ปลาโมง
ปลาโมง | |
---|---|
![]() | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Siluriformes |
วงศ์: | Pangasiidae |
สกุล: | Pangasius |
สปีชีส์: | P. conchophilus |
ชื่อทวินาม | |
Pangasius conchophilus Roberts & Vidthayanon, 1991 |
ปลาโมง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius conchophilus อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pagasiidae) มีลักษณะคล้ายปลาเผาะ (P. bocourti) อันเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน มีตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง หนวดยาวถึงบริเวณช่องเหงือก แถบฟันบนเพดานเชื่อมติดกันเป็นรูปเหลี่ยม รูปร่างเพรียว หางคอด ก้านครีบแข็งที่หลังค่อนข้างยาวและใหญ่ หัวและลำตัวสีเทาหรือสีเขียวมะกอกเหลือบเหลืองหรือเขียว บางตัวสีเทาจาง ข้างลำตัวสีจางและไม่มีแถบคล้ำ ท้องสีจาง ครีบสีจาง ลูกปลามีสีเทาอมน้ำตาลหรือเหลือง มีขนาดประมาณ 60–80 เซนติเมตร
พบปลาที่ได้รับการค้นพบใน พ.ศ. 2534 โดยระบุว่าเป็นปลาชนิดใหม่ที่มีขนาดเล็ก กินกุ้ง ปู และแมลงเป็นส่วนใหญ่ ปลาขนาดใหญ่กินหอย ปู และเมล็ดพืช โดยหอยจะถูกกินทั้งตัวแล้วถ่ายออกมาเฉพาะเปลือก อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ พบมากในแม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง มีการบริโภคโดยการปรุงสดและหมักสับปะรด เนื้อมีรสชาติดี ในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม มาเลเซีย มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นปลาเศรษฐกิจด้วย
มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาโมงออดอ้อ", "ปลาเผาะ" "ปลาลึง" (เรียกซ้ำกับปลาเผาะชนิด P. bocourti), "ปลาสายยู" หรือที่ทางกรมประมงตั้งให้ คือ "ปลาสายยูเผือก" เป็นต้น[2]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Vidthayanon, C. (2011). "Pangasius conchophilus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2015.2. สืบค้นเมื่อ 3 September 2015.
- ↑ หน้า 33, สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒ โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8738-8
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Sawika Kunlapapuk and Sitthi Kulabtong. 2011. Biology and Breeding of Snail Eater Pangasius (Pangasius conchophilus) in Thailand: An Overview. Journal of Agricultural Science and Technology A1:1210-1213.
- ข้อมูลและรูปปลาโมง เก็บถาวร 2007-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน