เสิร์ชเอนจิน
หน้าตา
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหา[1] คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป
รายชื่อเสิร์ชเอนจินเรียงลำดับตามความนิยม
เสิร์ชเอนจินอื่น ๆ
- กูเกิล (Google)
- บิง (Bing)
- ยาฮู! (Yahoo!)
- ไป่ตู้ (Baidu) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน[2]
- ยานเดกซ์ (Yandex) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของรัสเซีย[3]
เสิร์ชเอนจินในอดีตที่ปัจจุบันยกเลิกการใช้งานแล้ว
- ฮอตบอต (HotBot)
- แอลตาวิสตา (Alta Vista)
- ไลคอส (Lycos)
ในประเทศไทยมีการพัฒนาเครื่องมือค้นหาของไทยในชื่อ สรรสาร พัฒนาโดยเนคเทค
ประเภทของเครื่องมือค้นหา
- Catalog based search engine เป็นโปรแกรมสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่ง โดยโปรแกรมจะรวบรวม และแยกจัดเก็บเว็บไว้ในฐานข้อมูลตามประเภทหัวข้อของเว็บ เมื่อผู้ใช้มาค้นหา ก็จะสามารถเข้าไปดูตามหัวข้อต่าง ๆ แล้วดูหัวข้อย่อย ๆ เข้าไปอีกจนกว่าจะเจอหัวข้อหรือเรื่องที่ต้องการ ตัวอย่าง catalog based search engine คือ Yahoo เป็นต้น ซึ่งจะต่างกับ query based search engine ที่จะต้องพิมพ์คำค้นหาเพื่อตรวจสอบกับฐานข้อมูลว่ามีข้อมูลนี้หรือไม่ ถ้ามีก็จะแสดงรายชื่อออกมา
หลักการทำงานของเสิร์ชเอนจิน
- การตรวจค้นหาข้อมูลในเว็บเพจต่าง ๆ
- ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทำการตรวจค้นไว้ในฐานข้อมูล
- การแสดงผลการค้นหาข้อมูล
- หลักการทำงานของ Search Engine คือ ระบบ Search Engine จะสร้างระบบเก็บข้อมูล หรือที่เรียกว่า Google Bot สำหรับไต่ (Crawl) ตาม Links ต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูลเว็บต่าง ๆ ไปไว้ใน Server และจะถูกจัดอันดับด้วยระบบ Algorithm ที่จะประมวลผลว่าเว็บไหนมีคุณภาพ และเกี่ยวกับเรื่องอะไร โดยจะจัดเก็บข้อมูลไว้ตามหมวดหมู่ต่าง ๆ เมื่อผู้ค้นหาข้อมูลผ่านทาง Search Bot ด้วย Keyword ต่าง ๆ ระบบ Search Engine จะไปค้นหาข้อมูลเหล่านั้นมาแสดงผลให้ผู้ค้นหาข้อมูล
อ้างอิง
- ↑ ศัพท์บัญญัติคำว่า search engine คือ โปรแกรมค้นหา เก็บถาวร 2019-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ชื่อในศัพท์บัญญัติ ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิ.ย. 2551
- ↑ Tomohiro Ohsumi/Bloomberg (บ.ก.). "The 10 most innovative companies in Asia". Forbes Media. สืบค้นเมื่อ 2019-09-09.
- ↑ Bush, Jason (2008-06-26). "Where Google Isn't Goliath". Bloomberg BusinessWeek. สืบค้นเมื่อ 2019-09-09.