ปลาการ์ร่า รูฟา
ปลาการ์ร่า รูฟา | |
---|---|
ปลาการ์ร่า รูฟา | |
ขณะดูดผิวหนังผู้ที่รับการบริการ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cypriniformes |
วงศ์: | Cyprinidae |
สกุล: | Garra |
สปีชีส์: | G. rufa |
ชื่อทวินาม | |
Garra rufa (Heckel, 1843) | |
ชนิดย่อย | |
ชื่อพ้อง | |
ปลาการ์ร่า รูฟา หรือ ปลาด็อกเตอร์ ฟิช (อังกฤษ: Doctor fish[3]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Garra rufa) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาเลียหินชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
ปลาการ์ร่า รูฟา มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร เป็นปลาพื้นเมืองของภูมิภาคตะวันออกกลาง แถบประเทศตุรกี โดยอาศัยอยู่ในบ่อน้ำร้อนหรือลำธารที่มีอุณหภูมิค่อนข้างสูง (ประมาณ 35 องศาเซลเซียส)
โดยปกติแล้วปลาการ์ร่า รูฟา จะหาอาหารใต้น้ำกิน ซึ่งได้แก่ สาหร่ายและตะไคร่น้ำ แต่ด้วยอุณหภูมิน้ำที่สูงทำให้อาหารอื่น ๆ สำหรับปลาจึงมีอยู่อย่างจำกัด เมื่อเทียบกับแหล่งน้ำโดยทั่วไป
ดังนั้น เมื่อมีผู้ที่ลงไปแช่น้ำในบ่อน้ำร้อนเหล่านี้ ปลาการ์ร่า รูฟาจึงมาแทะเล็มผิวหนังชั้นนอกของผู้ที่ลงแช่เป็นอาหารแทน ก่อให้เกิดความรู้สึกสบาย อันเป็นที่มาของการทำสปาประเภท ฟิชสปา หรือ มัจฉาบำบัด
มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ โดยสถาบันทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยเวียนนา พบว่า การให้ปลาการ์ร่า รูฟา แทะเล็มผิวหนังช่วยบำบัดโรคผิวหนังบางชนิดได้ที่ไม่มียารักษา โดยพบว่าเมื่อปลากัดกินผิวหนัง ที่เป็นเกล็ด หรือขุย อันเนื่องมาจากอาการของโรค ของผู้ป่วยออกไป เป็นการเปิดโอกาสให้ผิวหนังได้สัมผัสกับรังสียูวี ในระดับที่ลึกลงไป ทำให้ผิวหนังมีพัฒนาการเติบโตได้ดีขึ้น[3] [4]
ปัจจุบัน ปลาการ์ร่า รูฟา นิยมนำเข้ามาสู่ประเทศต่าง ๆ เพื่อใช้ในธุรกิจประเภทฟิชสปา [5]
ฟิชสปา
[แก้]ฟิชสปา หรือ มัจฉาบำบัด รูปแบบหนึ่งของสปาด้วยวิธีการวารีบำบัด โดยการใช้ปลาการ์ร่า รูฟา (บางแห่งอาจใช้ปลาชนิดอื่น[6]) โดยการทำธุรกิจฟิชสปานั้น คล้ายกับการเลี้ยงปลาในตู้เลี้ยง มีบ่อบำบัดน้ำและมีระบบน้ำวนเพื่อความสะอาดของน้ำด้วย ปัจจุบันได้รับความนิยมในหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น, ประเทศไทย[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Search Results for: Garra rufa". Global Biodiversity Information Facility. สืบค้นเมื่อ 28 June 2010.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Zicha, Ondřej (2009). "BioLib - Garra rufa". BioLib. สืบค้นเมื่อ 28 June 2010.
- ↑ 3.0 3.1 “Doctor fish”. In New Scientist magazine: The word 14 July 2007. Page 52.
- ↑ “"DOKTOR FISH" AND PSORIASIS”. Accessed from: http://www.cumhuriyet.edu.tr/sivas/doctorfish/tez2e.html เก็บถาวร 2013-01-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 5.0 5.1 [ลิงก์เสีย] “ตอด” นี้เพื่อสุขภาพ ที่ “Café D' Spa “ จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ "เสน่ห์ขนอม...ปลาตอด ยอดเสียว/ปิ่น บุตรี จากผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-05. สืบค้นเมื่อ 2012-10-24.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help)