เอเชียนเกมส์ 1994
![]() | |
เมืองเจ้าภาพ | ฮิโรชิมะ |
---|---|
ประเทศ | ![]() |
คำขวัญ | Asian Harmony |
ประเทศเข้าร่วม | 42 ประเทศ |
นักกีฬาเข้าร่วม | 6,828 คน |
กีฬา | 34 ชนิดกีฬา |
ชนิด | 337 ประเภท |
พิธีเปิด | 2 ตุลาคม 2537 |
พิธีปิด | 16 ตุลาคม 2537 |
ประธานพิธีเปิด | สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ จักรพรรดิญี่ปุ่น |
ประธานพิธีปิด | อาห์เหม็ด อัล-ฟาฮัด อัล-อาห์เหม็ด อัล-ซาบาห์ ประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย |
นักกีฬาปฏิญาณ | เรียวเฮ โคบะ |
ผู้จุดคบเพลิง | อากิ อิจิโจ ยาซูโนริ อูจิโตมิ |
สนามกีฬาหลัก | สนามกีฬากลางอุทยานฮิโรชิมะ |
เอเชียนเกมส์ 1994 (ญี่ปุ่น: 1994年アジア競技大会, อักษรโรมัน: Senkyūhyakukyūjūyon-nen Ajia kyōgi taikai) เป็นการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 12 จัดขึ้นที่ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม ถึง 16 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีประเทศเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 42 ประเทศ[1] และมีกีฬาแข่งขันทั้งหมด 34 ชนิด โดยสนามแข่งขันที่ใช้เป็นหลัก คือ ฮิโรชิมะบิกอาร์ก มีสัญลักษณ์นำโชคเป็นนกพิราบคู่ ตัวผู้ ตัวเมีย ชื่อว่า "ป็อปโป" และ "คูกคู" เป็นการสื่อถึงสันติภาพ นับเป็นครั้งแรกด้วยที่การแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติใช้สัญลักษณ์นำโชคเป็นคู่[2]
สำหรับการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ของนักกีฬาทีมชาติไทย ปรากฏว่าสามารถได้เพียงเหรียญทองเดียวจากมวยสากลสมัครเล่นในรุ่นเฟเธอร์เวทจากสมรักษ์ คำสิงห์ แต่ต่อมาภายหลังจบการแข่งขันได้มีมติให้เพิ่มอีก 2 เหรียญทองจากกีฬาว่ายน้ำจากรัฐพงษ์ ศิริสานนท์ เนื่องจากมีนักกีฬาคนเดิมที่ได้เหรียญไปนั้นถูกตรวจสอบใช้สารกระตุ้น และพิธีเปิดการแข่งขันมีนักร้องไทยร่วมในการแสดงด้วยคือ กุ้งนาง ปัทมสูต แต่การถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยที่กลับมาในประเทศไทยไม่ทัน และในพิธีปิดการแข่งขัน การส่งมอบธงจัดการแข่งขันต่อให้ไทย ในปี พ.ศ. 2541 หรือ ค.ศ. 1998 มีบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นตัวแทนของรัฐบาลไทยรับต่อ
การแข่งขัน
[แก้]ชนิดกีฬา
[แก้]กีฬาที่แข่งขันในเอเชียนเกมส์ 1994 |
---|
|
ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน
[แก้]คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าแข่งขัน |
---|
|
สรุปเหรียญการแข่งขัน
[แก้]ด้านล่างนี้เป็นตารางการจัดอันดับของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ โดยแสดงรายชื่อประเทศที่ได้รับเหรียญทองมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่
* เจ้าภาพ ( ญี่ปุ่น)
ลำดับที่ | ประเทศ | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|
1 | ![]() | 126 | 83 | 57 | 266 |
2 | ![]() | 64 | 75 | 79 | 218 |
3 | ![]() | 63 | 56 | 64 | 183 |
4 | ![]() | 27 | 25 | 27 | 79 |
5 | ![]() | 11 | 12 | 19 | 42 |
6 | ![]() | 9 | 9 | 8 | 26 |
7 | ![]() | 7 | 13 | 24 | 44 |
8 | ![]() | 4 | 3 | 16 | 23 |
9 | ![]() | 4 | 2 | 13 | 19 |
10 | ![]() | 4 | 1 | 5 | 10 |
11–32 | Remaining | 20 | 58 | 91 | 169 |
รวม (32 ประเทศ) | 339 | 337 | 403 | 1079 |
การตลาด
[แก้]สิทธิการออกอากาศ
[แก้]ผู้สนับสนุน
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Past Asian Games - Hiroshima 1994 Asian Games". beijing2008.cn (official website of 2008 Beijing Olympics). November 22, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2013. สืบค้นเมื่อ May 26, 2011.
- ↑ "12th Asian Games Hiroshima 1994 - Poppo & CuCCu". GAGOC. gz2010.cn (official website of 2010 Asian Games). April 27, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 7, 2012. สืบค้นเมื่อ May 26, 2011.
ก่อนหน้า | เอเชียนเกมส์ 1994 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เอเชียนเกมส์ 1990 (ปักกิ่ง, ประเทศจีน) |
![]() |
![]() การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ (2 ตุลาคม - 16 ตุลาคม ค.ศ. 1994) |
![]() |
เอเชียนเกมส์ 1998 (กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย) |