ประวัติศาสตร์การทหารของประเทศอาเซอร์ไบจาน
ประวัติศาสตร์การทหารของประเทศอาเซอร์ไบจานประกอบด้วยเหตุการณ์การสู้รบเป็นเวลากว่าพันปีในเขตแดนที่เป็นประเทศอาเซอร์ไบจานในปัจจุบัน รวมทั้งปฏิบัติการของกองทัพอาเซอร์ไบจานในต่างประเทศ เชื่อกันว่าชาวอาเซอร์ไบจานเป็นทายาทของกลุ่มชนในอดีตหลากหลายกลุ่ม เช่น ชนพื้นเมืองอัลบาเนียนในเทือกเขาคอเคซัส ชนเผ่าอิหร่าน เช่น ไซเทียน และอาลาน และชาวเติร์กโอคุซ
ตำแหน่งของประเทศอยู่ระหว่างแผ่นดินที่เชื่อมต่อทวีปยุโรปและเอเชีย ทำให้อาเซอร์ไบจานมีการปะทะกันทางทหารกับทั้งกองกำลังจากยุโรปและเอเชีย
สมัยโบราณ
[แก้]ชาวอัลบาเนียในเทือกเขาคอเคซัส
[แก้]เชื่อกันว่าชาวอัลบาเนียในเทือกเขาคอเคซัสเป็นผู้ตั้งหลักแหล่งรุ่นแรกในอาเซอร์ไบจาน[1] ผู้รุกรานในยุคแรกรวมทั้งชาวไซเทียในราว 357 ปีก่อนพุทธศักราช[2] บริเวณเทือกเขาคอเคซัสตอนใต้ถูกยึดครองโดยอาเคมินีดส์เมื่อราว 7 ปีก่อนพุทธศักราช ระหว่างยุคนี้ ศาสนาโซโรแอสเตอร์ได้แพร่ขยายเข้ามายังอาเซอร์ไบจาน อาเคมินีดส์พ่ายแพ้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเมื่อ พ.ศ. 213 เมื่อราชวงศ์เซเลอูซิดส์ในเปอร์เซียตกต่ำลงเมื่อ พ.ศ. 296 ราชอาณาจักรอาร์เมเนียได้ขยายตัวเข้าครอบครองดินแดนอาเซอร์ไบจานระหว่าง พ.ศ. 353 – 971[3][4] ชาวอัลบาเนียในเทือกเขาคอเคซัสจัดตั้งราชอาณาจักรขึ้นเมื่อ พ.ศ. 443 และเป็นเอกราชอยู่จนกระทั่งราชวงศ์ซัสซานิดส์เข้ายึดครองและปกครองในฐานะจังหวัดหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 795[1]: 38 [1][5] กษัตริย์ชาวอัลบาเนีย พระเจ้าอูร์นายร์ เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์และให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำรัฐเมื่อ พ.ศ. 943 และคงความเป็นรัฐคริสต์จนถึง พ.ศ. 1343[6][7] การยึดครองของราชวงศ์ซัสซานิดส์สิ้นสุดลงเมื่อมุสลิมอาหรับรุกรานเมื่อ พ.ศ. 1185[8]
ยุคกลาง
[แก้]การรุกรานของกองทัพอิสลาม
[แก้]มุสลิมอาหรับรบชนะราชวงศ์ซัสซานิดส์และไบแซนไทน์ได้เมื่อยกทัพเข้ามาในบริเวณเทือกเขาคอเคซัส ชาวอาหรับให้รัฐของชาวอัลบาเนียในเทือกเขาคอเคซัสเป็นรัฐบรรณาการ เมื่อการต่อต้านของชาวคริสต์ นำโดยเจ้าชายยาวานชีร์สิ้นสุดลงเมื่อ พ.ศ. 1210[1]: 71 ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 1443 – 1543 นักเขียนชาวอาหรับได้อ้างถึงดินแดนระหว่างแม่น้ำกูราและอารัสว่า อาร์ราน[1]: 20 ในช่วงระหว่างนี้ ชาวอาหรับจากบัสราและคูฟาเข้ามายังอาเซอร์ไบจาน และเข้าถือครองที่ดินจำนวนมากที่ถูกทิ้งร้าง ทำให้ชาวอาหรับกลายเป็นชนชั้นเจ้าของที่ดิน[9] แม้จะมีการต่อต้านอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้อยู่อาศัยในอาเซอร์ไบจานจำนวนมากเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ต่อมาในช่วง พ.ศ. 1543 – 1643 ราชวงศ์ของชาวเคิร์ด คือราชวงศ์ชัดดาดิดและราวาดิดได้ปกครองบางส่วนของอาเซอร์ไบจาน
