ปลาตะเพียนลาย
ปลาตะเพียนลาย | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cypriniformes |
วงศ์: | Cyprinidae |
สกุล: | Desmopuntius |
สปีชีส์: | D. johorensis |
ชื่อทวินาม | |
Desmopuntius johorensis (Duncker, 1904) | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาตะเพียนลาย หรือ ปลาตะเพียนม้าลาย[1] (อังกฤษ: Striped barb, Zebra barb; ชื่อวิทยาศาสตร์: Desmopuntius johorensis) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
มีรูปร่างเรียวยาว มีลายสีดำทั้งหมด 4 แถบ ยาวตามแนวนอนตามลำตัว ลายแต่ละเส้นขนานกัน ลำตัวสีเหลืองจาง ๆ เกล็ดเป็นเงามันสะท้อนแสงแวววาว เม่อยังเป็นลูกปลาวัยอ่อน ลายตามลำตัวจะเป็นแนวขวาง และค่อย ๆ กลายเป็นแนวนอนเมื่อปลาโตขึ้น[1]
ปลาตะเพียนลาย มีลักษณะคล้ายกับปลาตะเพียนลายมาเลย์ (Striuntius lineatus) แต่มีความแตกต่างกันคือ ปลาตะเพียนลายจะมีหนวดที่มุมปาก 2 คู่ ขณะที่ปลาตะเพียนลายมาเลย์ไม่มี มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 12.5 เซนติเมตร
พบกระจายพันธุ์ในป่าพรุตั้งแต่ภาคใต้ของไทย และแหลมมลายู จนถึงเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา ในอินโดนีเซีย
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่นเดียวกับปลาชนิดอื่น ๆ ในสกุลและวงศ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 หน้า 70, ตะเพียน Update, "คุยเฟื่องเรื่องปลาไทย" โดย อ.ชัยวุฒิ กรุดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. นิตยสาร The FISH MAX ปีที่ 4 ฉบับที่ 55: กุมภาพันธ์ 2014
- ↑ สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 148. ISBN 974-00-8701-9