ข้ามไปเนื้อหา

ประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี




ประวัติศาสตร์หมู่เกาะอังกฤษ

แบ่งตามลำดับเหตุการณ์

แบ่งตามประเทศ

แบ่งตามหัวเรื่อง

ประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร (อังกฤษ: History of the United Kingdom) เป็นประวัติศาสตร์ของอาณาจักรที่เกิดจากการรวมตัวของราชอาณาจักรอังกฤษที่รวมทั้งราชอาณาจักรเวลส์ กับ ราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นอาณาจักรเดียวกันเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมค.ศ. 1707 ตามสนธิสัญญาสหภาพ (Treaty of Union) ที่ลงนามกันเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคนค.ศ. 1706[1] พระราชบัญญัติได้รับการอนุมัติทั้งโดยรัฐสภาแห่งอังกฤษและรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ แต่ละสภาก็ผ่านพระราชบัญญัติสหภาพ ก่อนหน้านั้นราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นราชอาณาจักรอิสระที่แยกจากกันแม้ว่าจะมีการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ร่วม (Union of the Crowns) กันมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1603 เมื่อสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษเป็นสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ การรวมตัวกันในปี ค.ศ. 1707 ทำให้เกิดราชอาณาจักรบริเตนใหญ่[2] ที่มีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญองค์เดียวกันและรัฐสภาร่วมกันที่เวสต์มินสเตอร์ นักประวัติศาสตร์ไซมอน ชามา (Simon Schama) กล่าวถึงราชอาณาจักรใหม่ว่า “เรื่องที่เริ่มโดยการรวมตัวกันอย่างคู่อริกลายมาเป็นรวมตัวของหุ้นส่วนที่กลายมาเป็นสิ่งที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก...ซึ่งเป็นเหตุการณ์ของความเปลี่ยนแปลงที่น่าฉงนที่สุดในประวัติศาสตร์ยุโรป[3] พระราชบัญญัติฉบับต่อมาพระราชบัญญัติสหภาพ (Act of Union (1800)) ที่ออกในปี ค.ศ. 1800 รวมราชอาณาจักรไอร์แลนด์ที่ทำให้เกิดสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์

ก่อนหน้า ค.ศ. 1707 ประวัติศาสตร์หมู่เกาะอังกฤษเป็นประวัติศาสตร์ที่เริ่มตั้งแต่สมัยเคลท์, การรุกรานของโรมันในบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำฟอร์ธที่รวมบริเตนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน หลังจากนั้นก็เป็นการขยายตัวของแองโกล-แซ็กซอน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 6, การรุกรานของไวกิงในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ไปจนถึงชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษในปี ค.ศ. 1066 ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 อังกฤษและสกอตแลนด์ก็แยกตัวจากกัน เกาะบริเตนใหญ่มิได้รับการรุกรานที่สำคัญอีกหลังจากปี ค.ศ. 1066 ซึ่งทำให้ทั้งอังกฤษและสกอตแลนด์ต่างก็มีโอกาสวิวัฒนาการระบบการปกครองที่กลายมาเป็นรากฐานของการรวมตัวกันเป็นสหราชอาณาจักร

ประวัติศาสตร์ในสมัยแรกของสหราชอาณาจักรเห็นการการปฏิวัติจาโคเบียน (Jacobite rising) ที่ได้รับความพ่ายแพ้ในยุทธการคัลโลดัน (Battle of Culloden) และในปี ค.ศ. 1746 ต่อมาในชัยชนะในสงครามเจ็ดปี ในปี ค.ศ. 1763 ที่ทำให้จักรวรรดิบริติชกลายเป็นมหาอำนาจที่มีอำนาจมากที่สุดมหาอำนาจหนึ่งในประวัติศาสตร์ เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1921 จักรวรรดิบริติชก็มีประชากรทั้งหมดราว 458 ล้านคน ราวหนึ่งในสี่ของประชากรของโลก[4]

ในปี ค.ศ. 1922 ดินแดนที่ปัจจุบันเป็นสาธารรัฐไอร์แลนด์ก็ได้รับอิสรภาพ เหลือแต่ไอร์แลนด์เหนือที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ฉะนั้นในปี ค.ศ. 1927 สหราชอาณาจักรจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ”[5] ที่เรียกสั้นๆ ว่า “สหราชอาณาจักร” หลังสงครามโลกครั้งที่สอง อาณานิคมต่างๆ ของจักรวรรดิบริติชก็ได้รับอิสรภาพ ในบรรดาประเทศเหล่านี้ต่อมาก็มาเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งชาติซึ่งเป็นกลุ่มประเทศอิสระ[6] บางประเทศก็ยังมีพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรเป็นประมุข

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Articles of Union with Scotland 1707". www.parliament.uk. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2008.
  2. "THE TREATY or Act of the Union". www.scotshistoryonline.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2008.
  3. Simon Schama (presenter) (22 พฤษภาคม 2001). "Britannia Incorporated". A History of Britain. ตอน 10. 3 นาที. BBC One.
  4. Angus Maddison. The World Economy: A Millennial Perspective (p. 98, 242). Organisation for Economic Co-operation and Development, Paris, 2001.
  5. "CIA - The World Factbook - United Kingdom". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 2009-05-27.
  6. Lloyd, T. O. (1996). The British Empire, 1558-1995. 2nd ed. The short Oxford history of the modern world. Oxford: Oxford University Press. ISBN 9780198731337

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]