ชีร์วาน ชาห์
[แก้]ชีร์วาน ชาห์[10] หรือ ชาร์วาน ชาห์[10] เป็นตำแหน่งทางศาสนาอิสลามในยุคกลางของราชวงศ์เปอร์เซียที่มีจุดเริ่มต้นมาจากชาวอาหรับ[10] ชีร์วาน ชาห์ได้จัดตั้งรัฐพื้นเมืองของชาวอาเซอรี[11]ที่ปกครองโดยชีร์วาน ซึ่งในปัจจุบันเป็นพื้นที่ของประเทศอาเซอร์ไบจาน ชีร์วาน ชาห์ได้จัดตั้งราชวงศ์อิสลามที่ครองอำนาจยาวนานที่สุดในโลกอิสลาม
เซลจุกและรัฐที่สืบทอด
[แก้]ยุคเซลจุกของประวัติศาสตร์อาเซอร์ไบจานเป็นจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญกว่าการรุกรานของชาวอาหรับโดยทำให้เกิดการก่อรูปร่างของความเป็นชาติทางภาษาและกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวเติร์กอาเซอร์ไบจานสมัยใหม่ หลังจากการเสื่อมอำนาจของกาหลิบราชวงศ์อับบาสิด เขตแดนของอาเซอร์ไบจานอยู่ภายใต้การปกครองของหลายราชวงศ์ เช่น ซาลาริด ซายิด ชัดดาดิด ราวาดิด และบูยิด อย่างไรก็ตาม เมื่อราว พ.ศ. 1643 ดินแดนอาเซอร์ไบจาน ถูกยึดครองโดยชาวเติร์กเผ่าโอคุซจากเอเชียกลาง ราชวงศ์ของชาวเติร์กกลุ่มนี้ราชวงศ์แรกคือฆาซนาวิดจากอัฟกานิสถานตอนเหนือ ซึ่งปกครองบางส่วนของอาเซอร์ไบจานตั้งแต่ พ.ศ. 1573 ต่อจากนั้น เซลจุกซึ่งเป็นเผ่าโอคุซสาขาตะวันตกได้เข้ายึดครองอิหร่าน เทือกเขาคอเคซัส และกดดันอิรักจนสามารถล้มล้างราชวงศ์บูยิดในแบกแดดได้เมื่อ พ.ศ. 1593
ซาฟาวิดและการขึ้นสู่อำนาจของศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์
[แก้]ราชวงศ์ซาฟาวิดหรือซาฟาวิเยห์ เป็นราชวงศ์ที่นับถือนิกายซูฟี ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1873 โดย เชค ซาฟี อัลดิน ซูฟีได้เปลี่ยนมาเป็นอิสลามนิกายชีอะห์ที่นับถืออิหม่าม 12 องค์ ผู้อยู่ใต้การปกครองของซาฟาวิดบางกลุ่ม เช่น ชาวเติร์กควิซิลบาซ เชื่อในอิทธิปาฏิหาริย์ของผู้ปกครอง และความสัมพันธ์กับอาลีและการต่อสู้เพื่ออิสลาม ผู้ปกครองในราชวงศ์ซาฟาวิดอ้างว่าเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากอาลี และภรรยาของเขาคือฟาติมาห์ซึ่งเป็นบุตรสาวของศาสนทูตโมฮัมหมัด ผ่านทางอิหม่ามคนที่ 7 มูซา อัลกาซิม ชาวเติร์กควิซิลบาซเพิ่มจำนวนมากขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 21 และประสบความสำเร็จในการทำสงครามกับอัก โกยุนลู และยึดครองตาบริซ
ราชวงศ์ซาฟาวิดที่นำโดยอิสมาอิลที่ 1 ขยายอำนาจเข้ายึดครองบากูใน พ.ศ. 2044 และยึดอำนาจจากชีร์วาน ชาห์
การปกครองของรัสเซีย
