ปลากระเบนหัวแหลม
ปลากระเบนหัวแหลม | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับ: | Myliobatiformes |
วงศ์: | Dasyatidae |
สกุล: | Dasyatis |
สปีชีส์: | D. zugei |
ชื่อทวินาม | |
Dasyatis zugei (Müller & Henle, 1841) | |
ชื่อพ้อง[2][3] | |
|
ปลากระเบนหัวแหลม (อังกฤษ: Pale-edged stingray, Sharpnose stingray; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dasyatis zugei) ปลากระดูกอ่อนทะเลจำพวกปลากระเบนชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae)
มีลักษณะลำตัวแบน สันฐานเหลี่ยมคล้ายว่าว หางยาวเรียวเป็นเส้นเหมือนแส้ ส่วนกว้างของลำตัวเกือบเท่าความยาว จะงอยปากยื่นแหลมออกไป ความยาวของจะงอยปากประมาณ 1/3 ของความยาวลำตัว ด้านท้องมีช่องน้ำเข้า 5 คู่ ครีบอกเป็นแผ่นติดต่อรวมกับลำตัว ครีบก้นอยู่ใต้ครีบหาง ไม่มีครีบหลัง บนครีบหางมีเงี่ยงปลายแหลม ขอบหยักเป็นฟันเลื่อย โคนเงี่ยงมีต่อมพิษ ซึ่งถ้าหากแทงจะปล่อยพิษเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ได้รับบาดเจ็บและปวดอย่างรุนแรง ลำตัวด้านหลังมีสีน้ำตาลเทา ด้านท้องสีขาว ขนาดโตเต็มที่ได้ 29 เซนติเมตร (11 นิ้ว)
อาศัยในน้ำกร่อย และน้ำทะเล บริเวณปากแม่น้ำ หากินบริเวณพื้นท้องน้ำ พบได้ในบริเวณน้ำตื้นจนถึงน้ำลึกกว่า 100 เมตร (330 ฟุต) อาหารได้แก่ สัตว์กลุ่มกุ้งปูขนาดเล็ก รวมทั้งปลาขนาดเล็กด้วย พบในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งแต่อินเดียจนถึงตะวันออกของคาบสมุทรมลายู และตอนใต้ของญี่ปุ่น[4]
ในปี ค.ศ. 2001 ลิซา โรเซนเบอร์เกอร์ ได้ทำการวิเคราะห์ทางวงศ์วานวิวัฒนาการทางสัณฐานวิทยาพบว่า ปลากระเบนหัวแหลมมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับปลากระเบนแมลงวัน (Himantura gerrardi), ปลากระเบนมุก (D. margaritella) และปลากระเบนผีเสื้อ (Gymnura micrura) ผลที่ได้สนับสนุนว่าการเจริญเติบโตของปลากระเบนเหล่านี้ว่ามิได้อยู่ในสกุล Dasyatis และHimantura หากแต่เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียว[5]
แม้จะเป็นปลากระเบนขนาดเล็ก แต่ปลาที่โตเต็มที่จะถูกจับจากพื้นน้ำด้วยอวนและแห โดยเฉพาะในอ่าวไทยและทะเลชวา โดยชาวประมงท้องถิ่น ถือว่ามีนัยทางเศรษฐกิจ[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 White, W.T. (2006). Dasyatis zugei. In: IUCN 2006. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on December 8, 2009.
- ↑ Jordan, D.S. & H.W. Fowler (March 20, 1903). "A review of the elasmobranchiate fishes of Japan". Proceedings of the United States National Museum. 26 (1324): 593–674. doi:10.5479/si.00963801.26-1324.593.
- ↑ Nishida, K. & K. Nakaya. "A new species of the genus Dasyatis (Elasmobranchii: Dasyatididae) from Southern Japan and lectotype designation of D. zugei". Japanese Journal of Ichthyology. 35 (2): 115–123.
- ↑ Last, P.R. & L.J.V. Compagno (1999). "Dasyatidae". ใน Carpenter, K.E. and V.H. Niem (บ.ก.). The Living Marine Resources of the Western Central Pacific (Volume 3). Food and Agricultural Organization of the United Nations. pp. 1479–1505. ISBN 92-5-104302-7.
- ↑ Rosenberger, L.J.; Schaefer, S. A. (August 6, 2001). Schaefer, S. A. (บ.ก.). "Phylogenetic Relationships within the Stingray Genus Dasyatis (Chondrichthyes: Dasyatidae)". Copeia. 2001 (3): 615–627. doi:10.1643/0045-8511(2001)001[0615:PRWTSG]2.0.CO;2.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Dasyatis zugei ที่วิกิสปีชีส์
- รูปและข้อมูลเพิ่มเติม (อังกฤษ)