ปลากัดเขียว
ปลากัดเขียว | |
---|---|
ปลากัดอีสานตัวผู้ (♂) | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | Anabantiformes |
วงศ์: | วงศ์ปลากัด ปลากระดี่ |
สกุล: | ปลากัด (สกุล) Ladiges, 1972 |
สปีชีส์: | Betta smaragdina |
ชื่อทวินาม | |
Betta smaragdina Ladiges, 1972 |
ปลากัดเขียว หรือ ปลากัดอีสาน [2] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Betta smaragdina) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodusinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างและพฤติกรรมคล้ายปลากัดภาคกลาง (B. splendens) แต่มีรูปร่างที่เพรียวยาวกว่า เกล็ดมีสีเขียวมากกว่าทั้งที่ข้างแก้มและลำตัว ในบางตัวอาจมีเหลือบสีฟ้า ครีบมีสีเขียวหรือฟ้าและมีลายประสีดำ
พบในแหล่งน้ำตื้นที่นิ่งและไหลเอื่อย ๆ ในพื้นที่ภาคอีสานของประเทศไทย และประเทศลาว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5-6 เซนติเมตร [2]
ปลากัดเขียว ที่พบในพื้นที่บึงโขงหลง พื้นที่ชุ่มน้ำขนาดกว้างใหญ่ในจังหวัดบึงกาฬ พบมีลักษณะที่เด่นเฉพาะตัว คือ ก้านครีบหางจะมีการแตกตัว บางตัวอาจแตกได้มากถึง 4 ก้าน และในครีบหางจะมีลายขึ้นเป็นเส้นเต็มช่องระหว่างก้านหาง เริ่มตั้งแต่โคนหางกระจายออกไปจนอาจสุดปลายหาง มองดูคล้ายลักษณะของแมงมุม ปลาที่มีลักษณะเช่นนี้เรียกว่า "ปลากัดป่าหางลาย" หรือ "ปลากัดป่ากีตาร์" เนื่องจากเมื่อแผ่ครีบพองเหงือกเมื่อเจอกับปลากัดตัวอื่น ครีบท้องหรือครีบอกข้างใดข้างหนึ่งจะกระดิก คล้ายกับเวลามีผู้ดีดกีตาร์[3]นอกจากนี้แล้ว ปลากัดเขียว ในพื้นที่ต่าง ๆ ก็ยังมีสีสันและขนาดลำตัว ตลอดจนลักษณะครีบต่าง ๆ แตกต่างกันซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเป็นชนิดใหม่ แต่เรื่องนี้ยังมิได้มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์กันอย่างแท้จริง[4]
ปลากัดที่พบในประเทศไทย
[แก้]กลุ่ม B. picta:
[แก้]- ปลากัดอมไข่กระบี่ Betta simplex Kottelat, 1994
กลุ่ม B. pugnax:
[แก้]- ปลากัดปีนัง Betta pugnax Cantor, 1849
- ปลากัดหัวโม่งจันทบุรี Betta prima Kottelat, 1994
- ปลากัดอมไข่สงขลา Betta ferox I. Schindler & J. Schmidt, 2006
กลุ่ม B. splendens:
[แก้]- ปลากัดภาคกลาง (Siamese fighting fish) Betta splendens Regan, 1910
- ปลากัดอีสาน Betta smaragdina Ladiges, 1972
- ปลากัดภาคใต้ Betta imbellis Ladiges, 1975
- ปลากัดตะวันออก Betta siamorientalis Kowasupat, Panijpan, Ruenwongsa & Jeenthong, 2012
- ปลากัดมหาชัย Betta mahachaiensis Kowasupat, Panijpan, Ruenwongsa & Sriwattanarothai, 2012
กลุ่ม B. waseri:
[แก้]- ปลากัดช้าง Betta pi H. H. Tan, 1998
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Vidthayanon, C. (2012). "Betta smaragdina". IUCN Red List of Threatened Species. 2012: e.T180827A1666967. doi:10.2305/IUCN.UK.2012-1.RLTS.T180827A1666967.en. สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
- ↑ 2.0 2.1 หน้า 200, คู่มือปลาน้ำจืด โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ (สำนักพิมพ์สารคดี กรุงเทพ พ.ศ. 2547) ISBN 9744841486
- ↑ หน้า 80-85, ปลากัดป่าอีสานหางลาย. "Wild Ambition" โดย ชาญชัย สุนันท์กิ่งเพชร. นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 47 ปีที่ 4: พฤษภาคม 2014
- ↑ หน้า 28-31, Betta smaragdina Ladiges 1972. "Mini Atlas" โดย สุริศา ซอมาดี. Aquarium Biz ฉบับที่ 47 ปีที่ 4: พฤษภาคม 2014
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Betta smaragdina ที่วิกิสปีชีส์