[แก้]หลังจากรัสเซียชนะในสงครามรัสเซีย-เปอร์เซีย พ.ศ. 2346 – 2356 เปอร์เซียถูกบีบให้ลงนามในสนธิสัญญากูลิสตานเมื่อ พ.ศ. 2356 ยอมรับการสูญเสียดินแดนให้รัสเซีย ตำแหน่งข่านในท้องถิ่นถูกยุบ เช่นในบากูหรือกันยา หรือยอมรับผู้ปกครองจากรัสเซีย
สงครามรัสเซีย-เปอร์เซีย พ.ศ. 2369 – 2371 ซึ่งอิหร่านเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อีกครั้ง รัสเซียเป็นฝ่ายได้ดินแดนเพิ่มตามสนธิสัญญาเติร์กเมนชาย โดยกวายาร์เปอร์เซียยอมเสียดินแดนบริเวณเทือกเขาคอเคซัสใน พ.ศ. 2371 ผลของสนธิสัญญาทำให้เกิดแนวชายแดนปัจจุบันของอาเซอร์ไบจานและอิหร่าน สิ้นสุดการปกครองในระบบข่าน รัสเซียได้จัดตั้งจังหวัดขึ้น 2 จังหวัด ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐสมัยใหม่คือเอลิซาเวตปอลหรือกันยาทางตะวันตก และชามาคาทางตะวันออก
สงครามกลางเมืองรัสเซีย
[แก้]เมื่อจักรวรรดิรัสเซียล่มสลายลงระหว่างสงครามกลางเมืองรัสเซีย การบริหารในบริเวณเทือกเขาคอเคซัสได้เปลี่ยนไป เริ่มจากการจัดตั้งทรานส์คอเคเซียน คอมมิชซาเรียตใน พ.ศ. 2460 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 ได้ประกาศจัดตั้งสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซียน โดยเป็นการสร้างสหพันธ์ร่วมกับอาร์เมเนียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งจอร์เจีย อีกเดือนต่อมา สาธารณรัฐสหพันธ์ได้สลายตัวไป และได้ประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาเซอร์ไบจานที่กันยาเมื่อ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 ถือว่าเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นในโลกอิสลาม
สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาเซอร์ไบจาน
[แก้]สิ่งที่สำเร็จอย่างหนึ่งของสภาของสาธารณรัฐประชาธิปไตยที่ตั้งขึ้นใหม่คือการขยายสิทธิสตรี ทำให้อาเซอร์ไบจานเป็นรัฐมุสลิมรัฐแรกที่ให้ผู้หญิงมีสิทธิทางการเมืองเทียบเท่าผู้ชาย ทำให้อาเซอร์ไบจานมีสถานะในระดับเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ความสำเร็จอีกอย่างหนึ่งคือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรัฐบากู ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแบบใหม่แห่งแรกในอาเซอร์ไบจาน
ประวัติศาสตร์การทหารของกองทัพอาเซอร์ไบจานสมัยใหม่ ย้อนไปได้ถึงยุคสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานใน พ.ศ. 2461 เมื่อมีการจัดตั้งกองทัพแห่งสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2461 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศโดยพฤตินัยคนแรกคือ ดร.โคซรอฟ เบย์ ซุลตานอฟ เมื่อจัดตั้งกระทรวงเสร็จสิ้น พลเอกเซเมดเบย์ เมห์มันดารอฟขึ้นเป็นรัฐมนตรี และพลโทอาลี-อฆา ชิคลินสกี เป็นรัฐมนตรีช่วย เสนาธิการทหารคือพลตรี ฮาบิบ เบย์ ซาลิมอฟ (1 สิงหาคม พ.ศ. 2461 – 26 มีนาคม พ.ศ. 2461) พลโทมัมหมัด เบย์ ชุลเควิช (26 มีนาคม พ.ศ. 2461 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2462) และพลตรี อับดุลฮามิด เบย์ กายตาบาชิ (10 ธันวาคม พ.ศ. 2462 – 28 เมษายน พ.ศ. 2463)[12][13]
บางส่วนของทหารระดับนายพลของสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาเซอร์ไบจานที่ได้รับการยกย่องได้แก่
- พลโทซามัด เบย์ เมห์มันดารอฟ (พ.ศ. 2398 – 2474)
- พลโทอาลี-อฆา ชิคลินสกี (พ.ศ. 2408 – 2486)
- นายพล ฮูเซียน ข่าน นักชิวานสกี (พ.ศ. 2406 – 2462)
- พลตรี อับดุลฮามิด เบย์ กายตาบาชิ (พ.ศ. 2427 – 2463)
- พลตรี ฮาบิบ เบย์ ซาลิมอฟ (พ.ศ. 2424 – 2463)
- พลตรี อิบราฮิม เบย์ อูซูบอฟ (พ.ศ. 2418 – 2463)
- พลตรี มูรัด กิเรย ตเลคาส (พ.ศ. 2417 – 2463)
- พลตรี เอมีร์-กาซิม มีร์ซา กวายาร์ (พ.ศ. 2396 – 2463)
- พลตรี มัมหมัด มีร์ซา กวายาร์ (พ.ศ. 2415 – 2463)
- พลตรีอาลิยาร์-เบก เอดิการอฟ (พ.ศ. 2424 – 2463)
- พลตรีดาวิด-เบก เอดิการอฟ (พ.ศ. 2524 – 2463)
- พลตรีฟิริดุน-เบย์ เวซิรอฟ (พ.ศ. 2393 – 2468)
- พลตรีคาลิล-เบย์ ตาลิซคานอฟ (พ.ศ. 2402 – 2463)
กองทัพแดงรุกรานอาเซอร์ไบจานเมื่อ 28 เมษายน พ.ศ. 2463 แม้ว่ากองทัพที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ของอาเซอร์ไบจานมีส่วนร่วมในการหยุดยั้งการปฏิวัติของชาวอาร์เมเนียที่เกิดขึ้นในคาราบาก แต่ชาวอาเซอรีไม่ยอมมอบอิสรภาพในช่วงสั้นๆระหว่าง พ.ศ. 2461 – 2463 ไปอย่างง่ายๆ ทหารราว 20,000 – 30,000 คน เสียชีวิตระหว่างการสู้รบกับรัสเซีย[14] กองทัพอาเซอร์ไบจานถูกยุบโดยรัฐบาลบอลเชวิก นายพลประมาณ 15 – 21 คนถูกรัฐบาลบอลเชวิกสั่งประหารชีวิต[12]
กองทัพเรือ
[แก้]กองทัพเรือของอาเซอร์ไบจานก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2461 เมื่อจักรวรรดิรัสเซียล่มสลาย สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาเซอร์ไบจานได้จ้างกัปตันที่เกษียณของรัสเซีย เรือของอาเซอร์ไบจานได้แก่เรือปืนการ์ อาร์ดาฮาน อัสตราบาด แกก-เตเป อาราก และไบลอฟ อังกฤษได้มอบเรือรบของรัสเซียในทะเลสาบแคสเปียนให้กับรัฐอาเซอร์ไบจานที่ก่อตั้งขึ้นใหม่[15]
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน
[แก้]สงครามโลกครั้งที่ 2
