ข้ามไปเนื้อหา

บ้านหวั่งหลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บ้านหวั่งหลี
ชื่อในภาษาท้องถิ่น
จีน: 黌利宅
บ้านหวั่งหลี
ประเภทบ้าน
ที่ตั้งแขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สร้างเมื่อพ.ศ. 2424
สร้างโดยตันฉื่อฮ้วง แซ่ตั้ง
การใช้งานดั้งเดิมบ้านพักของตระกูลหวั่งหลี
บูรณะโดยหวั่งหลี
สถานะยังมีอยู่
สถาปัตยกรรมจีน
เจ้าของหวั่งหลี
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนบ้านหวั่งหลี
ขึ้นเมื่อ23 มิถุนายน พ.ศ. 2566
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0005370
บ้านหวั่งหลี

บ้านหวั่งหลี เป็นบ้านประจำตระกูลหวั่งหลี ตั้งอยู่สุดถนนเชียงใหม่ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

ประวัติ[แก้]

บ้านหวั่งหลีคาดว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2424[1] เดิมเป็นท่าเรือเก่า พระยาพิศาลศุภผล (ชื่น) ต้นตระกูลพิศาลบุตร ต่อมาขายให้แก่นายตันลิบบ๊วย แห่งตระกูลหวั่งหลี จนกระทั่งภายหลังบริษัทหวั่งหลี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของครอบครัวเข้ามาเป็นผู้บริหารดูแลบ้านหลังนี้ จึงได้ทำการบูรณะตัวบ้านใหม่ทั้งหมด ปัจจุบันบ้านหลังนี้ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว เพราะลูกหลานของตระกูลต่างแยกย้ายกันออกไปหาที่อยู่อาศัยข้างนอกกันหมด บ้านหลังนี้จึงเปิดใช้เฉพาะเพื่อประกอบพิธีสำคัญของตระกูลเท่านั้น ซึ่งมีเพียงปีละ 2-3 ครั้ง และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. 2527

สถาปัตยกรรม[แก้]

ลักษณะอาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมจีน หันหน้าออกมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา และมีลานโล่งกว้างบริเวณหน้าบ้าน ซึ่งตอนนี้ถูกปรับให้เป็นสวนขนาดย่อมช่วยเพิ่มความสวยงามสบายตาจากเดิมที่เคยเป็นเพียงแค่ลานปูนเท่านั้น สิ่งก่อสร้างภายในประกอบด้วยอาคารสำคัญสามหลัง ตึกตรงกลางเป็นเรือนประธาน ซึ่งหันหน้าออกแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกว่า "ศาลเจ้าแม่หมาโจ้ว" มีตึกแถวสองชั้น เพดานสูง หลังคาแบบจีน สร้างขนาบสองด้าน ตรงกลางระหว่างอาคารเป็นลานโล่ง ใช้ประกอบพิธีกรรมของตระกูลหวั่งหลี ในวันสำคัญตามประเพณีจีน

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]