ข้ามไปเนื้อหา

ปลาแปบขาวหางดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลาแปบขาวหางดำ
Oxygaster anomalura
จากอำเภอกูไตตะวันตก จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: ปลาตะเพียน
วงศ์ใหญ่: Cyprinoidea
วงศ์: วงศ์ปลาตะเพียน
สกุล: ปลาแปบขาว

van Hasselt, 1823
สปีชีส์: Oxygaster anomalura
ชื่อทวินาม
Oxygaster anomalura
van Hasselt, 1823
ชื่อพ้อง
  • Chela anomalurus (Van Hasselt, 1823)
  • Cyprinus oxygaster Valenciennes, 1844
  • Chela oxygaster (Valenciennes, 1844)
  • Leuciscus oxygaster (Valenciennes, 1844)
  • Oxygaster oxygaster (Valenciennes, 1844)

ปลาแปบขาวหางดำ หรือ ปลาแปบ[2] (อังกฤษ: Glass barb[3]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Oxygaster anomalura) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาแปบ ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

มีรูปร่างเพรียวยาว ลำตัวแบนข้างมากจนริมท้องเป็นสัน หัวมีขนาดเล็ก นัยน์ตาโต ครีบหลังอยู่ค่อนไปทางหางและตรงข้ามกับครีบก้น ครีบอกยาวจรดครีบท้อง ครีบหางเป็นแฉก เกล็ดมีลักษณะบางใสและหลุดง่าย เส้นข้างลำตัวโค้งลงขนานกับริมท้อง ลำตัวมีสีขาวเงิน ด้านหลังขุ่น มีแถบสีเหลืองทองจาง ๆ ยาวตามความยาวลำตัว

มีขนาดความยาวเต็มที่ 20 เซนติเมตร เป็นปลาที่อาศัยหากินตามผิวน้ำและกลางน้ำ อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ กินแมลงและแมลงน้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำและลำคลองของแม่น้ำตาปี ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี, ทะเลน้อยในเขตจังหวัดพัทลุง, แม่น้ำจันทบุรีในจังหวัดจันทบุรี[2] และยังพบได้ในแม่น้ำโขง รวมถึงแม่น้ำแม่กลอง และในพื้นที่ป่าพรุ[4] และพบได้ไกลจนถึงอินโดนีเซีย[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Vidthayanon, C. (2012). "Oxygaster anomalura". The IUCN Red List of Threatened Species: 2012: e.T181205A1709310. doi:10.2305/IUCN.UK.2012-1.RLTS.T181205A1709310.en.
  2. 2.0 2.1 สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 128. ISBN 974-00-8701-9
  3. "ปลา ที่พบในจังหวัดสงขลา". sci.psu.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-08. สืบค้นเมื่อ 27 December 2015. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  4. ดร. ชวลิต วิทยานนท์. คู่มือปลาน้ำจืดไทย. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2547. 232 หน้า. หน้า 121. ISBN 974-484-148-6
  5. Zakaria-Ismail, Mohd. (June 1994). "Zoogeography and biodiversity of the freshwater fishes of Southeast Asia". Hydrobiologia. 285 (1–3): 41–48. doi:10.1007/BF00005652.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Oxygaster anomalura ที่วิกิสปีชีส์