ปลาฉลามก็อบลิน
ปลาฉลามก็อบลิน ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: โฮโลซีน | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับใหญ่: | Selachimorpha |
อันดับ: | Lamniformes |
วงศ์: | Mitsukurinidae |
สกุล: | Mitsukurina |
สปีชีส์: | M. owstoni |
ชื่อทวินาม | |
Mitsukurina owstoni D. S. Jordan, 1898 | |
สถานที่พบกระจายพันธุ์[1] | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาฉลามก็อบลิน หรือ ปลาฉลามปีศาจ[2] (อังกฤษ: Goblin shark, Elfin shark[1]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Mitsukurina owstoni) ปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลามชนิดหนึ่ง
ชื่อ
[แก้]เป็นปลาฉลามน้ำลึกที่พบเห็นตัวได้ยาก และมีรูปร่างลักษณะประหลาด อันเป็นที่มาของชื่อ[3] และยังเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวในวงศ์และสกุลเดียวกันนี้ก็ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็น "ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต" อีกชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างแทบไม่แปรเปลี่ยนไปจากยุคก่อนประวัติศาสตร์[3][4]
โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์นั้น ตั้งขึ้นมาจากชื่อของ คะคิชิ มิตซุคุริ ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ซึ่งเป็นผู้ที่นำตัวอย่างที่ได้รับจาก อลัน โอลสตัน นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ มอบให้แก่ เดวิด สตารร์ จอร์แดน ซึ่งเป็นผู้อนุกรมวิธาน ดังนั้นชื่อวิทยาศาสตร์จึงถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติให้แก่บุคคลทั้งสองท่านนี้[3] ขณะที่ชื่อสามัญอาจจะแปลได้ว่ามาจากคำว่า "เท็งงุ" (ญี่ปุ่น: 天狗) ซึ่งเป็นปีศาจในความเชื่อของญี่ปุ่นโบราณ ที่มีใบหน้าสีแดงและจมูกแหลมยาว[5]
ลักษณะ
[แก้]ปลาฉลามก็อบลิน มีความยาวเต็มที่ได้ 3 หรือ 4 เมตร (10 และ 13 ฟุต) อาศัยอยู่ในเขตน้ำลึกได้มากกว่า 100 เมตร (330 ฟุต) ซึ่งเป็นที่ ๆ แสงส่องลงไปไม่ถึง พบชุกชุมที่โตเกียวแคนยอน ซึ่งเป็นหุบผาลึกใต้ทะเลในพื้นที่อ่าวโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยปกติแล้วจะมีลำตัวและครีบสีขาว แต่เมื่อถูกจับขึ้นมาจากน้ำลำตัวจะเปลี่ยนไปเป็นสีแดงเหมือนเลือด[6] ปลาฉลามก็อบลินมีลักษณะเด่น คือ บริเวณส่วนหัวด้านบนที่มีส่วนกระดูกที่ยื่นแหลมออกไปข้างหน้าเหนือกรามบน ในปากเต็มไปด้วยฟันที่แหลมคม ซึ่งส่วนหัวที่ยื่นยาวออกไปนั้น ด้านล่างประกอบไปด้วยอวัยวะเล็ก ๆ หลายร้อยอันที่ทำหน้าที่เหมือนเซนเซอร์ตรวจจับคลื่นไฟฟ้าของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่จับได้แม้กระทั่งคลื่นไฟฟ้าอ่อนถึง 1 ในล้านโวลต์ เพื่ออาหารซึ่งได้แก่ ปู หรือสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ที่หลบซ่อนตัวลงในพื้นโคลนใต้ทะเล ซึ่งเป็นสถานที่ ๆ หาอาหารได้ยากยิ่ง อีกทั้งกรามยังมีกระดูกขากรรไกรที่เหมือนบานพับที่สามารถขยายออกมาเพื่อพุ่งงับเหยื่อมิให้หลุดไปได้อีกด้วย เมื่อพบเหยื่อแล้วจะใช้กรามที่ยื่นออกมานี้งับเหยื่อไว้ก่อนและค่อยดึงกลับเข้ามา โดยนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเหตุที่ต้องมีกรามเช่นนี้เพื่อชดเชยส่วนที่อ่อนแอของร่ายกาย เนื่องจากปลาฉลามก็อบลินไม่มีครีบหรืออวัยวะใด ๆ ที่ทำให้ว่ายน้ำเร็ว ปลาฉลามก็อบลินจัดได้ว่าเป็นปลาฉลามชนิดที่ว่ายน้ำได้แย่มาก และเชื่อว่าปลาฉลามก็อบลินเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์จะขยายพันธุ์ในที่ ๆ มีอาหารสำหรับเลี้ยงตัวอ่อนอุดมสมบูรณ์ เพื่อใช้เป็นสถานที่พักเลี้ยง ส่วนปลาที่โตเต็มที่แล้วจะว่ายห่างออกไปเพื่อให้ตัวอ่อนได้มีอาหารที่เพียงพอ มิต้องแย่งกัน เพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์[7] [2]
