งหน้าด้วยข้อความ summa cum laude แม้ว่าลูกค้าจะพยายามระบุคำสั่งเพิ่มเติม แต่หน้าเค้กยังปรากฏข้อความว่า "Summa --- Laude"[45][46]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Clive Feather (25 April 1996). Peter G. Neumann (บ.ก.). "AOL censors British town's name!". The Risks Digest. 18 (7).
- ↑ 2.0 2.1 McCullagh, Declan (23 April 2004). "Google's chastity belt too tight". CNET. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2011.
- ↑ Festa, Paul (27 April 1998). "Food domain found "obscene"". News.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2020.
- ↑ "Foire aux questions". radio-canada.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2012. สืบค้นเมื่อ 24 February 2011.
- ↑ Barker, Garry (26 February 2004). "How Mr C0ckburn fought spam". The Sydney Morning Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2009.
- ↑ Cockburn, Craig (9 March 2010). "BBC fail – my correct name is not permitted". blog.siliconglen.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2020.
- ↑ "Is Yahoo Banning Allah?". Kallahar's Place. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2016. สืบค้นเมื่อ 24 February 2011.
- ↑ Rubin, Daniel. "When your name gets turned against you". The Philadelphia Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2008. สืบค้นเมื่อ 3 August 2008.
- ↑ Gross, David C. English-Yiddish, Yiddish-English Dictionary: Romanized Hippocrene Books, 1995. p.144. ISBN 0-7818-0439-6
- ↑ 10.0 10.1 "The 'Scunthorpe Problem' Has Never Really Been Solved - Slashdot".
- ↑ Weiner, Natalie (28 August 2018). "this is without a doubt the best thing that's ever happened to mepic.twitter.com/rnVkmhB2dy".
- ↑ "Twitter / Account Suspended". twitter.com.
- ↑ "E-Rate And Filtering: A Review Of The Children's Internet Protection Act". Congressional Hearings. General. Energy and Commerce, Subcommittee on Telecommunications and the Internet. 4 April 2001.
- ↑ "F-Word Town's Name Gets Censored By Internet Filter". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2008. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
{{cite news}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Chin, Josh (6 July 2011). "Following Jiang Death Rumors, China's Rivers Go Missing". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2011.
- ↑ Molloy, Mark (27 February 2018). "Wine lovers cannot buy Burgundy tipple on Google as internet giant cracks down on 'gun' searches". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2018. สืบค้นเมื่อ 27 February 2018.
- ↑ "Yahoo admits mangling e-mail". BBC News. 19 July 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2021. สืบค้นเมื่อ 21 June 2013.
- ↑ "Hard news". Need To Know 2002-07-12. 12 July 2002. สืบค้นเมื่อ 2013-06-21.
- ↑ Knight, Will (15 July 2002). "Email security filter spawns new words". New Scientist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 June 2013.
- ↑ "E-mail vetting blocks MPs' sex debate". BBC News. 4 February 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2021.
- ↑ "Software blocks MPs' Welsh e-mail". BBC News. 5 February 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2021.
- ↑ Kwintner, Adrian (5 October 2004). "Name of museum is confused with porn". News Shopper.
- ↑ "Comment headaches". The Peking Duck. 21 November 2004.
- ↑ Jones, Sam (13 October 2004). "Panto email falls foul of filth filter". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2021.
- ↑ "E-mail filter blocks 'erection'". 30 May 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2021.
- ↑ "Black Country Councillor Caught up in Faggots Farce". Birmingham Mail. 24 February 2011.
- ↑ Maher, Kris. "Don't Let Spam Filters Snatch Your Resume". Career Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2006. สืบค้นเมื่อ 11 February 2008.
- ↑ "Luxemburger Twitter-Neubenutzer nach 29 Minuten blockiert" [Luxembourg new Twitter user blocked after 29 minutes]. Tageblatt (ภาษาเยอรมัน). 22 June 2010. สืบค้นเมื่อ 12 June 2010.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Faggots and peas fall foul of Facebook censors". Express & Star. November 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2020.
- ↑ Hern, Alex (27 May 2020). "Anti-porn filters stop Dominic Cummings trending on Twitter". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2021.
- ↑ Ferreira, Becky (15 October 2020). "A Profanity Filter Banned the Word 'bone' at a Paleontology Conference". Motherboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2021.
- ↑ "The Beaver mag renamed to end porn mix-up". The Sydney Morning Herald. Agence France-Presse. 13 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 24 February 2021.
- ↑ Austen, Ian (24 January 2010). "Web Filters Cause Name Change for a Magazine". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 24 February 2021.
- ↑ Sheerin, Jude (29 March 2010). "How spam filters dictated Canadian magazine's fate". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2021.
- ↑ Tom Chatfield (17 April 2013). "The 10 best words the internet has given English". The Guardian.
- ↑ Keyes, Ralph (2010). Unmentionables: From Family Jewels to Friendly Fire – What We Say Instead of What We Mean. John Murray. ISBN 978-1-84854-456-7.
- ↑ Kempf, Cédric (12 April 2021). "Insolite : Bitche est censuré par Facebook". Radio Mélodie (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-19. สืบค้นเมื่อ 2021-12-30.
- ↑ Darmanin, Jules (13 April 2021). "Facebook takes down official page for French town of Bitche". POLITICO. สืบค้นเมื่อ 3 July 2021.
- ↑ Morris, Steven (27 January 2021). "Facebook apologises for flagging Plymouth Hoe as offensive term". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2021.
- ↑ Frauenfelder, Mark (30 June 2008). "Homophobic news site changes athlete Tyson Gay to Tyson Homosexual". Boing Boing. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2021.
- ↑ Arthur, Charles (30 June 2008). "Computer autocorrects surname 'gay' to.. no, you guess". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2020.
- ↑ Mantyla, Kyle (30 June 2008). "The Dangers of Auto-Replace". Right Wing Watch. People for the American Way. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2020. สืบค้นเมื่อ 24 February 2021.
- ↑ Moore, Matthew (2 September 2008). "The Clbuttic Mistake: When obscenity filters go wrong". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2020.
- ↑ Gibbs, Samuel (21 January 2014). "UK porn filter blocks game update that contained 'sex'". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2020.
- ↑ Ferguson, Amber (2018-05-22). "Proud mom orders 'Summa Cum Laude' cake online. Publix censors it: Summa … Laude". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-24. สืบค้นเมื่อ 2018-05-22.
- ↑ Amatulli, Jenna (22 May 2018). "Publix Censors Teen's 'Summa Cum Laude' Graduation Cake". The Huffington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2018.