[แก้]ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 อาเซอร์ไบจานมีบทบาทสำคัญต่อนโยบายด้านพลังงานของสหภาพโซเวียต น้ำมันส่วนใหญ่ของสหภาพโซเวียตที่ใช้แนวรบด้านตะวันออกได้มาจากบากู คำสั่งจากคณะโซเวียตสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 มีคนงานและลูกจ้าง 500 คนของอุตสาหกรรมน้ำมันในอาเซอร์ไบจานได้รับเหรียญและรางวัล ยุทธการเอเดลวิสของเยอรมันมีเป้าหมายที่บากูเพราะมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมปิโตรเลียมของสหภาพโซเวียต[16] ชาวอาเซอร์ไบจาน 800,000 คนร่วมต่อสู้กับกองทัพของสหภาพโซเวียต มีผู้เสียชีวิตราว 400,000 คน และพลตรีอาซี อัสลานอฟ ชาวอาเซอรีได้รับการยกย่องจากสหภาพโซเวียต
คนงานในอุตสาหกรรมทำงานกันวันละ 12 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด จนกระทั่งสงครามสิ้นสุด บากูกลายเป็นเป้าหมายหลักของฮิตเลอร์ในการรุกรานใน พ.ศ. 2485 กองทัพเยอรมันที่รุกเข้ามาในเทือกเขาคอเคซัสพ่ายแพ้และต้องยกทัพกลับ อย่างไรก็ตาม มีชาวอาเซอร์ไบจานบางส่วนเข้าร่วมกับฝ่ายเยอรมันเช่นเดียวกับคนชาติอื่นๆในบริเวณเทือกเขาคอเคซัส
สาธารณรัฐในปัจจุบัน
[แก้]สงครามการาบาก
[แก้]ในฤดูร้อน พ.ศ. 2535 กระทรวงป้องกันประเทศของอาเซอร์ไบจานตามคำสั่งของประธานาธิบดีในการเปลี่ยนแปลงและจัดตั้งหน่วยงานในเขตแดนของอาเซอร์ไบจาน ยื่นคำขาดให้มีการควบคุมยานพาหนะและอาวุธของกองพลไรเฟิลที่ 135 และ 139 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนกไรเฟิลที่ 295[17] อาเซอร์ไบจานเคยเป็นพื้นที่ของกองทัพที่ 4 ซึ่งประกอบด้วยแผนกไรเฟิล 4 แผนก และมีฐานที่มั่นทางทหารซึ่งรวมทั้งหน่วยต่อต้านขีปอาวุธและการป้องกันทางอากาศ และยังเป็นที่ตั้งของหน่วยคลังสรรพาวุธทางด้านปืนใหญ่และขีปนาวุธที่ 49 ของสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งมีกระสุนจำนวนมาก การถ่ายโอนทรัพย์สินของกองทัพที่ 4 (ยกเว้นส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของหน่วยปืนไรเฟิลที่ 366 ของแผนกที่ 23 ที่ถูกยึดโดยกองทัพอาร์เมเนียใน พ.ศ. 2535 ระหว่างการถอนตัวออกจากสเตปานาเกิร์ต) และหน่วยคลังแสงที่ 49 เสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2535 ช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2535 อาเซอร์ไบจานได้รับอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับหน่วยปืนไรเฟิล รวมทั้งเครื่องบินรบ 50 ลำจากกองทัพอากาศและกองทัพเรือที่ 19
กองทัพอาเซอร์ไบจานพบกับความพ่ายแพ้ในการสู้รบกับกองทัพอาร์เมเนีย[18]ระหว่าง พ.ศ. 2535 – 2537 ในสงครามนากอร์โน-การาบาก ทำให้สูญเสียการควบคุมดินแดนนากอร์โน-การาบาก และดินแดนรอบๆเรยอน คิดเป็น 16%[19] ของเขตแดนอาเซอร์ไบจาน แหล่งข่าวของอาเซอร์ไบจานอ้างว่าชัยชนะของอาร์เมเนียเป็นเพราะได้รับความช่วยเหลือทางการทหารจากรัสเซียและชาวอาร์เมเนียพลัดถิ่น ในขณะที่อาร์เมเนียปฏิเสธ กล่าวว่ารัสเซียสนับสนุนทั้งอาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนียเท่าเทียมกัน ระหว่างสงคราม กองทัพอาเซอร์ไบจานได้รับความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาทางทหารจากตุรกี รัสเซีย ยูเครน เชเชน และอัฟกัน แต่ก็ยังพ่ายแพ้