ปลาฉลามก็อบลิน ถูกค้นพบครั้งแรกในช่วงปี ค.ศ. 1873-76 จากการสำรวจของเรือเอชเอ็มเอส ชาเลนเจอร์ ที่สำรวจทะเลในพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงเก็บรวบรวมตัวอย่างของปลาฉลามชนิดต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมากอีกด้วย โดยปลาฉลามก็อบลินถูกค้นพบที่นอกชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น แต่ก็ยังเป็นเวลาอีกหลายปีต่อมาจึงถูกอนุกรมวิธานทางวิทยาศาสตร์[2]
การค้นพบจนถึงปัจจุบัน
[แก้]จนถึงปัจจุบัน ปลาฉลามก็อบลินมีรายงานการพบตัวทั่วโลกประมาณ 30 ครั้งเท่านั้น แต่ชาวประมงชาวญี่ปุ่นที่จับปลาที่โตเกียวแคนยอนจับปลาฉลามก็อบลินได้มากถึง 148 ตัว โดยจับได้ตัวแรกในปี ค.ศ. 1995 และยังเคยจับปลาฉลามก็อบลินในวัยอ่อนที่ส่วนของกรามยังไม่ยื่นออกมาได้อีกด้วย[6] ส่วนปลาฉลามก็อบลินที่ยังชีวิตมีไม่กี่ตัวเท่านั้นที่ถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ แต่ก็มีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ ตัวหนึ่งถูกเก็บไว้ที่มหาวิทยาลัยโตโกมีอายุได้เพียงสัปดาห์เดียว และอีกตัวหนึ่งถูกเก็บไว้ที่โตเกียวซีไลฟ์ปาร์ค แต่ก็มีอยู่ได้เพียง 2 วัน[8][9]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Duffy, C.A.J.; Ebert, D.A.; Stenberg, C. (2004). "Mitsukurina owstoni". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 2.2 "ท่องโลกกว้าง: สุดยอดตำนานแห่งท้องทะเล ตอน ฉลามทะเลลึก". ไทยพีบีเอส. 19 September 2014. สืบค้นเมื่อ 20 September 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Jordan, D.S. (1898). "Description of a species of fish (Mitsukurina owstoni) from Japan, the type of a distinct family of lamnoid sharks". Proceedings of the California Academy of Sciences (Series 3) Zoology. 1 (6): 199–204.
- ↑ Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2010). "List of Nominal Species of Mitsukurinidae (Goblin shark)". FishBase. สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.
{{cite web}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Castro, J.H. (2011). The Sharks of North America. Oxford University Press. pp. 202–205. ISBN 978-0-19-539294-4.
- ↑ 6.0 6.1 "ฉลามก็อบลิน 05 พฤศจิกายน 2558 ตอนที่ 1". ช่อง 7. 5 November 2015. สืบค้นเมื่อ 6 November 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ฉลามก็อบลิน 06 พฤศจิกายน 2558 ตอนที่ 2". ช่อง 7. 6 November 2015. สืบค้นเมื่อ 6 November 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Compagno, L.J.V. (2002). Sharks of the World: An Annotated and Illustrated Catalogue of Shark Species Known to Date (Volume 2). Food and Agriculture Organization of the United Nations. pp. 68–71. ISBN 92-5-104543-7.
- ↑ "Goblin shark caught alive". Tokyo Zoo Net. Tokyo Zoological Park Society. January 25, 2007. สืบค้นเมื่อ April 26, 2013.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Mitsukurina owstoni ที่วิกิสปีชีส์