ข้ามไปเนื้อหา

ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย

พิกัด: 31°12′50″N 29°53′08″E / 31.21389°N 29.88556°E / 31.21389; 29.88556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย
ภาพวาดในจินตนาการของประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย (1909)
แผนที่
ที่ตั้งเกาะฟาโรส, อเล็กซานเดรีย, อียิปต์
พิกัด31°12′50″N 29°53′08″E / 31.21389°N 29.88556°E / 31.21389; 29.88556
หอคอย
สร้างขึ้นระหว่าง 284 ถึง 246 ก่อนคริสต์ศักราช
รากฐานหิน
การก่อสร้างก่ออิฐ
ความสูง103 ถึง 118 เมตร (338 ถึง 387 ฟุต)[1]
รูปร่างสี่เหลี่ยมจัตุรัส (ด้านล่าง) แปดเหลี่ยม (กลาง) และทรงกระบอก (บน)
แสงไฟ
ปิดการใช้งาน1303 หรือ 1323
พิสัย47 กิโลเมตร (29 ไมล์)

ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย หรือ ประภาคารแห่งอเล็กซานเดรีย (อังกฤษ: Pharos of Alexandria, Lighthouse of Alexandria, คำว่าฟาโรสในภาษากรีก (Φάρος) แปลว่าประภาคาร) เป็นประภาคารโบราณซึ่งจัดให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตั้งอยู่บนเกาะฟาโรส เมืองอเล็กซานเดรีย ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สร้างประมาณ 270 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในรัชสมัยพระเจ้าปโตเลมีที่ 1 โดยสถาปนิกชื่อ โซสเตรโตส

ตัวประคาภารมีความสูงเท่าใดไม่แน่ชัด แต่อยู่ในระหว่าง 200-600 ฟุต (ขนาดพอ ๆ กับ เทพีเสรีภาพ) สร้างด้วยหินอ่อนแกะสลัก มีตะเกียงขนาดใหญ่บนยอด นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าในเวลากลางวันจะปล่อยควัน ในเวลากลางคืนจะเป็นแสงไฟสว่างที่เห็นได้จากระยะไกล ซึ่งยังไม่ทราบว่าใช้วิธีใดในการจุดไฟและส่องแสง บ้างก็สันนิษฐานว่าใช้กระจกในการส่องแสง บ้างก็เชื่อว่า สามารถส่องแสงได้ถึง 4 ทาง แต่บางส่วนก็เชื่อว่า ส่องแสงได้เพียงแค่ 2 ทางเท่านั้น

ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย มีอายุอยู่ได้ยาวนานถึง 1,600 ปี จนกระทั่งในประมาณศตวรรษที่ 13-14 เกิดแผ่นดินไหวทำให้ประภาคารพังลงมา

ในปี ค.ศ. 1994 นักโบราณคดีได้ดำน้ำสำรวจบริเวณปากอ่าวอเล็กซานเดรีย พบหลักฐานของสิ่งที่เชื่อว่าเป็นซากชิ้นส่วนของประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย ซึ่งบางส่วนเป็นหินที่หนักถึง 70 ตันและเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. McKenzie, Judith (2011). The Architecture of Alexandria and Egypt: 300 BC – AD 700. Yale University Press. p. 42. ISBN 978-0300170948.
  2. รายการท่องโลกกว้าง: กรีซ ยุคของอเล็กซานเดอร์ (พุธที่ 7 ก.ย. 54) ทางไทยพีบีเอส