ปรีชาพล พงษ์พานิช
ปรีชาพล พงษ์พานิช | |
---|---|
หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 (0 ปี 120 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กันยายน พ.ศ. 2523 อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2561, 2564–ปัจจุบัน) ไทยรักษาชาติ (2561–2562) |
ร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย และกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคเพื่อไทย และอดีตประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม
ประวัติ
[แก้]ร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช (ป๋อม) เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2523จังหวัดขอนแก่น เป็นบุตรของนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช กับนางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และระดับปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เช่นเดียวกัน
ที่และระดับปริญญาเอก ด้านบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง[1]
การทำงาน
[แก้]ร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช รับราชการทหารติดยศร้อยตรี ประจำสำนักงบประมาณ กระทรวงกลาโหม และได้ย้ายมาช่วยราชการกระทรวงมหาดไทย เมื่อครั้งที่บิดา ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น เขต 2 สังกัดพรรคพลังประชาชน โดยการสนับสนุนของนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช และนางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช[3] จนได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. ที่มีอายุเพียง 27 ปี ซึ่งนับว่าเป็น ส.ส.ชายที่มีอายุน้อยที่สุด
ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช เป็นสมาชิกคนหนึ่งที่อภิปรายการจัดสรรงบประมาณที่ผิดปกติของกระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยางจากยูเครน และร้อยโท ปรีชาพล ได้กล่าวว่าไม่นานนี้คงได้เห็นแก๊งออฟกลาโหมขึ้นศาลแน่นอน[4]
ในปี พ.ศ. 2553 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ ส.ส. 6 คน พ้นสมาชิกภาพ กรณีถือครองหุ้นในธุรกิจสื่อ และบริษัทที่เป็นคู่สัมปทานของรัฐ ซึ่งปรีชาพล พงษ์พานิช เป็นหนึ่งใน ส.ส. ที่ถูกตัดสิทธิ์[5] แต่ก็สามารถกลับเข้ามาเป็น ส.ส.ได้อีกครั้งในการเลือกตั้งซ่อมฯ
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม ของสภาผู้แทนราษฎร
ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 คือ การยื่นพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล เป็นผู้ที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีในนามของพรรคฯ[6][7] ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติพร้อมตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง จดทะเบียนจัดตั้งพรรคใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นเวลา 10 ปี[8]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น 3 สมัย
[แก้]- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดขอนแก่น เขต 2 สังกัด พรรคพลังประชาชน → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ธันวาคม พ.ศ. 2553 จังหวัดขอนแก่น เขต 2 สังกัด พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดขอนแก่น เขต 9 สังกัด พรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ว่าที่ ดร.ป๋อม... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/738836
- ↑ "บทสัมภาษณ์ นิตยสารสกุลไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-18. สืบค้นเมื่อ 2010-08-19.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "ถกงบฯวันที่2 กลาโหมเละ อภิปรายเดือดสับยับซื้อ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-23. สืบค้นเมื่อ 2010-08-21.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิ์ 6 ส.ส. ถือหุ้นต้องห้าม 2 รมต. ติดโผด้วย[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ครั้งประวัติศาสตร์! ทูลกระหม่อมฯ ตอบรับ ไทยรักษาชาติ ลงชิงนายกฯ". ข่าวสด. 8 Feb 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Princess Ubolratana: Thai royal to stand as PM candidate". Thailand General Election 2019. Bangkok: BBC. 2019-02-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-08. สืบค้นเมื่อ 2019-02-09.
- ↑ "ยุบ'ไทยรักษาชาติ'! ฐานทำ'สถาบัน'เสื่อม". เดลินิวส์. 7 Mar 2019. สืบค้นเมื่อ 7 Mar 2019.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | ปรีชาพล พงษ์พานิช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เริ่มต้น | หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2562) |
(ถูกตัดสินให้ยุบพรรค) |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2523
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดขอนแก่น
- สกุลพงษ์พานิช
- ทหารบกชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคไทยรักษาชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์