ศตวรรษที่ 21
[แก้]กองทัพอาเซอร์ไบจานได้จัดตั้งขึ้นอีกครั้งตามกฎหมายแห่งสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานเมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2534[20] ในช่วงแรก อาวุธยุทโธปกรณ์ได้มาจากกองทัพที่ 4 ของสหภาพโซเวียต โดยกองทัพแบ่งเป็น กองทัพบก กองทัพอากาศและป้องกันทางอากาศ และกองทัพเรือ นอกจากนั้น ยังมีหน่วยงานของรัฐบาลที่เป็นหน่วยงานคล้ายทหารและสามารถช่วยในการป้องกันรัฐได้ถ้าจำเป็น กองกำลังภายในอาเซอร์ไบจานของกระทรวงกิจการภายใน กองกำลังของหน่วยป้องกันชายแดน รวมทั้งการ์ดป้องกันชายฝั่ง[21] การ์ดแห่งชาติอาเซอร์ไบจานเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพอาเซอร์ไบจาน และเป็นหน่วยงานกึ่งอิสระในแผนกป้องกันอาเซอร์ไบจาน
ตั้งแต่สหภาพโซเวียตล่มสลาย อาเซอร์ไบจานพยายามพัฒนากองทัพให้เป็นกองทัพที่มืออาชีพ มีการฝึกฝนที่ดี และเคลื่อนที่เร็ว ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 อาเซอร์ไบจานเพิ่มงบประมาณกองทัพจนเป็น 2.46 พันล้านเหรียญสหรัฐใน พ.ศ. 2552[22] ตามสถิติใน พ.ศ. 2551 ประเทศมีรถถัง 600 คัน รถยานเกราะ 900 คัน และระบบปืนใหญ่มากกว่า 720 ระบบ กองทัพอากาศมีอากาศยาน 106 ลำ และเฮลิคอปเตอร์ 35 ลำ
อาเซอร์ไบจานมีอุตสาหกรรมทหารเป็นของตนเอง มีโรงงานผลิตอาวุธขนาดเล็กและอากาศยานทางทหาร[23][24][25] และหวังที่จะพัฒนาไปผลิตอุปกรณ์ทางทหารอย่างอื่นได้[26]
อาเซอร์ไบจานเข้าร่วมกองกำลังนานาชาติระหว่างสงครามอิรัก และระหว่าง พ.ศ. 2549 – 2551 ได้ส่งทหารไปยังภาคเหนือของอิรัก ประกอบไปด้วยทหาร 250 นาย ได้ส่งทหาร 100 นายเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เพื่อเสริมกับทหารอีก 150 คน โดยเป็นการให้ความปลอดภัยแก่ชาวเติร์กเมนและสถานที่ทางศาสนาในท้องถิ่น ทหารจากอาเซอร์ไบจานเข้าร่วมกับปฏิบัติการกองกำลังช่วยรักษาความปลอดภัยภายในที่นำโดยนาโตในประเทศอัฟกานิสถาน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 James Stuart Olson. An Ethnohistorical Dictionary of the Russian and Soviet Empires. ISBN 0-313-27497-5
- ↑ Azerbaijan – US Library of Congress Country Studies (retrieved 7 June 2006).
- ↑ "Armenia-Ancient Period" - US Library of Congress Country Studies (retrieved 23 June 2006)
- ↑ Strabo, "Geography" - Perseus Digital Library, Tufts University (retrieved 24 June 2006).
