ปริยังกา คานธี
ปริยังกา คานธี วาทรา | |
---|---|
เลขาธิการคณะกรรมการรัฐสภาอินเดีย อุตตรประเทศตะวันออก | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 | |
ประธานาธิบดี | โสนิยา คานธี (ชั่วคราว) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 มกราคม พ.ศ. 2515 นิวเดลี ประเทศอินเดีย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | คองเกรสแห่งชาติอินเดีย |
คู่สมรส | โรเบิร์ต วาทรา (สมรส 2538) |
บุตร | ไรหาน วาทรา มิรายา วาทรา |
บุพการี | ราชีพ คานธี โสนิยา คานธี |
ความสัมพันธ์ | ตระกูลเนห์รู–คานธี |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเดลี (ศศ.บ., ศศ.ม.) |
ลายมือชื่อ | |
ปริยังกา คานธี วาทรา (เกิด 12 มกราคม พ.ศ. 2515) เป็นนักการเมืองหญิงชาวอินเดีย เป็นเลขาธิการคณะกรรมการรัฐสภาอินเดียในอุตตรประเทศตะวันออก เป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงจากการเป็นสมาชิกในตระกูลเนห์รู–คานธี ด้วยเป็นธิดาของราชีพ คานธี กับโสนิยา คานธี เป็นน้องสาวของราหุล คานธี และเป็นหลานสาวของผิโรช คานธี และอินทิรา คานธี ปัจจุบันเธอเป็นทรัสตีของมูลนิธิราชีพ คานธี
ชีวิตตอนต้น
[แก้]ปริยังกาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนโมเดิร์นและคอนแวนต์เยซู-มารีย์ สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาจิตวิทยา จากวิทยาลัยเยซู-มารีย์ มหาวิทยาลัยเดลี[1] และสำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาพุทธศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยเดลี เมื่อ พ.ศ. 2553[2]
การทำงาน
[แก้]ปริยังกาปรากฏตัวพร้อมกับแม่และพี่ชาย ในการพบปะกับประชาชนโดยตรงที่รายพเรลี (Rae Bareilly) และอเมฐี (Amethi) อยู่เป็นประจำ[3] เธอเป็นที่ชื่นชอบ เมื่อใดที่มีการเลือกตั้ง ปริยังกาจะเป็นผู้ดึงดูดฝูงชนได้ตลอด โดยเฉพาะเมืองอเมฐี[4]
เมื่อคราวเลือกตั้งทั่วไปของอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2547 เธอเป็นผู้จัดการการหาเสียงให้แม่ และช่วยดูแลการหาเสียงของพี่ชาย[5] ส่วนการเลือกตั้งสมัชชารัฐอุตตรประเทศ ราหุลพี่ชายทำการหาเสียงทั่วรัฐ แต่เธอมุ่งไปยังฐานเสียงที่อเมฐีและรายพเรลีที่มีอยู่ 10 ที่นั่ง เธอใช้เวลาถึงสองสัปดาห์ในการระงับข้อพิพาทของคนในพรรค เนื่องจากปัญหาการจัดสรรที่นั่ง[6]
ปริยังกาเข้าเป็นนักการเมืองอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562 หลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการของรัฐสภาอินเดีย พื้นที่รับผิดชอบอุตตรประเทศตะวันออก[7]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ปริยังกาสมรสกับโรเบิร์ต วาทรา นักธุรกิจลูกครึ่งอินเดีย-สกอตจากเดลี เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ณ บ้านเลขที่ 10 ถนนชนปัถ โดยเป็นพิธีการตามธรรมเนียมฮินดู[8][9] ทั้งสองมีบุตรสองคน คนโตเป็นชายชื่อไรหาน และเป็นหญิงชื่อมิรายา
เธอเป็นชาวพุทธปรัชญา และเข้าวิปัสสนาตามแนวทางของเอส. เอ็น. โคยันกา[10][11]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Facts about Gandhi". Zee Media. Zee News. Zee Media Corporation Company. 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 1 May 2017.
- ↑ February 11, Bhavna Vij-Aurora New Delhi; February 20, 2012 ISSUE DATE; February 20, 2012UPDATED; Ist, 2012 13:02. "UP polls 2012: Robert Vadra bids for a place in Gandhi family power structure". India Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-02-01.
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Priyanka Vadra returns to campaign in Amethi". India Today. January 16, 2012.
- ↑ "Ground report: Amethi, Rae Bareli seeing a new Priyanka". Firstpost. Network 18. 27 April 2014. สืบค้นเมื่อ 1 May 2017.
- ↑ "Priyanka may be assigned 100 constituencies". Rediff.com. สืบค้นเมื่อ 1 May 2017.
- ↑ Rana, Uday (4 July 2016). "Priyanka Gandhi - The Economic Times". The Economic Times. สืบค้นเมื่อ 2019-11-07.
- ↑ Team, BS Web (23 January 2019). "Priyanka Gandhi appointed Congress party general secretary for UP-east". Business Standard. สืบค้นเมื่อ 23 January 2019.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2013.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Who is Robert Vadra?", India Today, 10 October 2011; retrieved 15 February 2013.
- ↑ "Priyanka Gandhi Vadra". The Outlook. สืบค้นเมื่อ 18 October 2012.
- ↑ "10 facts to know about Priyanka Gandhi" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2014-08-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-11-14.