ปลากัดปีนัง
ปลากัดปีนัง | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ |
อันดับ: | Anabantiformes |
วงศ์: | วงศ์ปลากัด ปลากระดี่ |
สกุล: | ปลากัด (สกุล) (Cantor, 1849) |
สปีชีส์: | Betta pugnax |
ชื่อทวินาม | |
Betta pugnax (Cantor, 1849) | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
ปลากัดปีนัง หรือ ปลากัดภูเขา (อังกฤษ: Penang betta; ชื่อวิทยาศาสตร์: Betta pugnax) [3] ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ย่อย Macropodusinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) รูปร่างและคล้ายปลากัดทั่วไป แต่มีลำตัวป้อมใหญ่กว่า หัวโต ครีบหางใหญ่ ตัวผู้มีสีน้ำตาลคล้ำ ข้างแก้มสีฟ้าเหลือบเขียว เกล็ดมีจุดสีฟ้าเหลือบทั้งตัว ครีบสีน้ำตาลอ่อน ครีบหลังและครีบหางมีลายเส้นประสีคล้ำ ครีบก้นมีขอบดำ ตัวเมียสีน้ำตาลอ่อน และมีแถบสีคล้ำพาดตามแนวยาวของลำตัว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5-7 เซนติเมตร
พฤติกรรมของปลากัดชนิดนี้ ไม่เหมือนปลากัดจำพวกก่อหวอด อย่าง ปลากัดภาคกลาง (B. splendens) หรือ ปลากัดอีสาน (B. smaragdina) เนื่องจากการผสมพันธุ์และวางไข่ ปลาตัวผู้จะไม่ก่อหวอดแต่จะอมไข่ไว้ในปากจนฟักเป็นตัว ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ คือ ลำธารที่น้ำไหลเชี่ยวแรงบนภูเขา อีกทั้งปลากัดจำพวกนี้ไม่มีนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว เหมือนพวกปลากัดก่อหวอด จึงสามารถพบอยู่กันเป็นฝูงได้หลาย ๆ ตัว อีกทั้งอวัยวะที่ช่วยในการหายใจ ทำงานได้ไม่สมบูรณ์เท่าปลากัดก่อหวอด
พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำบนภูเขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้เฉพาะภาคใต้ตอนล่างเท่านั้น เช่น นครศรีธรรมราช, ตรัง, สตูล มีรายงานการพบบนเกาะตะรุเตาและพื้นอาศัยทับซ้อนกับปลากัดอมไข่สงขลา [4] และพบได้ทั่วไปไปในแหลมมลายูจนถึงรัฐปีนังในประเทศมาเลเซีย [3] และมีความเป็นไปได้ว่าปลากัดชนิดนี้มีความใกล้เคียงทางพันธุกรรมกับปลากัดชนิด B. enisae ซึ่งเป็นปลากัดประเภทอมไข่เช่นเดียวกัน ที่พบได้ในแถบกาลีมันตันของอินโดนีเซีย[5]
ปลากัดที่พบในประเทศไทย
[แก้]กลุ่ม B. picta:
[แก้]- ปลากัดอมไข่กระบี่ Betta simplex Kottelat, 1994
กลุ่ม B. pugnax:
[แก้]- ปลากัดปีนัง Betta pugnax Cantor, 1840
- ปลากัดหัวโม่งอีสาน Betta prima Kottelat, 1995
- ปลากัดอมไข่สงขลา Betta ferox I. Schindler & J. Schmidt, 2001
กลุ่ม B. splendens:
[แก้]- ปลากัดภาคกลาง (Siamese fighting fish) Betta splendens Regan, 1910
- ปลากัดอีสาน Betta smaragdina Ladiges, 1972
- ปลากัดภาคใต้ Betta imbellis Ladiges, 1975
- ปลากัดตะวันออก Betta siamorientalis Kowasupat, Panijpan, Ruenwongsa & Jeenthong, 2012
- ปลากัดมหาชัย Betta mahachaiensis Kowasupat, Panijpan, Ruenwongsa & Sriwattanarothai, 2012
กลุ่ม B. waseri:
[แก้]- ปลากัดช้าง Betta pi H. H. Tan, 1998
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Low B.W. (2019). "Betta pugnax.". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T89808916A89808924. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-2.RLTS.T89808916A89808924.en.
- ↑ Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2014). "Betta pugnax" in FishBase. February 2014 version.
- ↑ 3.0 3.1 หน้า 200, คู่มือปลาน้ำจืด โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ (สำนักพิมพ์สารคดี กรุงเทพ พ.ศ. 2547) ISBN 9744841486
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-02-28. สืบค้นเมื่อ 2022-02-28.
- ↑ หน้า 42-49, Betta enisae, ความงามแห่งกาลีมันตัน. "Mini Fish" โดย สุริศา ซอมาดี. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 4 ฉบับที่ 52: ตุลาคม 2014