- ↑ Encyclopædia Britannica:The list of provinces given in the inscription of Ka'be-ye Zardusht defines the extent of the gigantic empire under Shapur, in clockwise geographic enumeration: (1) Persis (Fars), (2) Parthia, (3) Susiana (Khuzestan), (4) Maishan (Mesene), (5) Asuristan (southern Mesopotamia), (6) Adiabene, (7) Arabistan (northern Mesopotamia), (8) Atropatene (Azerbaijan), (9) Armenia, (10) Iberia (Georgia), (11) Machelonia, (12) Albania (eastern Caucasus), (13) Balasagan up to the Caucasus Mountains and the Gate of Albania (also known as Gate of the Alans), (14) Patishkhwagar (all of the Elburz Mountains), (15) Media, (16) Hyrcania (Gorgan), (17) Margiana (Merv), (18) Aria, (19) Abarshahr, (20) Carmania (Kerman), (21) Sakastan (Sistan), (22) Turan, (23) Mokran (Makran), (24) Paratan (Paradene), (25) India (probably restricted to the Indus River delta area), (26) Kushanshahr, until as far as Peshawar and until Kashgar and (the borders of) Sogdiana and Tashkent, and (27), on the farther side of the sea, Mazun (Oman)
- ↑ "Albania" เก็บถาวร 2009-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Encyclopedia Iranica, p. 807 (retrieved 15 June 2006).
- ↑ "Voices of the Ancients: Heyerdahl Intrigued by Rare Caucasus Albanian Text" by Dr. Zaza Alexidze เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Azerbaijan International, Summer 2002 (retrieved 7 June 2006).
- ↑ "Islamic Conquest."
- ↑ A History of Islamic Societies by Ira Lapidus, p. 48. Cambridge University Press, Cambridge (1988), ISBN 0-521-77933-2 (retrieved 7 June 2006).
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Barthold, W., C.E. Bosworth "Shirwan Shah, Sharwan Shah. "Encyclopaedia of Islam. Edited by: P. Bearman, Th. Bianquis, C.E. Bosworth, E. van Donzel and W.P. Heinrichs. Brill, 2nd edition
- ↑ Tadeusz Swietochowski. Russia and Azerbaijan: A Borderland in Transition, Columbia University, 1995, p. 2, ISBN 0-231-07068-3: "In the fifteenth century a native Azeri state of Shirvanshahs flourished north of the Araxes."
- ↑ 12.0 12.1 Azerbaijani Army marks 91 years เก็บถาวร 2012-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Today.Az - Azerbaijan marks Day of Armed Forces
- ↑ Hugh Pope, "Sons of the conquerors: the rise of the Turkic world", New York: The Overlook Press, 2006, p. 116, ISBN 1-58567-804-X
- ↑ Константин Чуприн (August 31, 2007). "В фарватере НАТО". NVO NG.
- ↑ Swietochowski, Tadeusz(1995) Russia and Azerbaijan: A Borderland in Transition, Columbia University, p. 133.
- ↑ Vladimir Petrov, How South Caucasus was armed เก็บถาวร 2007-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Centre for Analysis of Strategies and Technologies (Moscow, Russia)
- ↑ 1993 UN Security Council Resolutions on Nagorno-Karabakh
- ↑ "CIA World Factbook. Azerbaijan. 2008:"Azerbaijan has lost 16% of its territory and must support some 600,000 internally displaced persons as a result of the conflict."". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-09. สืบค้นเมื่อ 2019-05-18.
- ↑ official web page of the President of the Republic of Azerbaijan
- ↑ "CIA World factbook Azerbaijan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-09. สืบค้นเมื่อ 2019-05-18.
- ↑ Military budget reaches $2 billion
- ↑ "Azerbaijan manufacturing arms".
- ↑ "Azerbaijan to manufacture its own aircraft and helicopters".
- ↑ "Azerbaijan will produce competitive tanks, aircraft and helicopters in the future".
- ↑ "Azerbaijan to produce tanks, aviation bombs and pilotless vehicles in 2009".