ข้ามไปเนื้อหา

ปลาฉลามหนูใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาฉลามหนูใหญ่
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับ: Carcharhiniformes
วงศ์: Carcharhinidae
สกุล: Scoliodon
J. P. Müller & Henle, 1837
สปีชีส์: S.  laticaudus
ชื่อทวินาม
Scoliodon laticaudus
J. P. Müller & Henle, 1838
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Carcharias macrorhynchos Bleeker, 1852
  • Carcharias muelleri J. P. Müller & Henle, 1839
  • Carcharias palasoora Bleeker, 1853
  • Carcharias sorrahkowah Bleeker, 1853
  • Carcharias sorrakowah* Cuvier, 1817
  • Physodon muelleri (Müller and Henle, 1839)
  • Scoliodon palasoora (Bleeker, 1853)

* ชื่อพ้องคลุมเครือ

ปลาฉลามหนูใหญ่ หรือ ปลาฉลามหนูหัวแหลม (อังกฤษ: Spadenose shark, Walbeehm's sharp-nosed shark; ชื่อวิทยาศาสตร์: Scoliodon laticaudus) เป็นปลากระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง จำพวกปลาฉลาม อยู่ในวงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinidae)

เป็นปลาฉลามเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในสกุล Scoliodon[2]

ปลาฉลามหนูใหญ่ จัดเป็นปลาฉลามขนาดเล็ก มีอุปนิสัยไม่ค่อยดุร้าย มีรูปร่างยาวเพรียวคล้ายกระสวย ความยาวของลำตัวมาก หัวแบนลาดลงไปทางด้านหน้า จะงอยปากยาว ฟันที่ตาค่อนข้างโต มีเยื่อหุ้มตา ปากอยู่ด้านล่าง รูปร่างโค้งคล้ายรูปพระจันทร์เสี้ยว มีฟันคม ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบเรียบ ครีบหลังมี 2 อัน อันแรกมีขนาดใหญ่รูปสามเหลี่ยม อันที่สองมีขนาดเล็กเกล็ดมีฐานรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนฝังอยู่ใต้ผิวหนัง โผล่เฉพาะปลายที่เป็นหนามแข็งและคม เมื่อลูบจะสากมือ ครีบหูมีขนาดใกล้เคียงกับกระโดงหลัง ครีบหางมีขนาดใหญ่ และแยกเป็น 2 ส่วน อันบนมีขนาดใหญ่กว่าอันล่างมาก พื้นลำตัวสีเทาเข้ม ท้องสีขาว ครีบต่าง ๆ สีดำ

มีความยาวตั้งแต่ 35-95 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในพื้นทะเลที่เป็นทราย หรือเป็นโคลนแถบชายฝั่งตื้น ๆ อาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยและน้ำจืดได้ด้วย[3] พบตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ทวีปเอเชีย จนถึงญี่ปุ่น ในน่านน้ำไทยพบได้ที่ฝั่งอ่าวไทย

เป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่ง ที่ใช้บริโภคได้ โดยเนื้อมีราคาถูก นิยมทำเป็นลูกชิ้น ขณะที่ครีบต่าง ๆ นำไปทำเป็นหูฉลาม[4]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Scoliodon laticaudus ที่วิกิสปีชีส์